สิ้มรสให้รู้ สนามสอบแพร่งพรายให้ประจักษ์
รสชาติยากจะพรรณนา สัจธรรมส้ำเสิศ
อรหันต์จี้กงเสด็จลงประทับทรง วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2525
กลอนนำเสด็จ
มารทดสอบเบื้องต้น อุปสรรคอุดตัน
นิพพานจริงที่สุด อาจารย์จี้จุดชัย
บนพื้นฐานปฏิบัติธรรม ปัญญาเกิดได้ไฉน
หลุดพ้นสัจธรรมฉับไว ให้ดวงตาสว่างธรรม
อรหันต์จี้กง : วันนี้จะพูดกันในหัวข้อเรื่อง “พิจารณารสให้ละเอียดก่อน ผลลัพธ์จะเป็นไฉน”
พูดถึงเรื่องราว สิ่งของต่างๆที่มีอยู่ในโลกโดยเฉพาะที่มีรูปลักษณ์ไม่มีที่ ไม่มีวิญญาณ (วิญญาณในที่นี้หมายถึง ความมีชีวิตชีวา) ขึ้นอยู่กับว่า วิญญาณนั้นจะซ่อนเร้นหรือเปิดเผยมากหรือน้อย ผู้ที่ไม่มีอารมณ์สุนทรีย่อมไม่สามารถรับรู้ถึงความพิสดารของมัน เจ้าลองดูขุนเขาและโขดหิน ต้นหญ้า ใบไม้ ล้วนแล้วแต่มีวิญญาณอันพิเศษวิญญาณก็ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ของมัน อย่างเช่น เมื่อวานนี้ คุณเถ้า ได้ดีดพิณไร้พิณ แต่คนเขาว่า “เมื่อไรัพิณแล้วจะดีดอย่างไร?” คุณเถ้า ตอบว่า “เมื่อได้รับความเพลิดเพลินจากพิณแล้ว ไยต้องให้พิณบังเกิดเสียงเล่า?” ลักษณะเช่นนี้ก็ทำให้เข้าใจถึงความพิสดารของวิญญาณแห่งสรรพสิ่งได้อย่างแท้จริง ผู้ที่มีจิตหยาบ เมื่อเห็นรูปลักษณ์แต่จะไม่เห็นวิญญาณ จึงไม่อาจเห็นความพิสดารของมันได้ ความพิสดารที่ผู้อื่นเห็น เขากลับเห็นว่าไม่พิสดารหากพินิจพิจารณาอย่างละเอียดลออ ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสภาวะ ล้วนมีวิญญาณแฝงเร้นอยู่ เพราะโลกมีความแปลกนี้เอง สิ่งที่อาตมาเห็นว่าราบเรียบ ก็เพราะโลกมีความธรรมดานั่นเอง นี่คือสิ่งที่อาตมาเห็นความแตกต่างของมัน ดังนั้น ในแต่ละวันๆจึงมีความรู้สึกสนุก มีความกระปรี้กระเปร่า ไม่ให้วิญญาณเฉื่อยชาซึ่งจะทำให้ไม่รู้สึกอะไร เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็สามารถเข้าถึงดินแดนแห่งความพิสดารของความพิสดารนั้นได้ ขอให้พวกท่านให้ค่อยๆพินิจพิจารณาถึงเรื่องราว วัตถุต่างๆอย่างพิถีพิถัน ก็จะสามารถเข้าถึงความสุนทรีแห่งสมาธิได้
ระยะหลังนี้มีเทพ พุทธ ชั้นสูงได้มาบรรยายธรรม ณ สำนักธรรมแห่งนี้ ท่านทั้งหลายก็ได้รับผลประโยชน์ไม่น้อย ถ้าหากมีสิ่งที่ไม่สบอารมณ์เกิดขึ้น ก็อย่าพึ่งมองสิ่งที่ไม่สบอารมณ์ก่อน ควรจะได้ลองสิ้มรสของมันเสียก่อนว่าไม่สบอารมณ์เป็นอย่างไร? เหมือนกับคนที่อมบอระเพ็ดก็อย่าไปนึกแต่ความขม ควรได้ลองลิ้มรสขมนั้นก่อน แล้วจะได้เข้าใจถึงความขม ว่าเป็นอย่างไร? และในขณะที่พิจารณารสอยู่นี้ มันจะทำให้เราถึงกับลืมความขมนั้นเลย! หรืออย่างเช่น นั่งจนขาเป็นเหน็บชา เริ่มแรกอย่าไปกำหนดรู้ว่าขา จงพิจารณาถึงรสชาติของการชา บางทีขณะที่สิ้มรสความชาอยู่นั้นเราอาจลืมไปว่าขาเรานั้นกำลังชาอยู่ก็ได้ ฮาฮ้า! น่าพิสดาร! ทั้งหมดนี้เป็นการอธิบายถึงการลิ้มรส
