mindcyber 1 month ago
admin #holy

เส้นทางอริยะ ตอนที่สิบสอง

ทุกบ้านเกิดพุทธะ ทุกผู้บรรลุธรรม

อ้อยหวานถือสัจจะ จิตเดิมจักหอมหวน

อรหันต์จี้กง เสด็จลงประทับทรง วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2525

กลอนกล่าวนำเสด็จ

            รู้จักในสายเลือด เทือกเถาเหล่ากอเดียวกัน

รู้กตัญญูนั้น  ครอบครัวนับว่าสมบูรณ์

พี่น้องต่างถ้อยที ถ้อยอาศัยสืบตระกูล

สั่งสมบุญพร้อมพูน สร้างกุศลพร้อมนิพพาน

 อรหันต์จี้กง : ชีวิตมักมีทะเลเบาะแว้ง อันสืบเนื่องมาจากลูกหลานไม่กตัญญู พี่น้องไม่ปรองดองกัน ซึ่งล้วนเกิดจากความเห็นแก่ตัว ในสมัยที่ยังเด็กๆ อยู่ก็นับพี่น้อง พอโตขึ้นเหมือนกำแพงขวางกั้นมีคนจำนวนมากในสมัยเด็กๆ มีความสมานฉันท์ดุจแขนขาพอเติบโตขึ้นธุรกิจการงาน มีการแย่างชิงมรดกกันบ้าง หรือไม่ก็ถูกภรรยายุยงส่งเสริม ทำให้พี่น้องกลายเป็นคนแปลกหน้า พ่อแม่เลยกลายเป็นผู้ก่อเวรก่อกรรมซึ่งล้วนเกิดความเห็นแก่ตัวทั้งสิ้น ความเหินห่างของคนก็เลยถูกยืดให้ยาวไปจนสุดกู่ คิดแล้วก็รู้สึกน่าสมเพช! ด้วยเหตุฉะนั้น ฟ้าจึงประทานธรรมะมาสู่โลก มีวัดวาอารามมีสำนักธรรม เกิดขึ้นมากมายหลายแห่ง เพื่อที่จะฟื้นฟูความตกต่ำ ให้คืนสู่จริยธรรมอันดีงามแบบโบราณ ดังนั้นอาตมาจึงรับโองการให้ตักเตือน ผู้ปฏิบัติธรรมสมัยนี้อย่าได้เที่ยวเสาะแสวงหาจากที่ไกลๆเลย การปฏิบัติธรรมต้องเริ่มจากที่บ้าน “เคหะธรรม” ให้ได้ดีเสียก่อนจึงจะไปสู่แดนสุขาวดี “สวรรคธรรม” ได้ คนส่วนมากเอา “มนุษยธรรม” โยนเข้ากลีบเมฆ แต่ปากก็เพ้อรำพันว่าตนปฏิบัติธรรมะสวรรค์หมายความว่า เป็นผู้ไม่มีความสงบสุขภายในบ้าน ครอบครัวมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้บ่งบอกถึงสภาวะที่ไร้มนุษยธรรม อยู่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าละอายใจยังคิดที่จะไปแสวงสวรรค์วิมานอะไรอีก คงถูกแรงต้านทานที่ปราศจากรูปลักษณ์คอยฉุดรั้งไว้หลายคนที่ยังไม่ทันบรรลุมนุษยธรรม ครอบครัวก็แตกสลายเสียแล้ว คนที่ไม่เข้าใจก็สำคัญผิดทั้หลายให้แก่เทพ พุทธ คือ โทษพระเจ้านั้นเอง

     เชื่อว่า บนเส้นทางอริยะ นี้ หลายๆ คนคงเข้าใจถึงสถาพเช่นนี้ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่อาตมาใคร่ปลุกชาวโลกให้ตื่นขึ้นเจ้าหยางเซิงเตรียมตัวแต่งหนังสือเถอะ!

หยางเซิง : วันนี้เราไปไหนกันดี?

