ทุกคนที่ก้าวเข้ามาสู่อาณาจักรธรรม เมื่อได้มาศึกษาแล้วจะต้องรู้จักและเข้าใจ
ในการปฏิบัติตน ให้ถูกต้องตามพุทธวินัย มีเรื่องสำคัญอยู่เรื่องหนึ่งที่ทุกคนจะต้อง
เข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้เป็นอย่างดีด้วย คือ สามบริสุทธิ์ สี่เที่ยงตรง
องค์ประทานคุมสอบสามภูมิ ประทานพระโอวาทว่า
“ ขอบเขตหญิงชายแบ่งเป็นเกณฑ์ สามชัดเจนสี่เที่ยงตรง จงเคร่งครัด
ทั้งสีหน้าอาการรู้จำกัด ให้ฝึกหัดวาจาให้เที่ยงตรง “
หมายถึง ไม่ว่าจะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอน ต้องให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม
ประเพณี ที่ท้องถิ่นของเราปฏิบัติอยู่
สามบริสุทธิ์
1. ทำงานธรรมะและทำงานทางโลกให้ชัดเจน
2. เรื่องเงินทองต้องชัดเจน
3. เรื่องชายหญิงต้องชัดเจน
1. ทำงานธรรมะและทำงานทางโลกให้ชัดเจน
1.1 มาสถานธรรม มาเพื่อทำงานธรรมะในสถานธรรม พาญาติธรรม
มาสร้างบุญกุศล เคารพเทิดทูนอาจารย์ มี อาจารย์ถ่ายทอดธรรม อาจารย์บรรยาย
ธรรมและผู้แนะนำ – รับรอง ฯลฯ เมื่อมาถึงแล้ว ต้องทำแต่งานในสถานธรรม อย่าได้
นำเอาเรื่องของส่วนตัวมาพูด มาทำให้เป็นที่รำคาญนัยน์ตา รำคาญหูของผู้อื่น
1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างญาติธรรม อย่าให้เป็นเหมือนความสัมพันธ์
ทางโลก ต้องไม่มีความรักอย่างทางโลก ต้องไม่คุยกันเรื่องทางโลก ถ้าเป็นญาติก็ให้
ถือเสมือนเป็นญาติธรรม ปฏิบัติต่อกันให้เสมอเหมือนกัน ในสถานธรรม ทุก ๆ คนต้อง
เป็นเสมอญาติธรรมเท่า ๆ กัน ทั้งที่เป็นสามี ภรรยากัน ก็ต้องทำตนเป็นเหมือนญาติธรรมเหมือนกัน
1.3 ไม่เอางานธรรมะมาบังหน้า แล้วมาขายของ ของส่วนตัวในสถาน
ธรรม มาขายของในอาณาจักรธรรม ด้วยความเกรงใจ ญาติธรรมจำต้องรับซื้อไว้ อีก
ประการหนึ่งการขายของในสถานธรรม ทำให้แลดูเป็นเหมือนตลาดขายสินค้า ไม่ใช่
สถานธรรม เสียงพูดคุยกันดัง จนทำให้ผู้อื่นฟังธรรมะไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าจะฟังเรื่องอะไรดี
ฟังธรรมะดี หรือฟังเสียงขายของดี ทำให้กำลังใจผู้ฟังเสีย เบื่อสถานธรรม เลยไม่มา
ถ้าเป็นเช่นนี้ เป็นการสร้างบาปโดยไม่รู้ตัว ที่ทำให้ผู้อื่นหลุดออกไปนอกวงการธรรมะ
1.4 อยู่ในอาณาจักรธรรม ขณะออกงานธรรมะอย่าพูดคุยกันเรื ่องทาง
โลก อย่าหาเสียงหรือวิจารณ์งานทางการเมือง อย่าเอาความสนิทสนมกันทางญาติ
มาบอกงานเพื่อหวังผลประโยชน์ของตนเอง ถ้าจำเป็นให้พูดกันข้างนอกสถานธรรม
1.5 ถ้าต้องการให้ญาติธรรมช่วยเหลือ ในงานที่เป็นเรื่องเฉพาะตน