ในพระสูตรว่า “พระพุทธเจ้ามีสามกาย ได้แก่ ธรรมกาย สัมโภคกาย นิรมานกาย” บ้างก็ว่ามีสี่กาย ก็เพิ่มอภิญกายหรือเรียกว่า จิตกาย ซึ่งจะนับรวมทั้งแผ่นดิน พื้นน้ำ หมายถึง พระไวโรจนพุทธะ (ในนิกายเทียนไท้ กล่าวว่า พระไวโรจนะ หมายถึง พระธรรมกาย พระโรจนะ หมายถึง สัมโภคกาย และ พระศากยมุนี หมายถึงนิรมานกาย พระไวโรจนะ เป็นประธานแห่ง พระธยานิ พุทธะทั้งห้าพระองค์ ซึ่ง หมายถึง พระปัญญาอันสูงสุด) ได้แสดงพระธรรมกาย (หมายถึงพระพุทธยูไลแห่งสุริยะ ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นพระเจ้า) ตัวอย่าง เช่น ต้นหญ้า ต้นไม้ ขุนเขา ก้อนหิน ไม่ใช่เป็นเพียงวิตถุที่มีเพียงรูปลักษณ์เพียงอย่างเดียวหรือ? อาจจะพูดได้ว่ามีน้ำใจก็มีพุทธจิต ถ้าไม่มีน้ำใจก็ไม่มีพุทธจิต ถ้าพูดแบบนี้แล้วอย่างเช่น ขิง ยังมีคุณสมบัติ ร้อน และโกฐน้ำเต้า ซึ่งมีคุณสมบัติเย็น ซึ่งล้วนเป็นผลของธรรมจิต ถ้าเช่นนั้นธรรมจิตจะไม่มีวิญญาณหรอกหรือ และพวกสมุนไพรเหล่านี้ก็สามารถรักษาโรคอารมณ์ทั้งเจ็ด (ความดีใจ ความโกรธ ความโศก ความเกลียด ความอยาก)ได้ ถ้าหากต้นหญ้า ต้นไม้ ไม่มีน้ำใจ หรือไม่เป็น เพราะเป็นชนิดเดียวกันที่มีผลต่อกันถ้าไม่แล้วจะมีผลเช่นใด พระภิกษุในศาสนาพุทธว่า “ไม่ตัดไม้ไม่เลือก” ซึ่งหมายความว่า ต้นไม้ใบหญ้าไม่ทำลายส่งเดชกลับมาพูดถึงความีน้ำใจและไม่มีน้ำใจ หากมีใช่เกิดจากการหล่อหลอมของจิตหนึ่งแล้วไซร้ เทพ พุทธ จะสามารถแปรเปลี่ยนจากการมีน้ำใจเป็นไม่มีน้ำใจ หรือจากการไม่มีน้ำใจเป็นมีน้ำใจได้อย่างไร ลองพิจารณาวัตถุที่ไร้น้ำใจให้ละเอียดหน่อยซิ อย่างเช่น โลภ โกรธ หลง เจ้าสามตัวนี้ครอบครุมหมดทุกอย่าง เป็นเช่นไร? ความโลภถ้ามีพลังมากก็เกิดโทสะขึ้น พลังโทสะหากมีมากก็จะทำลายล้าง พลังหลงมีมาก วิญญาณก็จะมีอาการหนาวๆ ร้อนๆ ถ้าพลังดังกล่าวมีน้อย ก็จะไม่แสดงออกมาให้ปรากฎ