อรหันต์จี้กง : เราไปเที่ยวป่าเขากันดีกว่า

หยางเซิง : อาจารย์มีวันพักผ่อนสบายๆ ช่างสมกับว่า “พุทธะสบายๆ” ในช่วงนี้ลูกศิษย์กำลังเตรียมพิมพ์ “พระประวัติอรหันต์จี้กง”อยู่ ได้รวบรวมตรวจสอบต้นฉบับจึงได้เอาใจใส่ศึกษาข้อธรรม จนสามารถเข้าใจถึงอุบาย ที่อาจารย์แสดงบทบ๊อง ๆ เพื่อให้เข้าถึง หลักกัมมัฎฐานแห่งธรรมจิตซึ่งเต็มไปด้วยชีวิตชีวา มีอรรถรสเต็มเปี่ยม ทำให้ศิษย์มีใจโน้มเอียงไป และศิษย์ก็มีจิตใฝ่ฝันที่จะเรียนแบบอย่างของอาจารย์ เพื่อใช้เป็นแบบในการปฏิบัตธรรมอย่างบ๊อง ๆคิดว่าคงช่วยให้ทุกบ้านช่องเกิดพุทธะแน่ๆ ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ? ท่านจะช่วยถ่ายทอดวิธีที่แปลก เพื่อกระผมจะได้ช่วยชาวโลกได้ เป็นการเพิ่ม “พุทธทุนรอน” ได้ไหม ?

อรหันต์จี้กง : ฮาฮ้า ! ศิษย์หยางได้รับธรรมจิตของอาตมาแล้วดังนั้นจึงปฏิบัติธรรมด้วยความกระปรี้กระเปร่า ไม่ถูกผูกมัด มีผู้ได้กรับการกล่อมเกลาอยู่มาก ข้า ฯ ว่าได้เท่านั้นก็พอแล้ว อาจคิดทำบ๊อง ๆ สักวันหนึ่งอาจจะลืมกลับบ้านมิกลายเป็นพเนจรอยู่ในโลกหรอกหรือ! ข้าฯบวชอยู่ที่วัด “เล่งอุ่ง” ไม่คุ้นเคยกับพวกหัวโล้นจึงต้องมาที่วัด “เจ้งชื้อ” ทำเป็นต้องทำบ๊อง ๆ ทุกแห่งในโลกล้วนมีพุทธธรรมรูปลักษณ์แบบนั้นไม่สามารถผูกมัดข้าฯ ได้หรอก เพราะได้เห็นดวงจิตที่แท้จริงของตนเองดี ไม่ว่าจะแซ่ลี่ แซ่เตีย แซ่เฮ้ง ล้วนไม่ใช่อันว่า “ข้าฯ” นี้แซ่ได้ทุกแซ่ ไปได้ถึงทุกครอบครัว จึงทำให้ทุกครอบครัวเกิดพุทธะ ทุกครอบครัวบรรลุธรรม ศิษย์หยางตอนนี้ก็ได้เรียนรู้วิธีถ่ายทอด ทุทธธรรมแล้ว ได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม ทำให้ติดปากไปทั่ว ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ข้าฯแล้วมีเพียง “ประวัติอรหันต์จี้กง” เล่มเดียวเท่านั้นที่แพร่หลายอยู่ในโลกนี้ อาจารย์สอนศิษย์ ศิษย์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาจารย์เลย!

หยางเซิง : พุทธธรรมไร้ขอบเขต อาจารย์บารมีสูงส่งมากศิษย์ได้เพียงหนึ่งในหมื่นเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอที่จะช่วยชาวโลกมิทราบว่าจะกรุณาประทานวิธีอันพิสดารให้บ้างได้ไหม?

อรหันต์จี้กง : นอกเหนือจากจิตไม่มีธรรม ธรรมอยู่ที่จิตหนึ่งเห็นแก่เจ้าที่เหนื่อยยากในกิจอันศักดิ์สิทธิ์ อยากช่วยโลกอย่างร้นรน ให้เตรียมพัดใบลานไว้ 1 อัน วันข้างหน้าจะสอนวิธีประทานให้เจ้าโปรดโลกได้โดยสะดวก

หยางเซิง : ขอบคุณอาจารย์ที่ประทาน ธรรมวิเศษเพื่อช่วยชาวโลก!