อย่าใช้ตำแหน่งงานทางธรรมมาเกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของตนเอง ต้องจ้างหรือให้ผล
ประโยชน์ตอบแทนที่เสียเวลามาทำงานให้ เพราะมาด้วยความรัก ด้วยความเกรงใจ
ต้องตอบแทนให้พอสมควรกับงานที่มาทำให้ และหาโอกาสไปตอบแทนด้วยการทำงาน
ให้กับผู้อื่นบ้าง
1.6 ต้องฝึกหัดทำงานในหน้าที่อื่น ๆ ใน 10 หน่วยงาน ให้เป็นหลาย ๆ
งาน เผื่อบางทีเจ้าของงานไม่อยู่ จะได้ช่วยทำให้ได้ ทำให้งานธรรมะไม่เสีย ส่วนในงานของตนเอง เมื่อทำแล้ว ต้องสำรวจดูด้วย ว่าดีหรือไม่ดี ต้องแก้ไขอีกบ้างหรือเปล่า
เพื่อการทำงานในคราวต่อไปจะได้ดีขึ้น
2. เงินทองต้องให้ชัดเจน
2.1 ถ้าต้องทำงานเกี่ยวกับการเงิน ต้องลงบัญชีให้ชัดเจน สามารถชี้
แจงและให้ตรวจสอบได้ทุกเวลา ต้องลงรายการรับบริจาคให้ละเอียดชัดเจน ลงบัญชี
รายจ่ายให้ชัดเจน ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ทำประกาศให้ญาติธรรมทราบเป็น
ครั้งคราว ไม่ควรจัดทำบัญชีแต่ผู้เดียว ควรจัดเป็นคณะกรรมการทำงานให้ถูกต้อง
2.2 ถ้าทำไม่ถูกต้อง ด้วยการเอาไปใช้เอง หรือทำหาย หรือบอก
จำนวนผิดไป เป็นบาปอย่างมหันต์ ดังพุทธพจน์ที่ว่า
“ เงินกุศลเพียงหนึ่งเฟื้องไพ ยิ่งใหญ่หนักกว่าพระสุเมรุ
เบียดบังฉ้อโกงลวงเล่น ต้องเกิดเป็นสัตว์เขาเอาใช้คืน “
ถ้าหากขาดจำนวนไป ผู้จัดทำต้องจัดหามาให้ครบถูกต้องตามจำนวนของตัวเลข อย่า
ปล่อยไว้จนผู้อื่นมาเจอ เป็นการไม่ดี
3. ชายหญิงให้ชัดเจน
3.1 การพูดจาต้องดังพอที่ผู้อื่นได้ยินด้วย ต้องพูดด้วยวาจาที่สุภาพ
ผู้อื่นได้ยินแล้วจะได้ไม่เอาไปติฉินนินทา ว่าพูดไม่เพราะ เวลาพูดต้องรู้ว่าขณะนี้เราพูดอยู่กับใคร พูดอยู่กับผู้ใหญ่ หรือพูดกับเด็ก หรือพูดกับบุคคลที่เท่ากันกับตัวเรา เวลา
พูดต้องมีหางเสียง มีครับ มีผม มีคะ มีขา จึงจะแลดูงามดี
3.2 ในการทำงานธรรมะ ต้องแบ่งแยกชาย-หญิงไว้ให้ช ัดเจน ไม่
รวมกัน ต้องนั่งแยกกัน ชายอยู่ข้างหนึ่ง หญิงอยู่อีกข้างหนึ่ง ขึ้น-ลงบันไดต้องแยกกัน
คนละข้างไม่ปนกัน เวลากราบพระต้องแยกกัน ใครกราบก่อน กราบหลัง ให้ดูที่อาวุโส
3.2 การใช้วาจาระหว่างชาย-หญิง ต้องบริสุทธิ์ไม่มีเรื่องของทางโลก
เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการพูดกันฉันท์ญาติพี่น้องที่ทำงานร่วมกัน
3.3 ชาย-หญิง อย่าอยู่ใกล้กัน เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตำหนิ เพื่อป้อง
กันความสงสัย ถ้าทำอะไรหละหลวมจะถูกนำไปวิพากย์วิจารณ์หรือนินทา
3.5 ปากบอกว่าฉันบริสุทธิ์ใจ แม้จะถูกนินทา ก็ยังประพฤติเหมือน
