พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง
1.ความผาสุก คือ ใจปิติยินดี ใจขอบคุณ
2.ละเว้นการกล่าววาจาไม่สุภาพ อย่ามีปฏิกิริยาโต้ตอบ อย่าเปรียบเทียบกับผู้อื่น
3.ทำตามตำแหน่งหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
4.ความสุขก็คือ สามารถออมชอมกับคนที่มีความเห็นไม่ตรงกับเรา
5.ความสุขคือ อย่าได้ไปคิดเปลี่ยนแปลงผู้อื่น
6.กุญแจดอกสำคัญของการมีความสุขก็คือ ยอมรับชะตากรรมของตนเอง
8.ความสุขคือ อย่าให้มีความมักมากอยากได้เป็นกรรมสิทธิ์มากเกินไป
9.ความสุขคือ เป็นความสวยงามที่รับรู้ได้
10.เปลี่ยนแปลงนิสัยความเคยชินที่ไม่ดี
วันนี้เรามาอธิบาย ธรรมะแห่งความสุขกัน
ความหมายและขอบเขตของความสุข
ศิษย์เมธีทั้งหลายที่นั่งอยู่ในที่นี้ ล้วนเป็นญาติธรรมเก่ากัน ที่เพิ่งรับธรรมะไม่นานก็มีบ้าง แต่ไม่ว่าจะเป็นญาติธรรมเก่าหรือใหม่ก็ตาม ในเมื่อเราเป็นคนๆหนึ่ง แต่ละคนต่างมีเป้าหมาย มีความต้องการที่จะให้ชีวิตผ่านไปอย่างมีความสุขสมบูรณ์ ทุกวันนี้ผู้มารับธรรมะ หรือการมาไหว้พระไหว้เจ้า เชื่อว่ามีคนส่วนมากมีความคิดเช่นนี้รวมทั้งมีใจวอนขออธิษฐาน ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข รุ่งเรืองสมบูรณ์ ขอให้ครอบครัวสามัคคีปรองดองกัน ใช่หรือไม่? เพราะฉะนั้นเวในยที่ยังไมตื่นทั้งหลาย น้อยคนนักที่จะมารับธรรมะเพื่อขอให้ตัวเองหลุดพ้น ขอเพื่อพุทธจิตธรรมญาณของตน เริ่มจากการขอเพื่อตัวเองแบบที่นิยมกันทั่วๆไป (ในเมืองไทย) ฉะนั้นจิตใจของคนทั้งหลาย จึงมีความต้องการอยู่เย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรืองสุขกายสบายใจ ทั้งในครอบครัวและทางสังคมด้วย
ความสุขพื้นฐานที่เป็นเอกเทศนั้น คือครอบครัว พวกเธอเมื่อมีครอบครัวแล้ว สามีภรรยาก็เป็นพื้นฐานที่เป็นเอกเทศของครอบครัว ผู้ที่ยังไม่มีครอบครัว ก็อยู่กับพ่อแม่ บ้างก็มีครอบครัวที่อยู่ร่วมกันสามชั่วคน (พ่อ-ลูก หลาน) ครอบครัวต้องสามัคคีดีงาม ชีวิตจึงจะมีความผาสุก และสดชื่น
จะสร้างครอบครัวที่มีความผาสุก ไม่ใช่จะอาศัยแต่พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาดลบันดาลให้ ต้องอาศัยการบำเพ็ญด้วยการเข้าใจหลักสัจธรรมไปเข้าใจซึ่งกันและกัน เข้าใจสัจธรรมแห่งชีวิต สัจธรรมของจักรวาล เรียกร้องตัวเอง อบรมตนเอง ควบคุมตัวเอง สร้างความสุขด้วยวิธีนี้