สรรพสิ่งจะเจริญเติบโตอย่างมีชีวิตชีวาภายใต้ฟ้านิมิตวิถีล้วนมหัศจรรย์ ความมหัศจรรย์ในการเจริญเติบโตจากความเร้นลับภายใจปรากฎสู่ภายนอก โดยเฉพาะมีความสัมพันธ์กันในตระกูลเดียวกัน ถ้าหากปราศจากชีวิตก็จะเฉื่อยชาอย่างเช่น ทิวทัศน์ที่มนุษย์สร้างขึ้น แม้มองดูเห็นว่าสวยงามแต่ก็ไม่อาจจะเติบโตใหญ่ได้ อันความสัมพันธ์ในตระกูลเดียวกันฟังดูเหมือนมีเหตุผลอ่อน แต่ก็มีเรื่องราวให้เห็นแยะอยู่อย่างเช่น ตระกูลที่มีโทสะอยู่ภายใน เมื่อแลเห็นสิ่งที่น่าเจ็บแค้นก็จะเกิดโทสะขึ้น หรือตระกูลที่มีโลภะอยู่ภายใน เมื่อพบเห็นสิ่งที่น่ารักภายนอกเข้าก็จะเกิดความอยากได้ขึ้น ประดุจมีเชื้อไฟอยู่แล้ว เมื่อเจอความร้อนเข้าก็เลยไหม้ขึ้นมา หากไม่มีเชื้อยู่ เมื่อพบสิ่งใดก็ตามก็จะไม่รู้จัก อย่างนี้เรียกว่ามีโอกาศสัมพันธ์กันแต่ไม่มีเหตุ ก็ไม่เกิดเรื่องขึ้น
ปุถุชนมักเข้าใจผิดว่า เทพศักดิ์สิทธิ์ สามารถผันแปรสภาพนั้นได้ ตัวอย่างเช่น “เรือรั่วมักพบว่าคลื่นลมไม่สงบรถไม่ดีก็โทษว่าถนนไม่เรียบ” (เข้าทำนอง รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง) ซึ่งมักเข้าใจผิด พูดอีกสภาพหนึ่งว่า “ผู้จงรักภัคดีถึงที่สุด มักจะเห็นว่าธุระทั้งหมดเป็นหน้าที่ของตน ผู้มีเมตตาธรรมถึงที่สุดมักจะเห็นว่า มนุษย์ทั้งหลายไม่มีความผิด”หากจะเอาจิตคนเปรียบดังกระจกเงา ผลกรรมทั้งหลายเปรียบดังรูปในกระจกเงา ซึ่งหมายความว่า ในโลกนี้ไม่มีสภาพจริงขึ้นอยู่กับกรรมสนอง ย่อมมีความแตกต่างกัน อย่างเช่นมีฝนตก มนุษย์เห็นเป็นน้ำ เปรตเห็นเป็นไฟ อสุรกายเห็นเป็นเข็มแทง เทพเทวดาเห็นดั่งมณี ทั้งๆ ที่เป็นฝนชนิดเดียวกันดังนั้น ขึ้นอยู่กับกรรมที่พบไม่เหมือนกัน เช่น กระจกสีแดงและสีเขียว แสงที่ส่องก็ต้องเป็นสีแดงและสีเขียว กระจกหลอนก็ย่อมเห็นภาพหลอน อีกตัวอย่างเช่น พวกที่ท้องเจริญอาหารดียิ่งรับประทานก็ยิ่งอร่อย ตรงกันข้าง พวกที่มีธาตุอ่อนพอเจอะอาหารก็เหมือนคอจะตีบ นี่แหละสรรพสิ่งล้วนไม่มีสภาพจริง การพบเห็นแตกต่างกันไป ควรจะมีจิตแยบยลก็จะเห็นธรรมะอันแยบคาย จิตอันแยบยลเกิดจากความมีชีวิตชีวา แต่ความมีชีวิตชีวาก็มิใช่จะลิงโลดฟุ้งกระจายจนกลายเป็นการตลบตะแลง โดยเฉพาะต้องมีจิตที่ปราศจากความยากและมีหลักมั่นก็จะได้พบธรรมอันแยบยลโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน ซึ่งในยาปปกติจะไม่ได้พบเห็น จึงมีคำกล่าวว่า “ขณะที่จิตไหวโดยมีขันติ ก็จะเพิ่มคุณค่าอันประมาณมิได้” เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ก็มักโกรธตนเองที่ไม่อาจมีขันติในขณะที่จิตไหวได้
ในพุทธธรรม จะถือศัตรูดังผู้มีพระคุณ หากไม่พบคนขอทาน แล้วเราจะเป็นผู้ให้ทานได้อย่างไร หากไม่มีคนข่มแหงรังแก ไหนเลยเราจะอดทนต่อความอัปยศอดสูได้สภาวะเกิดจากจิตเป็นผู้ก่อ เปลี่ยนความรู้ให้เป็นปัญญา ธรรมะก็เป็นเช่นนี้แล