เดิม ทำไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข
สี่เที่ยงตรง
1. กายตรง
2. ใจตรง
3. วาจาตรง
4. ความประพฤติตรง
1. กายตรง
1.1 ต้องทำอะไรไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดในศีลทั้งห้าข้อ
1.2 เวลาเดินผ่านสวนหรือไร่นาของผู้อื่น ไม่ควรก้มหลัง หรือยื่นมือ
ขึ้นเหนือศีรษะ เพราะเวลามองแต่ไกลจะเห็นเป็นว่า ตั้งใจเก็บพืชผลของเขา เหมือนที่
ท่านขงจื๊อกล่าวว่า แม้แต่ตามองเห็นเองก็ยังผิดได้ เช่น ศิษย์ของท่านขงจื๊อหุงข้าวต้ม
ให้ท่านขงจื๊อ ขณะที่หุงข้าวอยู่ มีเศษผงตกจากหลังคาลงไปในหม้อข้าว ศิษย์ผู้นั้นจึงเอาช้อนตักออก เผอิญมีเมล็ดข้าวติดมาด้วย จะทิ้งก็เสียดาย เลยใส่ปากตนเอง พอดี
ท่านขงจื๊อเห็นเข้าพอดี และตำหนิว่า กินก่อนเจ้านาย ทางที่ดี ควรถามเหตุผลให้ดี
ก่อนแล้วค่อยลงโทษ
1.3 เวลาเข้าไปในบ้านของผู้อื่น อย่าไปอยู่ในที่ลับ หรือห้องน้ำ อัน
อาจทำให้เจ้าของบ้านสงสัยว่าไปทำอะไร ถ้าเกิดของเขาหายขึ้นมา เราจะกลายเป็น
คนไม่ดี ทำให้ไม่เป็นที่ไว้วางใจอีกต่อไป เมื่อเรื่องนี้รู้ไปถึงบุคคลอื่นแล้ว ตัวเราจะเป็น
ผู้เสียหายตลอดชีวิต
1.4 ให้รักตัวเอง ไม่ไปในสถานที่ ที่ผิดจริยธรรม เช่น ซ่องนางโลม
หรือตามบาร์ ฯลฯ ต้องไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผิดจริยธรรม (เรื่องฉุดคร่า เรื่องปล้น ฯลฯ)
1.5 ต้องไม่แต่งหน้าตา หรือแต่งตัวตามสมัยมากเกินไป อันอาจทำ
ให้ไม่เหมะสมในการมาสถานธรรม และอาจเป็นภัยต่อตนเองในอนาคต อาจถูกผู้ไม่
หวังดีทำอันตรายก็ได้
1.6 กิริยาอาการที่แสดงออก ต้องสำรวมอยู่ในพุทธระเบียบ ต้อง
หมั่นดูพุทธระเบียบอยู่เสมอ จะได้เข้าใจ และทำได้ถูกต้อง
2. ใจตรง
2.1 ไม่หลอกลวงเขาหากิน ไม่ขายของปลอม ให้ย้อนมองส่องดูตน
เองทุกขณะ ว่าได้ทำผิดอะไรไปบ้าง จะได้ไม่ทำซ้ำอีก และต้องฟังผู้อื่นพูดด้วย ถ้า
หากว่ามีผู้มาพูดเตือนตัวเรา เราต้องขอบคุณเขา แล้วรีบสำรวจตนเอง แล้วแก้ไขใหม่
ทันที
2.2 ยังมีความโลภอยู่อีกหรือเปล่า ถ้ามีอยู่จะทำให้เกิดความกลัดกลุ้ม
ทำให้ต้องพูดจาตัดพ้ออยู่บ่อย ๆ มาสถานธรรมรับประทานอิ่มแล้ว ก็แล้วกัน ไม่ควร
เอาของในสถานธรรมไป ถ้าจำเป็นควรสละเงินทำบุญบ้างเล็กน้อย เพราะของที่เขาเอามาทำบุญ เขาได้จบแล้วจบอีก จบเพื่อสะเดาะห์เคราะห์เภทภัยอันตรายให้หายไป เมื่อเราเอาของมาใช้ หรือมารับประทาน ก็เท่ากับเราเอาเคราะห์ภัยมาใส่ตัวเรา
2.3 ยังมีใจชอบคิดเปรียบเทียบระหว่างตัวของเรากับผู้อื่นอยู่อีกหรือไม่