อรหันต์จี้กง : พอแล้ว ศิษย์กับอาจารย์ต่อปากต่อคำมามากแล้ว เราเข้าสู่ข้อธรรมกันดีกว่าในคุณธรรมแปดนั้น “สัจจะ” มีความสำคัญมาก สมมุติว่า หนุ่มสาวคู่หนึ่ง มีความสัมพันธ์กัน แล้วเกิดความเข้าใจผิดขึ้น ฝ่ายชายได้เขียนจดหมายปรับความเข้าใจ เพื่อให้เรื่องกระจ่าง จะได้คลี่คลายความเข้าใจผิด ที่เกิดขึ้นของทั้งสองฝ่าย แต่จดหมายนั้นได้หายไประหว่างทาง ฝ่ายหญิงจึงไม่ได้รับ จนในที่สุดก็ปลงไม่ตกเลยคิดสั้น เรื่องนี้จึงเกี่ยวข้องกับชีวิต อาจสาเหตุมาจาก “จดหมายได้สูญหาย” ไป (หมายความว่า สัจจะได้สูญหายไป) จึงเกิดเรื่องร้ายขึ้น สัจจะเป็น “เครดิต” (ความเชื่อถือ) อย่างหนึ่ง ในสมัยโบราณว่า “คนขาดสัจจะไม่อาจตั้งตัวได้” ผู้ปฏิบัติธรรมหากไม่เชื่อถือหลักธรรม ไม่เชื่อถือพุทธไม่เชื่อถือเต๋า ก็ไม่อาจบรรลุธรรมโดยธรรมชาติ ในสังคมคนไม่น้อยที่ยืมเงินแล้วไม่คืน หรือขายสินค้าปลอมแปลง ซึ่งทำให้ขาดความเชื่อถือ คนที่มีเงิน กไม่กล้าจะให้ยืมเงินโดยง่ายกลัวว่ายืมแล้วไม่ได้คืน นี่คือ คนที่ไม่สามารถเชื่อถือได้เลย

     ในแง่ของผู้ปฏิบัติธรรม ก็คือ “ความศรัทธา” มนุษย์เกิดมีใจเชื่อถือจึงเกิดศรัทธา จากความศรัทธาจึงเชื่อถือพระสูตรที่แม้ของเทพ พุทธ หมายความว่าความคิดที่ก่อเกิดความศรัทธา ความศรัทธาทำให้ก่อเกิดพลัง ด้วยความดีทำให้ปฏิบัติธรรม ดังนั้นหากสามารถศรัทธาเชื่อถือก็สามารถสำเร็จเป็นพุทธ   หวังว่าผู้คนจะไม่ทอดทิ้ง สัจจะหากทอดทิ้งสัจจะก็เท่ากับทอดทิ้งบุญ ปราศจากบุญแล้วก็มีแต่บาป  คนบาปใครเขาจะเชื่อถือ คนที่ขาดความเชื่อถือนับว่าอันตรายแล้ว ท่านว่าถูกต้องไหม? หยางเซิงขึ้นบนบัวอาสน์

หยางเซิง : ขอรับกระผม! นั่งเรียบร้อยแล้ว ....ทำไมอาจารย์พามาที่ท้องถนนล่ะ รถรามากมาย วิ่งเร็วด้วย น่าอันตรายออกพอดีสี่แยกเกิดไฟแดงขึ้นรถก็หยุด เราก็เลยหยุดบนอากาศอย่างนี้หรือ?

อรหันต์จี้กง : ตอนนี้หมายความว่าอะไร เจ้าจงตรองๆ ดู

หยางเซิง : เมื่อครู่อาจารย์พูดถึง ความเชื่อถือ ที่ทางแยกจึงมีสัญญาณไฟเชื่อถือ อันแสดงให้คนรู้ถึงการหยุด- วิ่ง ไฟแดงให้หยุด ไฟเหลืองให้เตรียมตัว ไฟเขียวให้วิ่ง บนเส้นทางชีวิตคนควรเชื่อฟังคำสั่งสอนของเทพ พุทธ ถูกธรรมก็ให้ดำเนินไปถ้าไม่ใช่ธรรม ก็ให้ถอยเสีย อย่าเป็นคนตาบอดเที่ยวชนนั้นชนนี่ จะได้ไม่มีเคราะห์ถึงตัว เทพ พุทธ แต่ละครั้งที่ประทับทรงจะแสดงธรรมสอนคน สอนให้รู้ว่า ไปสวรรค์ได้อย่างไรตกนรกเพราะอะไร? อะไรไม่ควร ซึ่งคำสอนเหล่านี้ก็เปรียบเหมือนสัญญาณไฟเชื่อถือ เพื่อบอกให้คนทำตาม !