คนเราหากไม่กิต ไม่ดื่ม จะสัมผัสรู้รส “เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด” ได้อย่างไร กิจการใดก็ตามถ้ามีความรู้สึกถึงสุดยอดแล้ว อาจพูดได้ว่า “ปลื้มปีติก็ได้ สะอื้นไห้ก็ได้” ในขณะที่ปลื้มปีติ ทำไมจึงสะอื้นไห้เล่า? หรือในขณะสะอื้นไห้ ทำไมจึงปลื้มปีติเล่า? จะเห็นว่า ทั้งปลื้มปีติและสะอื้นไห้เป็นธรรมชาติของจิต เหมือนเป็นสิ่งเดียวกันทั้งๆ ที่เป็นสองสิ่ง เหล่านี้เป็นต้น ลองสำรวจดูเรื่องทั้งหลายในโลกนี้ซิ ล้วนเป็นการรวบรวมของธรรมลักษณ์ชนิดหนึ่ง หากไม่โกรธ ไม่เกลียดจิตนั้นก็จะว่าง น่าสงสารมนุษย์ที่ไม่รู้จักจิตว่าง หากรู้จักแล้วก็จะมีความแตกต่างเหมือนกันหมด ก็จะปราศจาการโศกเศร้านั้นคือ ปัญญาเริ่มแตกหน่อแล้ว
นักศึกษแพทย์คนหนึ่ง พยายามแก้นิสัยเสพยาเสพติดทำไมแต่ละคนจึงไม่สามารถอดยาเสพติดได้ จึงลองเสพยาอยู่เป็นประจำจนเป็นนิสัย พิจารณาถึงสภาวะของการเสพติดแล้วจึงวางแผนการอดยาเสพติดเป็นขั้นตอน ในที่สุดจึงกล่าวกับคนทั่วไปว่า “นิสัยติดยาเป็นของปลอม ความตั้งใจเป็นของจริง”
ยังมีคนหนึ่ง คิดอยากแก้ไขความเลวร้ายของคุกตะราง ดังนั้น จึงแกล้งทำผิดเล็กน้อย ถูกจับเข้าคุก ในที่สุดจึงรู้ความเลวร้ายของคุกเป็นอย่างดี ฉะนั้น การที่ลองสู้อดทนต่อความเจ็บปวด ยอมรับความทุกข์ทรมานเหมือนกับการเล่นละคร โน้มนำจิตให้รู้รส ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เพื่ออธิบายถึงคำว่า “ลิ้มรส” พวกท่านสวดมนต์เป็นประจำ ในคาถากล่าวว่า “เทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ โปรดคุ้มครองข้าน้อย รัศมีทองเปล่งประกายโปรดปกคลุมวิสุทธิเทพ” ซึ่งมักพบคำสวดแบบนี้มาก แล้วพวกท่านรู้สึกหรือเปล่าว่ารัศมีทองปกคลุมบ้างไหม? เมื่อไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ ก็เป็นการสวดอย่างเลื่อยลอย มักไม่ได้ผล คำที่ว่า “ไอมงคลคุ้มอยู่” พวกท่านได้รับไอมงคลคุ้มตัวบ้างไหม?ไอมงคลทำให้มีชีวิตชีวาบ้างไหม? ถ้าหากว่าไม่มี หรือพบว่ามีบ้าง แต่ไม่ค่อยมีอยู่ แล้วจะทดสอบว่าคุ้มครองตัวได้อย่างไร? ไอมงคลมีหรือไม่มี ตนเองจะไม่รู้ได้อย่างไร? ที่มีอยู่ก็ดีแล้วที่ไม่มีอยู่ก็จงเพิ่มความขยัน เรียกให้ไอมงคลนั้นคงอยู่จึงจะยืนยันได้ว่าคุ้มครองตัวเราอยู่ เมื่ออยู่ในที่อันตรายก็ไม่กลัว ไอมงคลนี้ก็เกิดจากการบำเพ็ญธรรมแห่งตน ซึ่งจะพุ่งสู่เบื้องบน ดุจเชื้อเพลิงนั้นแล!