ยังเห็นใครดีไม่ได้ ชอบอิจฉาริษยา ยังมีอยู่อีกหรือเปล่า ถ้ายังมีอยู่ต้องรับขจัดให้สิ้นไป ในมหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร สอนให้เราทำตนในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้เรา
ทำเหมือนตายไปแล้ว ถ้าตายแล้ว ในจิตใจของเราจะไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลย
2.4 ตัวเราเคยได้รับการละเลยจากผู้อื่น หรือไม่ได้รับมารยาทตอบ ทำให้ใจยังมีความแค้นเคืองอยู่หรือเปล่า ถ้ามีต้องรีบให้อภัย เราต้องทำใจเราให้เหมือนฟ้า เหมือนดิน ให้ทุกอย่างแก่ทุกคนได้เท่าเทียมกัน ให้ได้ทุกอย่างตามอัตภาพ
ไม่มีความโกรธแค้นเคือง เหมือนฟ้าเหมือนดินที่ไม่เคย โกรธใครเลย มีแต่ให้อย่างเดียว
2.5 ตัวเราเองยังมีความหยิ่งจองหองในใจอยู่หรือเปล่า ตัวของเราขาด
ความใจกว้าง ไม่ให้อภัยแก่ผู้อื่น โดยคิดว่าตัวเราเองถูกเสมอใช่หรือเปล่า ถ้ามีต้องรีบ
แก้ไข เราต้องคิดว่า ผู้มาทีหลังอาจมีคุณธรรมสูงกว่าเราก็ได้ ถ้าเราคิดได้อย่างนี้ อาจ
ทำให้เราหายหยิ่งผยองลงได้ การให้อภัยแก่ผู้อื่น เป็นสิ่งดีที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เมื่อ
ให้แล้ว มีแต่ได้กับได้ ตัวเราเองก็เป็นสุข ผู้อื่นก็เป็นสุข พบหน้ากันวันหลังยังพูดคุยกันได้
2.6 ต่อตนเองและเรื่องราวต่าง ๆ ยังไม่ทันเข้าใจให้ถ่องแท้ก็สงส ัยเอา
ไว้ก่อน คิดไปในทางที่ไม่ดีไว้ก่อน แล้วใช้ความคิดของตนปล่อยข่าวลือออกไป ทำให้
เกิดความเสียหาย ถ้าผู้อื่นเขารู้เข้าแล้ว ตัวเองแหละจะเสียหายต่อภายหลังมาก
3. วาจาตรง
3.1 ให้พูดแต่เรื่องของตนเอง พูดแต่พอสมควร อย่าให้มากไป ไม่
ควรพูดเรื่องของคนอื่น การพูดเพ้อเจ้อ พูดทั้งวัน เมื่อหมดเรื่องของตนเองแล้ว ก็จะ
พูดแต่เรื่องของชาวบ้าน การพูดจริงเป็นสิ่งที่ดี แต่การพูดตามความจริง โดยเอาเรื่อง
ของสามีไปเล่าให้ภรรยาฟัง เป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะอาจทำให้เขาต้องทะเลาะเบาะแว้งกัน
เพราะเราเป็นสาเหตุ ทำให้เป็นที่ระแวงแคลงใจอยู่ร่ำไป ไม่มีที่สิ้นสุด อาจทำให้เรื่องที่
ไม่เป็นเรื่อง กลายเป็นเรื่องใหญ่ไปก็ได้
3.2 คิดเสียก่อนว่าเรื่องใดควรพูด ค่อยพูด เรื่องใดที่พูดแล้วทำให้เกิดความเสียหาย อย่าพูด แม้เป็นเรื่องจริงก็ไม่ควรพูด ยิ่งเป็นเรื่องหลอกลวงด้วยแล้ว
ยิ่งไม่ควรพูด
3.3 อย่าทำตนเป็นคนปากร้าย พูดจาหยาบคาย ด่าคนอยู่เสมอ
ด่าจนเกิดความเคยชิน เลยทำให้พูดไม่เพราะ ผู้อื่นฟังแล้ว ถ้าเขาไม่รู้จักเรามาก่อน
เขาจะหาว่าเราเป็นคนร้ายกาจไม่น่าคบ
3.4 อย่าทำตนเป็นคนลิ้นสองแฉก นินทาว่าร้าย ยุแหย่ผู้อื่นให้เขา