อรหันต์จี้กง : สัญญาณไฟก็คือ สัญญาณความเชื่อถือ คำสอนของเทพ พุทธ ก็คือ สัญญาณความเชื่อถืออย่างหนึ่ง พวกเธอเคยได้ยิน “การเตือนจากยมบาล” บ้างไหม? เชื่อว่า นิทานเรื่องนี้ พวกเราคงเคยฟังมาแล้ว ชาวโลกควรจะรู้ตัวระมัดระวังอย่าสะลึมสะลือ จะได้ไม่ตายคาวงล้อ บางครั้งตนเองตายแบบไหนยังงงอยู่เลย วิญญาณผีพวกนี้น่าสงสารที่สุดไปที่อื่นกันเถอะ

หยางเซิง : ทำไมอาจารย์จึงพากระผมมาที่ไร่อ้อยนี้ละ?

อรหันต์จี้กง : ไร่อ้อย โบวลี่ มีชื่อว่าอร่อยที่สุด เรามาเสาะแสวงหาวิปัสสนากรรมฐานกันที่นี่ เพื่อคั้นน้ำอ้อยหวานให้ผู้คนได้ลองลิ้มชิมดู!

หยางเซิง : เรามายโมยอ้อยที่นี่กันหรือ?

อรหันต์จี้กง : พูดเล่นน่า เจ้าอย่านึกว่ามันเป็นจริงเลย ผู้อ่านพออ่านมาถึงตรงนี้ รู้สึกมีน้ำลายที่หอมหวานไหลออกมาผลิตผลน้ำอ้อยหวานของตนเอง นับว่าอร่อยที่สุดซินะ!

หยางเซิง : ฟัง  อาจารย์พูดแบบนี้ น้ำลายกระผมจะไหลไม่หยุด........

อรหันต์จี้กง : ชีวิตคนก็เหมือนอ้อยลำหนึ่ง เสียแต่ว่าเต็มไปด้วย โลภ โกรธ หลง จึงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ขาดรสชาติ ได้แต่พร่ำถึงความ (น้ำ) ขมขื่น เลยไม่ได้ลิ้มรสน้ำอ้อยหวานแม้แต่น้อย ทำให้ชีวิตที่เป็นน้ำอ้อยหวาน กลายเป็นน้ำอ้อยขม ชิมแต่ความขมขื่น คนอื่นก็พลอยไม่กล้าที่ไปรับการอบรมด้วย

หยางเซิง : ต้นอ้อยเต็มไร่ แต่ละลำตั้งตรงชี้สู่ฟ้า ดูค้ายกับคนมิทราบว่า ท่านอาจารย์จะค้นหารสชาติอย่างไร?

อรหันต์จี้กง : พื้นดินผืนนี้เป็นผืนที่น่าเชื่อถือ (มีสัจจะ)

หยางเซิง : อาจารย์พูดว่าอย่างไรนะ?

อรหันต์จี้กง :  พูดถึงลักษณะ พื้นดินถือ สัจจะ มันจะรักษาความสัตย์ อย่างไร่อ้อย เมื่อปักกล้าอ้อยลงพื้นแล้ว ไม่ว่าฝนจะกระหน่ำข้างเคียงจะปลูกพริก หรือขิง พออ้อยโตขึ้นน้ำของมันก็ยังคงหวานเช่นเดิม ปลูกอะไรได้อย่างนั้น มันจะรักษาคุณภาพเหมือนเดิม ดั่งปลูกแตงได้แตง ปลูกถั่วได้ถั่ว การปลูกเช่นนี้ได้แสดงถึงความเชื่อถือ (สัจจะ) ซึ่งเป็นความยิ่งใหญ่ของพื้นดิน

หยางเซิง : วันนี้ไม่เพียงแต่ พื้นดิน รักษาความสัจจะในการหล่อเลี้ยงอ้อยเท่านั้น สำหรับอ้อยเองก็ต้องมีไอธาตุบริสุทธิ์ไม่เปลี่ยนแปลงคุณภาพ (หน้าตา) ของมันเองสืบทอดต่อ ๆ กันไปด้วย รากฐานเดิม เป็นการรักษารสชาติที่มีอยู่เดิม (สัจจะ) นั่นเอง