หยางเซิง : ที่อาจารย์กล่าวมา ทำให้คน “ที่คิดลิ้มรสจะได้รับรส” เสียจริงๆ
อรหันต์จี้กง : วันนี้พร่ำมาเสียเยอะ ก็เพื่อให้ผู้ที่เดินอยู่บนเส้นทางอริยะ ได้บรรลุถึง “รูปลักษณ์แท้ของจิต” และ “ความหมายแท้จริงของธรรมะ” อยู่ที่ไหน? หยางเซิง ขึ้นบนบัวอาสน์เถิดเตรียมตัวไปยัง “สำนักมารทดสอบ”
หยางเซิง : ขอรับ ! การผมนั่งเรียบร้อยแล้ว ขอเชิญอาจารย์ออกเดินทางเถิด
อรหันต์จี้กง : .....ถึงสำนักมารทดสอบแล้ว หยางเซิงลงจากบัวอาสน์
หยางเซิง : เรามาที่นี่ครั้งหนึ่งแล้ว.....ท่านผู้อำนวยการมาถึงศิษย์ขอคารวะท่านผู้อำนวยการ
ผู้อำนวยการ : ยินดีต้อนรับ ท่านอรหันต์จี้กงและคุณหยางเซิงที่มาเยี่ยมชมที่นี่อีก โปรดชี้แนะด้วย
หยางเซิง : มิกล้าขอรับ ! ขอท่านผู้อำนวยการโปรดแนะนำรายละเอียดต่างๆ เพื่อนำลงพิมพ์ในหนังสือ “เส้นทางอริยะ” เพื่อเป็นการขัดเกลาผู้คน
ผู้อำนวยการ : ดีทีเดียว! โปรดเข้าชมภายในถึงการทดสอบชนิดต่างๆ กันเถอะ
หยางเซิง : ขอบคุณที่ท่านผู้อำนวยการกรุณา ได้ติดตามท่านผู้อำนวยการเข้ามายังห้องหนึ่ง ภายในมีผู้ปฏิบัติธรรมทั้งชายหญิงนั่งเต็มไปหมด ทุกคนเงียบสงบเหมือนกับกำลังจะเริ่มบนเรียน
ผู้อำนวยการ : พวกเขาล้วนเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ที่กลับคืนสู่ “ความว่าง” มารับการทดสอบความแน่นอนอีกครั้งหนึ่ง
หยางเซิง : บนสวรรค์ก็มีการทดสอบความแน่นอน จะให้ชาวโลกเขาเชื่อถือได้อย่างไร
ผู้อำนวยการ : ชีวิตคนหากไม่ผ่านการทดสอบ ก็ไม่อาจที่จะประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ได้ คิดอยากเป็นเทพ พุทธเป็นคนเหนือคน จะต้องมีมาตรฐานที่สูงกว่าคนทั่วๆไปอีกขั้นหนึ่ง ท่านนักปฏิบัติธรรมเหล่านี้ล้วยมีบุญบารมีอันเป็นพื้นฐานที่ดีแล้ว ขาดแต่ก็ดวงจิตเท่านั้นที่ยังไม่สมบูรณ์พร้อมดังนั้น จึงได้จัดให้มีการทดสอบเป็นพิเศษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้พวกเขาได้เลื่อนขั้นอีกขั้นหนึ่ง เพื่อผลธรรมที่สมบูรณ์หากสามารถผ่านการทดสอบครั้งนี้ได้ ก็จะเป็นการเพิ่มภูมิปัญญาให้แยบคายยิ่งขึ้น
หยางเซิง : อ๋อ เป็นเช่นนี้นี่เอง
อรหันต์จี้กง : ต้องผ่าน “สวรรค์ทดสอบ” จึงจะพบพุทธแท้
ผู้อำนวยการ : ขอเชิญท่านทั้งสองโปรดนั่งดูข้างๆ นี้ กระผมจะเป็นผู้ออกข้อสอบ
หยางเซิง : ขอรับกระผม!
