ปัญญาเกิดได้ด้วยจิตใจที่เปิดกว้างไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนน้อมรับฟังทุกความเห็น ทุกคำติชม ไม่เลือกเขาไม่เลือกเรา ไม่เลือกชอบไม่เลือกชัง สามารถอยู่ร่วมกับทุกสภาวะได้อย่างกลมกลืนสอดคล้องนี่จึงเรียกว่าปัญญาที่ใสกระจ่างและกลมกล่อม อยู่ร่วมกับสรรพสิ่งได้เสมือนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ อยู่ในตัวท่านแล้วนะค้นหาให้เจอตัดทิ้งความยึดมั่นถือมั่นของตัวเองลงให้ได้ มองให้ออก เห็นให้ชัดเหมือนที่เราเห็นคนอื่นชัด เราจะต้องเห็นตัวเองให้ชัด เฉกเช่นเห็นคนอื่นชัดว่าเขามีดีเลวอย่างไร เมื่อไรที่เห็นตัวเองชัดกว่าเห็นคนอื่น เมื่อนั้นปัญญาได้ถูกจุดขึ้น เมื่อไรที่เห็นคนอื่นไม่มีสิ่งผิดเลย แต่เห็นแต่ตัวเรามีความผิดเต็มไปหมด เมื่อนั้นปัญญาเริ่มสว่าง เฉกเช่นเดียวกับพุทธะก็ได้กล่าวว่า เมื่อใดที่เห็นคนเป็นคน เท่านั้นยังไม่พอ ต้องสามารถเห็นคนแล้วแยกแยะได้ออกว่า คนมีดีมีชั่ว มีเลยมีร้าย แต่เท่านั้นยังไม่พอ ต้องสามารถก้าวให้พ้น ดี ชั่ว เลว ร้าย แล้วไม่เห็นอะไรในตัวคนเห็นเขาก็คือสรรพสิ่งดียวกับธรรมชาติในโลกนี้ เห็นเขาก็เหมือนสรรพสิ่ในใต้หล้านี้ซึ่งม่แตกต่างจากเรา หากเราทำได้เช่นนี้ ความทุกข์ไม่มีจากใจท่านเป็นแน่แท้ ถูกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยากใช่หรือไม่แต่ทุกท่านต้องเคยได้สัมผัสกันมาแล้ว เมื่อเห็นเขาเป็นเขา เรายังรู้สึกรักรู้สึกห่วงใช่หรือไม่ เมื่อเห็นเขามากขึ้น เรากลับมีทั้งรักทั้งชัง ทั้งห่วงหรือไม่ อยากห่วง แต่ถ้าเมื่อไรเราก้าวพ้นคำว่า รัก ชัง ห่วง ไม่ห่วง แล้วเห็นเขาเหมือนไม่เห็นเขา หรือเห็นเขาเหมือนเห็นเขา นั่นแหละคือการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในตัวเขาแล้ว สามารถเข้าใจในจิตใจเขาแล้วและถ้าเกิดรู้ถึงหนึ่ง อีกสรรพสิ่งก็เหมือนๆ กัน สรรพสิ่งในโลกนั้นต่างกันเพียงรูปลักษณ์ภายนอก แต่เนื้อแท้จริงแล้วเหมือนกันหมด ไม่แตกต่าง มนุษย์ทุกคนมีร่างกายจิตใจเหมือนกันจะต่างกันก็ตรงที่นิสัยความเคยชิน ใช่หรือไม่ และที่เราไม่สามารถก้าวพ้นได้ ก็เพราะว่าเราเห็นนิสัยความเคยชินมากกว่าเห็นตัวเขาเป็นเขา จิตของเรากลับถูกปรุงแต่ง ไม่สามารถเห็นธรรมชาติเดิมแท้ในตัวของสรรพสิ่งและสรรพชีวิตได้ จึงทำให้ใจของท่านไม่บริสุทธิ์ มีความยึดติด มีความแบ่งและมีความแตกแยก เมื่อจิตไม่รวมเป็นหนึ่ง การกระทำสิ่งใดย่อมยากลำบากมองสิ่งใดยอมไม่แจ่มชัดพอเข้าใจที่เราพูดบ้างไหม
พระโพธิสัตว์กวนอิม
สถานธรรมเหยินเต๋อ อ.เมือง จ.ลำปาง
1 มิถุนายน 2545
มนุษย์เอาความรู้และปัญญามาผนวกกัน อยากมีปัญญาก็ไปหาความรู้ นั่นเป็นปัญญาของคนทางโลก แต่ในทางธรรม การจะมีปัญญาต้องศึกษาให้มี ทั้งความรู้ มีคุณธรรม และมีการฝึกฝนปฏิบัติจริงจึงจะเรียกว่าเป็นผู้มีปัญญา หากว่ามีปัญญาอยู่เพียงคนเดียว ไม่นำออกไปปฏิบัติ มีปัญญาไหม รู้ว่ามีปัญญาจริง รู้แยกแยะออก แต่ถึงเวลาเห็นความเดือดร้อนของผู้อื่น เราก็ทำเฉยๆ คนนี้มีปัญญาไหม
พระอาจารย์จี้กง
พุทธสถานอิ๋งเซียน ดอนเมือง กรุงเทพฯ
7 พฤษภาคม 2547