อรหันต์จี้กง : ฮาฮ้า! ศิษย์หยางพูดได้ดีมาก เจ้าสัจจะ ข้าฯก็สัจจะ ความสัจจะนี้ถึงจะสามารถให้ผลิตผลที่น่าเชื่อถือถ้าหากเขาเชื่อถือเจ้า แต่เจ้าไม่เชื่อถือเขา ข้าฯ รักษาความเชื่อถือแต่เจ้าไม่มีความเชื่อถือต่อข้าฯ ก็ไม่ให้ผลิตผลที่น่าเชื่อถือมนุษย์เกิดมาในโลก ต่างก็อาศัยอยู่บนพื้นดินที่เป็นกลางไม่เอนเอียง แต่เหตุไฉนความประพฤติจึงไม่เหมือนกัน คุณภาพแตกต่างกันมากมาย “คนดี” ทำไมเปลี่ยนเป็น “คนชั่ว” ?

หยางเซิง : กระผมเห็นว่า พืชปลูกบนดิน มิเคยแยกจากดินเลยแม้แต่ก้าวเดียว จึงสามารถควบคุม รักษคุณสมบัติดั่งเดิมได้คือรักษาหน้าตาดั่งเดิม แต่มนุษย์ถือกำเนิดมามีแต่วัยเด็กเท่านั้นที่อยู่ใกล้ชิดกับดิน พอเติบโตขึ้นมาก็สัญจรไปที่ไหน ๆ ขึ้นเหนือลงใต้สวมแต่รองเท้าหนัง จึงไม่สัมผัสดินจึงค่อย ๆ เหินห่างจากไอดิน จมูกก็สูดแต่อากาศที่มีมลภาวะปากก็ถูกรสชาติชักจูง หูก็ได้ยินแต่คำหวาน (เสียงมาร) ที่หลอกล่อให้ลุ่มหลง ตาก็ถูกแสงสีหลอกให้ฝ้าฟาง เท้าทั้งสอง (รากธรรม) ค่อยๆไม่เข้าใจภาษาธรรม หมดโอกาสที่จะเหยียบบนดินดีแห่งมหาธรราชาติ แต่กล้าเหยียบบนพื้นความร้อนที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น บนเก้าอี้ บนรถ บนเตียง แถมยังก่อกรรมชั่ว  ดังนั้นมนุษย์จึงไม่อาจรักษาคุณสมบัติดั่งอ้อยที่รักษาความหวาน สืบทอดต่อๆ กันไป อันเป็นสมบัติดั่งเดิม

อรหันต์จี้กง : อันอ้อยหวานชาติ (ปลูก) ต่อๆ ไปก็ยังเป็นอ้อยหวาน แต่มนุษย์ชาติต่อไปอาจเป็นหมู หมา เป็ด ไก่ ฯ เป็นต้น

     ถ้าพูดอย่างมนุษย์ นับว่ามีคุณสมบัติอันประเสริฐอย่างหนึ่งในสามอย่าง ย่อมมีโอกาสเคลื่อนไหวไปมาได้ซึ่งนับว่าดีกว่าอ้อยหวาน ถ้าเป็นอ้อยเมื่อหลุดจากดินเมื่อไรก็จะกลายเป็นอ้อยแห้ง มนุษย์นับว่าโชคดีที่กายเคลื่อนไหวได้อ้อยถูกลงโทษให้ยืนอยู่กับที่ คอยเผชิญแต่โชคชะตากรรม มนุษย์หากได้ปฏิบัติธรรม สั่งสมบุญบารมียังมีโอกาสสำเร็จเป็นเทพ พุทธ ได้ไม่ต้องเป็นคนทุก ๆชาติ อย่างนี้ไม่นับว่าดีกว่าอ้อยหรอกหรือ การเกิดเป็นคนนั้นยากและก็รักษาได้ยาก หากไม่รู้จักปฏิบัติธรรม ก็จะแพ้อ้อยที่เกิดเป็นอ้อยได้ทุกๆชาติ นอกจากนี้ยังยอมให้มนุษย์ได้ลิ้มรสอันหอมหวานของมันอีกด้วย ดื่มอ้อยหวานแล้ว น่าจะเปลี่ยนรสอื่นอีก เราเปลี่ยนไปที่อื่นกันเถอะ! เออ เอ่อ! รสชาติน้ำอ้อยเป็นอย่างไรล่ะ