ผู้อำนวยการ : ท่านผู้ร่วมปฏิบัติธรรม วันนี้ท่านอรหันต์จี้กงได้นำคุณหยางเซิงแห่งสำนักเซี้ยเต็กตึ้งแห่งเมืองไถ่ตงมาที่นี่เพื่อชมสภาพการทดสอล ทุกท่านล้วนได้รับสุทธิบัตรมาแล้วย่อมมีรากธรรมล้ำลึก มีบุญบารมีมาก แต่ทว่านับตั้งแต่โบราณกาลมา การปฏบัติธรรมจนบรรลุมรรคผลต้องมีพิสูจน์ทำไมจึงพูดว่าพิสูจน์? เพื่อเป็นการยืนยันถึงความสะอาดบริสุทธิ์ นิสัยเที่ยงธรรม ผลบุญบริบูรณ์ มีปัญญาเหนือคนจึงจะสามารถสถิตอยู่บนสวรรค์แดนนิพพานได้ ฉะนั้นการจัดตั้งสำนักทดสอบที่นี่ ก็เพื่อทุกคนจะได้แสดงความปรีชาสามารถเพื่อเป็นการพิสูจน์ ตอนนี้ข้าพเจ้าจะใช้ช็อล์คสีขาวเขียน o ไว้บนกระดานดำ ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดเขียนคำตอบ และเพื่อนำเอาสภาพความจริงเผยแผ่ให้ชาวโลกได้รู้เมื่อแต่ละท่านเขียนคำตอบเสร็จแล้ว กรุณาอ่านได้ฟังอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้ลงพิมพ์ในหนังสือ “เส้นทางอริยะ” มีเวลาเพียง 2 นาที ไม่ต้องคิดให้มาก โปรดอ่านตามลำดับเลข...
เลขที่หนึ่ง : ข้าพเจ้าได้มาถึง “บ่อเก๊ก” (แดนไร้ขอบเขต) อันเป็นรูปลักษณ์ที่กลมบริสุทธิ์ ไม่สูญเปล่าที่ได้เดินมาทางนี้
เลขที่สอง : ข้าพเจ้าได้บรรลุ “ความกลมสมบูรณ์” ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัตธรรม
เลขที่สาม : ชั่วชีวิตคนมีแต่ความว่าง ไม่สามารถนำเงินกลับไปได้ (o) มีความว่างของดวงจิตเท่านั้น
เลขที่สี่ : ก็คือ o
เลขที่ห้า : ทั้งสี่ด้านไม่มีแม้แต่สิ่งเดียว เหลือเพียงเทปบันทึกภาพชีวิตเพียงหนึ่งม้วน (ร่องรอย)
เลขที่หก : ไปมือเปล่า กลับมือเปล่า สภาวะขณะนี้แน่แท้ที่สุดหน้าเผชิญกับวงกลมสีขาวบนกระดานดำ แม้ไม่มีกระจกเงาก้ส่องทะลุตนเองแล้ว ช่างว่างๆ เสียจริง
เลขที่ เจ็ด : ไม่ว่าจะมีมากหรือน้อย ขณะนี้ก็ได้คืนให้หมดแล้ว (วงกลม)
เลขที่แปด :บ่อเก๊ก คือกระจกเงาด้านหนึ่ง แม้จะไม่เห็นหน้าตาที่แท้จริงของมัน แต่ผู้คนทั้งสี่ด้านก็ใช้ดวงตาสองดวง oo จ้องจับมาที่พวกเรา ชีวิตคือวงกลม oเป็นการเขียนย่อแห่งบ่อเก๊ก เพราะฉะนั้น มนุษย์มิควรดูหมิ่นเรื่องราวต่าง ๆของมนุษย์
เลขที่เก้า : ทั้งหมื่นเรื่องล้วนบรรจุในถุงใบกลม บาปบุญคุณโทษก็รวมอยู่ในนั้น มิอาจหลีกเลี่ยงได้
