ต้อนวัวเข้าไห ดุจงูกลืนช้าง
อยากออกจากกรง ดุจเสือคืนสู่ป่า
อรหันต์จี้กง เสด็จลงประทับทรง วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2526
กลอนนำเสด็จ
ยามมีชีวิต อย่ามัวคิดิที่ยวสำส่อน
นรกร้ายจักสอน สารพัดพิษเฒ่าหัวงู
นิพพานแดนสุขี ที่ไร้กามทุกคนรู้
หนังหุ้มกระดูกสู้ เอามาเจียวไม่ออกมัน
อรหันต์จี้กง : วันนี้อาตมายินดีที่ได้กล่าวกลอนบทหนึ่ง ก็บังเอิญนึกถึงคำพูดตอนท้านขึ้นมาได้ว่า อยากให้บรรดาศิษย์ต่อกลอนศิษย์ต่างก็เกรงใจไม่กล้าต่อ อาตมาถือมังสวิรัติมานาน คำว่า เอามาเจียวไม่ออกมัน ที่ตอนท้ายก็นับว่า เหมาะกับการแต่งหนังสือ “เส้นทางอริยะ” วันนี้ไม่ได้เอาบัวอาสน์มาแต่ใช้ยานพาหนะอื่นมา คิดว่าหยางเซิงไม่เหมาะที่จะใช้ตอนนี้ก็พักผ่อนที่สำนักไปก่อน คุยกันไปเรื่อย ๆ ได้
หยางเซิง : อาจารย์ไม่ได้นั่งบัวอาสน์มา อาจารย์มาอย่างไร?
อรหันต์จี้กง : เจ้าเคยฟังนิทานเรื่อง “ต้อนวัวเข้าไห” หรือไม่
หยางเซิง : เคยขอรับแต่ไม่ค่อยจะเชื่อ
อรหันต์จี้กง : วันนี้จะให้เจ้าเชื่อละ วัวกินหญ้าใช่ไหม แล้วทำไมจึงเข้าไปในไหได้ล่ะ ? อันที่จริงวัวนี้ไม่ยอมกินหญ้า บังเอิญมันได้ยินเจ้านายว่า ได้เก็บไหเหล้าอย่างดีไว้ที่คอกวัว พอดีวันนั้นอากาศก็หนาวมากเสียด้วย ขี้เกียจที่จะออกไปกินหญ้านอกคอก ได้กลิ่นเหล้าหอม ยังไม่ทันกินก็รู้สึกจะเมาเสียแล้วมันจึงยื่นหัวไปที่ไหเหล้า ปากยื่นเข้าไปข้างใน ขาหน้าก็กลับไปเหยียบเอาไหจนแตกละเอียด เลยอดกินเหล้า เจ้าของเหล้ามารู้เอาว่า เหล้าดีที่เก็บไว้นานนับปี ถูกเจ้าวัวเหยียบแตกเสียแล้ว ก็บันดาลโทสะขึ้นอย่างรุนแรง หยิบฉวยขวานมาได้เล่มหนึ่งก็จามลงไปที่หัววัว เจ้าวัวแก่ถึงกาลอวสาน เมื่อวัวถูกฆ่า เนื้อวัวก็กินกันไม่หมด สมัยนั้นก็ไม่มีร้านขายเนื้อวัวเสียด้วย จึงได้แล่เอาเนื้อวัวยัดใส่ไหไว้อีกใบหนึ่ง แล้วเอาเกลือโรยหมักไว้ เออ เอ่อ! ถึงตอนนี้เจ้าวัวก็ถูกต้อนเข้าไหแล้วใช่ไหมล่ะ! ใครบอกว่าไม่ได้บ้าง?
คนแก่ในโลกนี้ คิดจะกินหญ้าอ่อน ไม่เจียมตัว ในที่สุดก็ต้องถูกต้อนเข้าคุก ดุจวัวถูกต้อนเข้าไหไงล่ะ!
หยางเซิง : เป็นครั้งแรกที่ได้ฟังนิทานเรื่องนี้ ที่มีคติพจน์แต่ว่าวันนี้อาจารย์ใช้ยานพาหนะอะไรมา?
อรหันต์จี้กง : ข้าฯ กระโดดลงไหเหล้า ลอยละลิ่วมา
หยางเซิง : ศิษย์ไม่เข้าใจความหมาย?