หยางเซิง : เหมือนดื่มน้ำ ร้อยเย็นย่อมรู้แก่ใจ.......ค่อย ๆดื่มด่ำความสุนทรี

อรหันต์จี้กง : ผู้ปฏิบัติธรรมอยากดื่มน้ำอ้อย ควรจะลองรสขมเสียก่อน แล้วค่อยๆ ดื่มต่ำกับรสอันสุนทรี ดังนั้นผู้ปฏิบัติธรรมต้องไม่กลัวความลำบาก อย่างกินอ้อยต้องคายชานอันนี้หมายความความอะไร?

      การปฏิบัติธรรมไม่เพียงแต่ดื่มน้ำอ้อย แต่ก็ไม่ควรกลืนลงไปโดยไม่เคี้ยวหมายความว่า คนเขาว่าอะไรก็เชื่อเขาไปหมด อย่างนี้เรียกว่า หลงงมงายการปฏิบัติธรรมต้องใช้สติปัญญาเข้าไปลิ้มชิมรส อย่าพูดตามเขาเป็นอันขาดหรือไม่ก็เหมือนคนตาบอดที่ศรัทธา คนตาบอดมักไร้เหตุผลหรือไม่ก็ติดยึดอยู่กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ แบบนี้เรียกว่ากินอ้อยไม่คายชาน สุดท้ายก็เกิดเรื่องจนได้ ดังนั้น ความหมายต่าง ๆ ควรจะตริตรองให้รอบคอบ จะได้ไม่เพ้อเจ้อ เหมือนกินอ้อยดูดเอาแต่น้ำ ก็เพียงพอ ขอให้ชาวโลกจดจำไว้!

หยางเซิง : อรหันต์กล่าวได้ดี กินแต่น้ำอ้อยจึงถือดีว่ามีปัญญา

อรหันต์จี้กง : เราไปกันเถอะ........ถึงแล้ว ให้อาจารย์ได้กล่างกลอนสักบท

 จะให้หายร้อนใน ไยไม่ดื่มน้ำมะระ

ดินดีไร้ขยะ  ไอดินหอมเหมาะไถหว่าน

คัดเมล็ดพันธุ์ดี ปลูกลงที่รอผลหวาน

พืชพันธุ์เลยหยาบกร้าน รอรับแต่เคราะห์กรรมร้าย

หยางเซิง : ที่นี่ที่ไหนกัน?

อรหันต์จี้กง : ที่นี่หมู่บ้านแปะเลี้ยง มีไร่มะระ

หยางเซิง : ทำไมไม่ปลูกข้าว แต่กลับปลูกมะระ

อรหันต์จี้กง : มีคนอยากซื้อ เกษตรกรก็ต้องปลูก

หยางเซิง : คำพูดของอาจารย์ ผมยังสงสัย

อรหันต์จี้กง : ฮาฮ้า......(พูดไม่ออก)

หยางเซิง : มะระมิใช่บอระเพ็ด ทำไมจึงพูดไม่ออก

อรหันต์จี้กง : คนคิดจะกินอะไรก็ปลูกอย่างนั้น อย่างนี้จึงนับว่าฉลาด ไม่ว่าจะปลูกอะไร ก็ต้องมีสภาพดินที่เหมาะสมจึงจะได้ผลเต็มที่

หยางเซิง : เมื่อครู่อาจารย์ พูดว่าพื้นดินน่าเชื่อถือที่สุด จะไม่แปรเปลี่ยนคุณสมบัติตลอดกาลมิใช่หรือ?

