จงลับกริชแห่งปัญญาให้คมกริบ เมื่อยามหยิบมาใช้จึงส่งผล
ตัดกิเลสอวิชชาในบัดตล มิต้องว่ายเวียนว่ายแม้ในคะนึง
แต่ห่วงกริชมักมีสองคมให้พรั่นจิต หากใช้ผิดตัดเส้นชีวิตที่เฝ้าขึง
จึงหวังศิษย์ลดความคิดที่ดึ้อดึง ข้านี้จึงวางใจให้ศิษย์เดิน
นานนานครั้งก็ดูศิษย์เดินถึงไหน รักสบายบำเพ็ญยังมัวเขิน
เพราะเจ้าคิดว่าตนเป็นส่วนเกิน พินิจเพื่อดำเนินถูกแลควร
ใช้ใจอะไรต้อนรับอาจารย์ (ใช้ความจริงใจ) ใจที่เป็นพุทธะ หรือใช้ใจธรรมะ หรือจิตใจนั้นมีอยู่สองอย่าง คือ จิตใจที่มีความเป็นคนสูงกับอีกใจหนึ่งเป็นจิตใจที่มีความเป็นธรรมะ แล้วใจของศิษย์เป็นจิตใจประเภทไหน ปกติแล้วทุกๆ วันที่เราดำรงชีวิตมา ไม่ว่าศิษย์จะมีชีวิตอยู่เป็นสิบๆ ปีที่ผ่านมาก็แล้วแต่ ศิษย์นั้นได้ใช้ใจของความเป็นคนอันได้แก่ ใจที่เป็นคนประเสริฐ เป็นผู้ที่เอื้อเฟึ้อเอื้ออารีต่อโลก เป็นคนที่มีความเมตตาแล้วก็ไม่เมตตาบ้าง ชอบทำๆ หยุดๆ ใจประเภทที่สองคือใจของธรรมใช่หรือเปล่า ใจของความเป็นคน แยกออกมาเป็นใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา แต่ชอบทำๆ หยุดๆ กับประเภทที่สองหมายถึงใจที่มีความร้ายอยู่มากมายใช่หรือไม่ เคยเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่ฆ่ากันตายไหม ไม่ใช่ว่าเขานั้นจะไม่มีความดีเอาเสียเลย แต่ว่าได้มีใจสิ่งร้ายครอบงำจิตใจในส่วนที่ดีใช่หรือเปล่า จิตใจอย่างที่สองเป็นจิตใจแบบไหน (จิตใจธรรมะ) จิตใจธรรมะเป็นจิตใจประเภทไหน(มีเมตตา มีความเที่ยงธรรม จิตใจที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน ใจที่เป็นธรรมชาติ) ศิษย์ตอบได้ดี แต่ถ้าหากไม่มีการใช้ปัญญาของเราออกมาคิดเสียบ้าง อาจารย์สอนอะไรไปก็จะลืมหมดใช่หรือเปล่า จบจากสามวันนี้แล้ว หากศิษย์ตั้งใจจะศึกษาต่อไป อาจารย์ก็จะพูดให้มากหน่อยเพื่อให้ศิษย์ได้เก็บเอาไปคิดมากๆว่าใจของธรรมะเป็นเช่นไร
โดยมากแล้ว บอกว่าใจธรรมะคือใจดี แต่ดีและร้ายเป็นสิ่งคู่กันเหมือน ดำกับขาว ทั้งดำและขาวเป็นสีไหม สีขาวเป็นสีเหมือนกันใช่หรือไม่ อาจารย์บอกว่าใจของธรรมคือใจที่อยู่เหนือสองสิ่งนี้เชื่อไหมในธรรมที่ศึกษากันอยู่ทุกอย่างที่คนเอามาพูด คือ สิ่งที่เป็นสีขาว ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ดีให้ศิษย์เอาไปปฏิบัติแต่ถามว่าสีขาวยังเป็นสีหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าเป็นสี เพราะฉะนั้น ในสีขาวก็ยังเป็นสิ่งที่ขุ่นอยู่ แต่ธรรมะอยู่เหนือกว่านั้นการบำเพ็ญธรรมจึงต้องกลับไปสู่ใจธรรมะหมายความว่าใจที่อยู่เหนือดำเหนือขาวไปแล้วเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์พูดไหม(เข้าใจ)คนที่เข้าใจ เข้าใจจริงหรือไม่ (ใจธรรมะนั้นไม่มีคำว่า ขาว ไม่มีคำว่า ดำเพราะธรรมเป็นสิ่งที่ใส ไม่มีสี เป็นกลางๆ และอยู่เหนือสิ่งอื่นใด)