เลขที่สิบ : ความฝันอันสวยหรู ตอนนี้กลายเป็นความว่าง o ข้างหน้านี้ข้าพเจ้ารับมันไว้หมด ถึงจะว่างแต่ข้าพเจ้าก็มีสิ่งที่มีที่ว่างว่าง ไม่ว่าง คนหลงบอกว่ามี คนบรรลุบอกว่าว่าง ติดยึดในความว่าง ความมี ล้วนวนอยู่ในความโฉดเขลา
เลขที่สิบเอ็ด : o สวยบริสุทธิ์ที่สุด คนไม่สามารถทำเรื่องใหญ่เป็นเรื่องเล็กทำเรื่องเล็กเป็นสูญ (o) ดังนั้น เรื่องทั้งหลายมักไม่สมหวัง แปดเก้าเรื่องในสิบเรื่องหากสามารถปลงตกทั้งแปดเก้าเรื่อง มิเป็นการดีงามทั้งหมดหรอกหรือ ?
เลขที่สิบสอง : วงกลมข้างหน้านี้ ถ้าหากลบทิ้งก็ไม่มีที่จะอยู่ใช่ไหม ? การทดสอบเป็นเพียงพิธี ข้าพเจ้าไม่สอบแล้วแต่ผู้ไม่สอบเท่านั้นจึงจะได้รับ o คะแนนอย่างแท้จริง (คือคะแนนกลมบริบูรณ์)
เลขที่สิบสาม : ข้าพเจ้ากลับคืนสู่ความว่างไม่นาน รู้สึกว่าไม่ค่อยจะธรรมชาติ o ข้าพเจ้าเป็นว่าสอนให้พ้าพเจ้าปล่อยวางเสียบ้าง
เลขที่สิบสี่ : ไม่มีหนี้เบากายเหนือร้อยก็ยังเป็น o ถ้าเทียบกับตั๋วยืมเงินที่มี 1 2 3 4 5 6 7 8 ก็ยังดี
เลขที่สิบห้า : เมื่อครั้งก่อนพูดถึง แดนนิพพานแห่งบ่อเก๊ก บนกระดานอย่างง่ายดายเช่นนี้แล้ว บรรลุแล้ว ! สิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นทั้งหมด ล้วนเป็นบ่อเก๊กทุกแห่งหน เกรงแต่ว่าตนเองจะเดินไม่ตรงเท่านั้น หากทุกอย่างสามารถกลมกลืน ไม่ขาดไม่เกิน แม้ในโลกมนุษย์ (โลก o ) ก็เป็นสวรรค์แดนบ่อเก๊กเช่นกัน
เลขที่สิบหก : ข้าพเจ้าคิดตั้งครึ่งวัน เขียนไม่ได้สักตัว ขอส่งกระดาษเปล่า
ผู้อำนวยการ : เวลาหมดลงแล้ว ทุกคนส่งกระดาษคำตอบที่ทุกท่านได้ยินเมื่อครู่นี้ล้วนแยบคายทั้งสิ้น เป็นการถึงธรรมเต็มเปี่ยม ข้าพเจ้าขอกล่าวสรุป
o ..........เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ พวกท่าน “ผู้ปฏิบัติธรรม” ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ปฏิบัติ “มนุษยธรรม” อย่างถูกต้องหรือไม่ อันวิชาความรู้ กุศลธรรม ความมีน้ำใจ ความกตัญญู ครอบครัว ญาติมิตร .... เรื่องราวของมนุษย์ต่างๆถ้าประาบผลสมบูรณ์ ย่อมมีความสุขเหมือนขณะมีชีวิตอยู่ ถ้าเช่นนั้นแดนปุถุชนก็ไม่ต่างไปกับแดนสงบสุขแห่งบ่อเก๊ก ถ้าหากเรื่องต่างๆ เหล่านี้ไม่สมบูรณ์ย่อมมีความละอายใจแน่ จะมีอุปสรรคมากมาย มารก็มาผจญอัน o นี้ก็จะกลายเป็น “วิญญาณหลง” ท่านก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากางกลมเล็กอันนี้ได้ (บ่อเก๊กน้อย) ถ้าเช่นนั้น จะย่างก้าวสู่บ่อเก๊กอันไพศาล....(o)นี้ได้อย่างไร ?