อรหันต์จี้กง : คนใจไม่ดี คุณภาพดินก็กระทบกระเทือนคนไร้เหตุผล ธรรมะสวรรค์ก็เปลี่ยแปลงสภาพดินฟ้าอากาศปัจจุบันกับโบราณไม่เหมือนกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “ใจไม่เข้าทำนองคลองธรรม ธรรมะแห่งสวรรค์ก็ไม่อำนวย” ปฐพีถือตามกฎแห่งฟ้า ฝนฟ้าจึงอำนวยตกต้องตามฤดูกาล การเก็บเกี่ยวจึงสมบูรณ์พูนผล อย่างปีนี้ฝนฟ้าตกไม่หยุด (น้ำท่วมกรุงเทพฯ นาน 3 เดือน) ก็หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศเริ่มแปรเปลี่ยนซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เป็นมลภาวะของอากาศและก็เป็นมลภาวะของจิตคน

หยางเซิง : อาจารย์พากระผมมาที่ไร่มะระ ไม่ทราบว่ามีความหมายอะไร?

อรหันต์จี้กง : กินอ้อยหวานแล้วกินมะระขมบ้าง เป็นวิปัสสนากรรมฐาน

หยางเซิง : หวานต้นขมปลาย รู้สึกไม่สู้ดี หากขมต้นหวานปลาย จึงค่อยเข้ารสที่ถูกต้อง

อรหันต์จี้กง : ชีวิตคนมีทั้งหวานขมปนกันอย่างละครึ่ง โศกสนุกติดต่อกันไป วันนี้มายัง ณ ที่นี่ย่อมมีมติสวรรค์ ผืนดินอันเดียวกัน เมื่อปลูกอ้อยก็หวานลิ้ม เมื่อปลูกมะระก็ขมลิ้น จึงพูดว่า “ปลูกอะไรก็ได้อย่างนั้น” ปฐพีนั้นยุติธรรมที่สุดใครก็รู้เหตุผลดี เจ้ามีชีวิตอยู่บนพื้นแผ่นดินนี้ ต้องปลูกอะไร?

หยางเซิง : ฟ้าเบื้องก่อนเป็นผู้ปลูก ปลูกบนผืนดินศักดิ์สิทธิ์อยู่บนฝุ่นไม่เปื้อนฝุ่น ฝุ่นดินช่วยให้กระผมเติบใหญ่ ทั้งยังเปล่งประกายเจิดจ้า ไม่ถูกฝุ่นดินทับถม จากผืนดินพุ่งทะยานสู่ฟ้า.........

อรหันต์จี้กง : ตอบได้ดีมาก เตรียมตัวขึ้นบนบัวอาสน์ เราจะไปกันล่ะ

หยางเซิง : ไปไหนอีก

อรหันต์จี้กง : ไปยังเต็กกั้ง เมืองเก่า ที่ตลาดโต้รุ่ง .....เจ้าเห็นแสงไฟส่องสว่างฝูงชนแออัอ

หยางเซิง : อาจาย์คิดอยากรับประทานรอบดึกหรือ?

อรหันต์จี้กง : อย่าตะกละ เมื่อครู่พูดถึงว่า “ปลูกอะไรก็ได้อย่างนั้น” ตอนนี้จะพาเจ้าไปดูกัน

หยางเซิง : ฝูงชนมาไปแออัด คงไม่เห็นอะไร

อรหันต์จี้กง : ลองขยี้ตาดูซิ

หยางเซิง : พอขยี้ตาดู ก็เห็นฝ่าเท้าของฝูงชนมีสีสันแตกต่างกันนี่เพราะเหตุผลอะไร

อรหันต์จี้กง : ที่เท้าของชายที่อยู่ข้างหน้าเหมือนกับย่ำโคลนเหนือศีรษะก็มีรัศมีสีเทา เขาเป็นชาวนา แต่ชอบเรื่องผู้หญิงจึงมักไปเที่ยวซ่องโสเภณี เหมือนเข้าไปในที่ไม่สะอาดจึงทำให้จิตเดิมหมองมัว ขาทั้งสองย่ำไปในสถานที่ไม่สะอาด (ปลูกอะไร) บนหัวของเขามีแสงสีเทาของวิญญาณที่มืดครึ้ม(ก็ได้อย่างนั้น) เป็นผลลัพธ์ เจ้าดูที่หญิงคนนั้น สองขาเปื้อนไปด้วยดอกหญ้าบนหัวก็มีควันดำ