ที่จริงศิษย์ของอาจารย์คนนี้พูดได้ดีแล้ว หากมีเส้นอยู่เส้นหนึ่งเส้นนี้มีหัวท้าย แล้วตรงกลางเส้นล่ะ ก็ยังอยู่ในเส้นนี้ แสดงว่ายังไม่พ้นไปจากเส้นนี้ใช่หรือไม่ สิ่งที่อาจารย์จะพูดก็คือ ธรรมเป็นสิ่งที่ใช้จิตของเราเป็นผู้ตรึกตรอง อธิบายเป็นคำพูดได้ยากยิ่ง เพราะฉะนั้น ศิษย์ของอาจารย์ที่ยังไม่เข้าใจ ศิษย์นั้นจะต้องใช้จิตลองไปตรึกตรอง การพิจารณานั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าใจของเรานี้ยังไม่ได้หยุด ไม่หยุดแล้วกำหนดใจให้นิ่งไม่ได้ เมื่อกำหนดใจให้นิ่งไม่ได้ ก็ยังกำหนดใจให้สงบไม่ได้ เมื่อกำหนดใจให้สงบไม่ได้ ก็จะกำหนดว่าใจนี้อยู่ไหนไม่ได้เมื่อทำเช่นนี้ไม่ได้ พิจารณาไม่ได้ ส่วนใหญ่ของพระภิกษุ หรือศิษย์ของอาจารย์ หลายคนชอบนั่งสมาธิ ถามว่าใจเรานั้นไม่เคยกำหนดให้นิ่งลงเลย สมาธิความสงบเกิดขึ้นได้อย่างไร สมาธิขึ้นสูงอยู่ที่ไหน อยู่ที่ทุกๆ ขณะจิตของเรานั้น สามารถกำหนดจิตให้นิ่ง ศิษย์ทำได้ไหมพิจารณาง่ายๆ ใจของศิษย์เป็นใจที่ศรัทธา หรือเป็นใจที่กังขา (ศรัทธา)กังขาแปลว่าอะไร (สงสัย) ใจของศิษย์นั้นเป็นใจที่ศรัทธาหรือกังขาอย่าให้สองสิ่งนี้สลับกันไปมา ขอให้สิ่งอยู่ในใจ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเดียว
ใครมีคมบ้าง “คมปัญญาตัดกิเลส” ลองวาดรูปที่มีมีดสองคมคมหนึ่งเป็นคมปัญญา คมปัญญาตัดกิเลสใช่ไหม คมอีกข้างหนึ่งเป็นคมของความฉลาดดีไหม คมปัญญานี้เอาไว้ตัดกิเลส กิเลสนี้มาจากไหนกิเลสเกิดขึ้นได้จากอะไร กิเลสเกิดจากอายตนะใช่หรือไม่ อายตนะมีสิ่งใดบ้าง มีหู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อตาไปมองสิ่งภายนอกเกิดเป็นการยึดติดในรูปก็อยากจะได้ของสิ่งนั้น เมื่อหูได้ฟังว่าของดี ยี่ห้อดีราคาแพง เราก็อยากได้ในสิ่งนั้นอีกใช่ไหม เมื่อลิ้นเราสัมผัสในรสชาติอาหาร เกิดเป็นกิเลส อยากลิ้มรสอันนั้นต่อไปใช่ไหม
เมื่อคมปัญญาให้ตัดกิเลส แล้วคมฉลาดเป็นอย่างไร เช่นตอนนี้เดินไปข้างหน้าต้องลำบากแน่ๆ ก็หลบเสีย รู้ว่าสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบไม่พึงใจก็หลบเสีย อย่างนี้เรียกว่าความฉลาดไหม ความฉลาดคือรู้จักเอาตัวรอด ฉะนั้น ความฉลาดกับปัญญาต่างกันตรงไหนปัญญาทำให้เราไม่ได้รู้จักแต่จะหลบหลีกอย่างเดียว แต่จะรู้ว่าเมื่อไรควรหลบหลีก เมื่อไรควรตั้งใจรับ เช่นเมื่อเคราะห์กรรมมาถึงก็ให้ตั้งใจรับรับแล้วพ้นได้ ถ้ามีแต่ความฉลาดเคราะห์กรรมมาถึงก็หลบเสียหลีกเสียในที่สุดเคราะห์กรรมก็ต้องย้อนกลับมาหาเราอีก ฉะนั้น ศิษย์เลือกทีจะเป็นคนฉลาดหรือคนมีปัญญา มีดอันนี้มีสองคม คมหนึ่งเป็นคมดีคมหนึ่งเป็นคมร้าย จะเลือกใช้คมไหนคมแห่งปัญญาใช่หรือไม่
คำว่า คมปัญญาตัดกิเลสนั้น เป็นคำที่ค่อนข้างจะสูง เพราะว่าทำได้ยาก มนุษย์นั้นมีกิเลสทุกคน กิเลสนั้นพุ่งทะยานขึ้นสู่ฟ้า เราจะเป็นคนที่ใช้ปัญญาของเราตัดกิเลส ปัญญาอยู่ที่ใจ ตัดได้ยามใด การเวียนว่ายตายเกิดก็หยุดลงง่ายเช่นเดียวกับมนุษย์นั้นอยู่ด้วย รัก โลภ โกรธ หลง จึงเวียนว่ายไปด้วย เกิด แก่ เจ็บ ตาย หากวันนี้ที่มีชีวิตอยู่ ไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ ไม่สามารถหลุดพ้นจากความรัก โลภโกรธ หลง ได้ อย่ามั่นใจว่าภายหน้านั้นจะหลุดพ้นได้ หากวันนี้สามารถดับอารมณ์ต่างๆได้ จงมั่นใจว่าวันข้างหน้าก็ดับได้เช่นเดียวกัน
พระอาจารย์จี้กง
พุทธสถานผูถี อ.เมือง จ.พิษณุโลก
1 1 พฤษภาคม 2540