o......เป็นความว่างอันเวิ้งว้าง สามารถครอบคลุมทุกอย่าง มองทะลุหมื่นสิ่งมีและก็สามารถรวมความว่างจริงวงกลมอันเล็กๆ นี้ แต่ก็สามารถขยายใหญ่จนไร้ขอบเขตได้จึงถูกขนานนามว่า “บ่อเก๊ก”
พวกท่านมาถึงที่นี่ด้วยมืออันว่างเปล่า ยังต้องให้ท่านยืมปากกาจึงสามารถเขียนคำตอบได้ การปฏิบัติธรรมของหมายเลขสิบหกนั้นสูงส่งมาก ท่านคิดตั้งครึ่งวัน ไม่สามารถเปรียบเปรยได้ อันนี้ทำให้คน “ลิ้มรสไม่รู้หมด” ท่านยอมส่งกระดาษเปล่า อันนี้แสดงให้ชาวโลกได้รู้ว่า มหาสัจธรรมคือธรรมชาติ ดวงจิตก็กลมสมบูรณ์ เมื่อผ่านการกระทำของคน แต่งแต้มเติมสีบนจิตที่ประภัสสรดั่งถนนสวยใหญ่นี้ถูกแบ่งแยกเป็นตรอก ซอย ทำให้เกิดติดขัด มีมารผจญกลายสภาพเป็นทางที่เฉอะแฉะเป็นโคลน เดินเหินไม่สะดวกเหล่านี้ล้วนเป็นความผิดพลาดของคน ควรจะรู้ตัวสำนึกผิดเสียก็ยังสามารถกลับคืนสู่ความกลมสมบูรณ์ สะดวกสบายอย่างไร้ขอบเขต
การทดสอบครั้งนี้ ทุกคนล้วนได้ผลดีมาก ตอนนี้ขอให้ชาวโลกช่วยให้คะแนนแก่ท่านก็แล้วกัน
หยางเซิง : ที่ทดสอบไปนี้ล้วนมีปัญญาล้ำเลิศ กระผมคิดว่าทุกท่านล้วนได้รับอรหันตผลทำไมพวกท่านจึงมีปัญญาอันสูงส่งเช่นนี้นะ ?
ผู้อำนวยการ : ฮาฮ้า ! พวกเขาได้รับการคัดเลือกมาแล้วเพื่อเป็นการปลอบเตือนชาวโลก ดังนั้น จึงได้แสดงฝีมือพิเศษคุณหยางเซิงก็สามารถนำคำตอบของเขาออกเผยแผ่แก่สาธุชนทั่วไป เพื่อให้เขาได้รู้ถึงธรรมะอันแยบคาย จะได้ปฏิบัติธรรมแต่ก็ไม่ใช่ตอบอย่างกำปั้นทุบดิน ถึงตอนนั้นคงได้ (o)ศูนย์คะแนน
อรหันต์จี้กง : ขอบคุณท่านผู้อำนวยการ ที่อธิบายอย่างละเอียดวันหลังค่อยมานมัสการใหม่
หยางเซิง : ขอบคุณท่านผู้อำนวยการที่เปิดเผยพระธรรม อาจารย์ตามให้กลับสำนัก วันหลังค่อยมารับการอบรมใหม่ กระผมนั่งเรียบร้อยบนบัวอาสน์แล้ว ขอเชิญอาจารย์กลับสำนักเถอะ!
อรหันต์จี้กง : สำนักเซี้ยเต็กตึ้งถึงแล้ว หยางเซิงลงจากบัวอาสน์วิญญาณกลับเข้าร่าง