หยางเซิง : หล่อนปลูกอะไรล่ะ

อรหันต์จี้กง : ฮาฮ้า! ก่อนเธอเป็นดาวเซ็กซ์ ตอนนี้แต่งงานแล้วแต่ความเซ็กซ์ของเธอยังอยู่ข้างนอกยังมีคนอื่นอยู่ ดังนั้นรอยเท้าเธอจึงเต็มไปด้วยหญ้าเจ้าชู้ บนหัวก็๋มีหญ้ารกรุงรัง

หยางเซิง : วัยรุ่นข้างหน้านี้ ทำไมขาทั้งสองจึงเปล่างรัศมีดูแผ่วเบา บนศีรษะก็มีรัศมีสีทองเปล่งประกาย

อรหันต์จี้กง : ฮาฮ้า! เขาเป็นผู้ปฏิบัติธรรม อายุน้อยแต่รู้ปฏิบัติถือมังสวิรัติมาหลายปี มีความล้ำลึกในพระสูตรทั้งสามศาสนา ชอบให้ทาน ชอบบริจาคเงินสมทบช่วยพิมพ์หนังสือธรรมะ เนื่องจากความอยากมีน้อย ที่ ๆ ไปมักเป็นสำนักธรรมวัดวาอารามและเพื่อนฝูงที่ดี ดังนั้น ฝีเท้าของเขาจึงเบาลอยเข้าสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นประจำจึงได้รับพุทธรังสี มีความบริสุทธิ์ จึงมีสภาพเช่นนี้

หยางเซิง : มีชายผู้หนึ่ง รู้สึกจะเมาสุรา เดินโซเซไปมาด้านหลังมีสุนัขคอยเห่าตาม เหมือนจะไล่กัดเขาอย่างนั้น

อรหันต์จี้กง : เขาชอบดื่มสุราและทานเนื้อสุนัข จึงมีสภาพเช่นนี้ จึงมีคำกล่าวว่า “ฝึกพุทธะ พุทธะอยู่ข้างหน้า ชอบฆ่าสัตว์ สัตว์อยู่ข้างๆ” เพราะเจ้าปลูกพุทธะ เจ้าก็รับพุทธผล ถ้าเจ้า (ปลูก) ฆ่าสัตว์  สัตว์ก็อยู่รอบข้าง เท้าทั้งสองของมนุษย์ไปถึงไหน ทำอะไรสิ่งที่เหลือไว้ก็๋คือ เงา (ลูก) (ซึ่งจะผลิตดอกออกผล) เหมือนกับตำรวจที่เที่ยวแกะรอยขโมย ที่ทิ้งไว้ตามหน้าต่าง ประตู เจ้าทำเรื่องอะไรก็ทิ้งร่องรอยเรื่องนั้นไว้ เจ้าดูที่เท้าของพวกเรามีบัวอาสน์ เพราะเราชอบที่จะมีพุทธะเป็นมิตร นาน ๆไปก็กลายเป็นพุทธะเหมือนกัน ดังนั้นจึงพูดว่า “ปลูกแตงได้แตง ปลูกถั่วได้ถั่ว” ไม่มีผิดเพี้ยน.....วันนี้เราเที่ยวกันมาถึงที่นี่พอแล้ว เราเตรียมตัวกลับสำนัก

หยางเซิง : ขอบคุณอาจารย์ที่อธิบาย ได้รับผลประโยชน์มากมาย

อรหันต์จี้กง : สำนักเซี้ยเต็กตึ้ง ถึงแล้ว หยางเซิงลงจากบัวอาสน์ วิญญาณกลับเข้าร่าง


0
105

เพลงกตัญญู

อริยเจ้าเซยเทียงจ่อเต๋าจิงหยิ้ง

1654918052.jpg
mindcyber
1 year ago

บันทึกนรกคนเป็น ตอนที่ 8

บันทึกปรากฎการณ์นรกนรกคนเป็น

1654918052.jpg
mindcyber
7 months ago

คดีเศรษฐีนักบุญ

1654918052.jpg
mindcyber
2 months ago

เส้นทางอริยะ ตอนที่ยี่สิบเจ็ด

1654918052.jpg
mindcyber
1 month ago

วิธีแก้กรรมแห่งการปาณาติบาต

1654918052.jpg
mindcyber
2 years ago