อรหันต์จี้กง : ข้า ฯ เมาเรือ พอกระโดดเข้าไหเหล้า น้ำเหล้าออกฤทธิ์มันหลับไม่ตื่น จึงลอยละลิ่วสู่ท้องทะเล กระแทกกับคลื่นลม ไม่วิงเวียนหน้ามืด อาศัยคลื่นหนาวและลมแห่งพุทธะ ส่งให้ข้าฯ มาถึงฝั่งแห่งสำนักเซี้ยเต็กตึ้ง ก็พอดีทางสำนักมีการประทับทรงอยู่ เลยถูกไม้ทรงฟาดลงบนไหแตกกระจาย ข้าฯ เลยสุดุ้งตื่นขึ้น พอลืมตาก็เห็นตนเองอยู่ที่นี่ เหมือนกับนอนหลับแล้วฝันไป วันนี้ข้าฯมาแบบนี้
หยางเซิง : อาจารย์ดื่มต่ำในอักขระ ซ่อนความหมายแห่งวิปัสสนาธรรมไว้มาก ก็อาจารย์อยู่ในไหเหล้า แล้วเหตุไฉนจึงต้องอาศัยคลื่นน้ำพัดมา
อรหันต์จี้กง : ถึงแม้จะมีเหล้าเต็มพุง แต่จิตนั้นว่าง จึงสามารถลอยอยู่ได้ ส่วนน้ำนั้นสามารถแก้พิษเหล้า ดังนั้น อรหันต์เมาจึงซ่อนอยู่ในน้ำมนต์ แล้วให้ไหเหล้าดุจยานเมตตา จึงเดินทางด้วยความสวัสดิภาพ น่าอัศจรรย์ไหม
หยางเซิง : ที่จริงในเหล้านั้นก็มีธรรมะ เหล้าทำจากน้ำแล้วใช้น้ำแก้กัน แก้โซ่ตรวนหรือผู้ผูกโซ่ตรวน ต้องไขกุญแจออกทิ้งล้วนต้องพึ่งตนเอง เหมือนการขึ้นบนบัวอาสน์ ตนเองต้องขึ้นทีละก้าว ขอเรียถามท่านอาจารย์ คนไม่น้อยที่มีเหล้าเป็นเพื่อนประจำ มึนเมาลุ่มหลง ที่เป็นเช่นนี้คงเหมือนที่อาจารย์ว่า ต้อนวัวเข้าไห
อรหันต์จี้กง : ถูกแล้ว พอคนเมาเหล้า ต้องอาศัยคนอื่นคอยจูงคอยประคอง มีทางให้เดินแต่เดินไม่ถูก มีรถก็ขับขี่ไม่ไหวเซซ้ายล้มขวา พูดจาหยาบคาย ไร้ยางอาย อุปนิสัยเปลี่ยนไปอาการเหมือนวัวเหมือนควาย พูดจาก็ไม่รู้เรื่อง พอกลับถึงบ้านก็อาเจียนอ้วกแตก เปรอะเปื้อนไปหมด น้ำท่าไม่ต้องอาบล้มลงตรงไหนก็หลับเป็นตาย ปัสสาวะ อุจจาระก็ไม่รู้ตัวห้องนอนกลายเป็นคอกวัว คนก็กลายเป็นวัวไป กลิ่นเหล้าอบอวล ห้องนอนกลายเป็นไหเหล้า ตอนนี้ก็มีสภาพเหมือนต้อนวัวเข้าไหไหมล่ะ อีกอย่าง ตัณหาราคะ เหมือนคนอยากเนื้อ เหมือนเสือกินเนื้อเป็นอาหาร เป็นอันตรายต่อคนง่าย ๆ หากขังไว้ไม่อยู่ มันหลุดออกมาได้ก็เหมือนปล่อยเสือเข้าป่า ตอนนี้เรื่องไม่ดีคงเกิดขึ้นแน่
หยางเซิง : อาจารย์เปรียบเทียบได้ดีมาก
อรหันต์จี้กง : คืนนี้เราไม่เหาะเหินเดินอากาศไปไหน ๆ เรามาถกปัญหาธรรมกันดีกว่า เจ้าหยางยกปัญหาขึ้นมาได้เลย ข้าฯจะตอบคำถามเอง
หยางเซิง : ขอบคุณอาจารย์ที่ให้โอกาส ! เรามาเริ่มต้นแบบธรรมดากันดีกว่า ว่าจะปฏิบัติธรรมกันอย่างไร?
อรหันต์จี้กง : เออ เอ่อ! มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อได้ประกอบกรรมดีไม่ว่าจะเพียงเล็๋กน้อย หรือใหญ่โตก็ตาม ย่อมเกิดความปีติยินดี สำหรับการปฏิบัติธรรมของพวกเรา ไม่ต้องมีกฎเกณฑ์มาขีดขั้น อย่างเช่น คอยตักเตือนผู้อื่น หรือออกแรงทำความดีเพียงเล็กน้อยก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม มิใช่เอาแต่นั่งเงียบ ๆ (นั่งทำสมาธิ) ทุก ๆ วันจึงจะนับว่าปฏิบัติธรรมการปฏิบัติธรรม ทำได้ทุกหนทุกแห่ง กับใคร ๆก็ได้ ไม่ถือเป็นกุศลใหญ่หรือเล็ก หลักการคือชักจูงผู้คนให้ไปในแนวทางที่ดี อย่าไปในที่มั่วสุม ทั้งหมดคือว่าเป็นการปฏิบัติตามความสะดวก แค่นี้ก็ได้รับอานิสงส์ยิ่งใหญ่แล้วตามสะดวก มิต้องทำท่าทางลักษณะให้เขาเห็นว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเพียงมีใครมาพูดคุยด้วยนิดหน่อย หรือทำอะไรสักอย่างแล้วทำให้เขาดีอกดีใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นการกระทำของพระเจ้าด้วญจิตโพธิสัตว์ ปราศจากความคิดเห็น ปราศจากจำต้องปราศจากการยึดติด ปราศจากตัวกู ไม่ห่างจากด้วยสี่ประการนี้ ก็ถือว่าเป็นการ “ปฏิบัติธรรม” ขอจบลงเพียงเท่านี้ ข้าฯจะกลับ