แยกกัน การทำให้คนโกรธกันเป็นสิ่งไม่ดี ยิ่งเป็นเรื่องของสามี ภรรยาด้วยแล้ว ยิ่งไม่ควร การทำให้เขาแยกกัน เป็นความบาป เป็นสิ่งไม่ดี ควรพูดให้เขาปรานีประนอมกัน
ยอมความกัน ไม่แยกจากกัน
3.5 อย่าทำตนเป็นคนชอบประจบสอพลอ สรรแสร้งแต่งคำทำให้
ผู้อื่นพอใจตนเอง แต่คำพูดที่พูดไปแล้ว เป็นการให้ร้ายแก่ผู้อื่นทางอ้อม เป็นการเหยียบบ่าเพื่อน เพื่อเอาคุณงามความดีเป็นของตนเอง การทำเช่นนี้ ให้คุณแก่ตนเอง
ชั่วคราว แต่บาปกรรมที่ทำไว้ จะทำให้ชีวิตของเราไม่เจริญรุ่งเรือง
3.6 อย่าพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ พูดในเรื่องที่ไม่มีเหตุผล พูดเรื่องนี้
แล้ว ก็หาเรื่องอื่นมาพูดต่อ ทำให้เสียเวลาทำการทำงาน เสียเวลาของตนเอง และทำ
ให้ผู้อื่นเสียเวลาด้วย
3.7 อย่าพูดเสียดแทงทำร้ายผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง การพูด
ฝากผู้อื่นให้ไปบอกแก่ผู้ที่เราโกรธเป็นสิ่งไม่ดี อันอาจทำให้ผู้ที่เราพูดฝากไปกลา ยเป็น
คนพูดเสียเอง ถ้าเกิดการยืนยันหาตัวผู้พูด ก็ทำให้ผู้ที่รับฝากเราไปเกิดความยุ่งยาก
แต่ตัวผู้รับฝาก ถ้าฟังแล้ว เก็บเงียบไว้ไม่พูดต่อ ก็จะเป็นการดี จะได้ไม่มีเรื่องทำให้เกิด
ความยุ่งยากในภายหลัง
3.8 ไม่ควรรับปากพล่อย ๆ รับงานแล้วไม่ทำ หรือทำไม่ได้
ไม่มีวาจาสัตย์ เมื่อรับงานมาแล้ว ต้องทำให้สำเร็จโดยเร็ว อย่าปล่อยให้ล่าช้า เนื่อง
จากที่เขาวานทำก็เพราะ อยากได้เร็ว ๆ ถ้าเราไม่ทำก็อย่าไปรับเอามาทำ
3.9 เป็นคนเจ้าอารมณ์ มีโมโห ใช้อารมณ์ไปทั่วทุกแห่ง ใช้โทสะวาจาทำร้ายคน ถ้าเป็นตัวเราเอง ควรจะหัดระงับอารมณ์ไว้ อย่าปล่อยให้วู่วาม ฉุนเฉียว คนโมโหร้าย ถ้ากินเจแล้ว จะทำให้จิตใจสงบเยือกเย็นลง ความเร่าร้อนภาย
ในใจก็จะน้อยลงไป ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะพลอยหายไปด้วย การเจ็บป่วยบางโรคมา
จากที่เราทำตัวเราเอง ด้วยความหยิ่งผยอง ด้วยความร่ำรวย ด้วยความที่มีตำแหน่งงานใหญ่โต เลยทำให้มองเห็นผู้อื่นต่ำต้อยกว่าตน ควรแก้ไข
4. ความประพฤติตรง
4.1 ต้องเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน
4.2 ต้องเคารพผู้อาวุโส
4.3 ต้องเคารพกฎระเบียบ ข้อบังคับ ทั้งปณิธาน 10 และพุทธวินัย 15 ข้อ
4.4 ต้องประพฤติตนเป็นคนโปร่งใส ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง
4.5 การพูดของเรา อย่าให้คำพูดของเราไปละเมิดสิทธิประโยชน์ของผู้อื่น
4.6 จะทำการใด อย่าทำตนเป็นคนเห็นแก่ตัว มีใจคอคับแคบชอบเอาเปรียบผู้อื่น
4.7 อย่าทำบุญจอมปลอม ทำอย่างขอไปที ขาดความศรัทธาจริงใจ