ธรรมเอย หลักของจิตเป็นมูลกระทำ ท่านจังจื้อได้รับถ่ายทอดจากท่านขงจื้อและถ่ายทอดต่อไปยังท่านจื่อซือ ท่านจื่อซือรับแล้วถ่ายทอดต่อไปยังท่านเม่งจื้อ ธรรมนั้นเป็นเอกธรรมมรรคคือหนึ่งแทงตลอดในคัมภีร์มหาศาสตร์ (ไต้ฮักตงย้ง) หมวดทางสายกลางบทที่หนึ่ง ความหมาย ล้วนกล่าวถึง หลักของธรรม เพื่อเป็นบทสั่งสอนแก่ชนรุ่นหลังเพื่อสืบสานอริยศาสน์ให้ยาวนาน ธรรมของท่านขงจื้อนั้น ไม่ให้ใจตกต่ำตั้งใจตั้งชีวิต อันเป็นสาระสำคัญของธรรม
เมื่อชาวโลกได้ศึกษาหลักธรรมนั้นจนถึงที่สุดแล้ว ว่าหลักธรรมนั้นเหมาะกับผู้ไม่เห็นแก่ตัว ความต้องการเกิดจากอารมณ์กระทบบัณฑิตชอบทรัพย์ต้องได้ด้วยธรรม บัณฑิตจะกังวลในธรรมไม่กังวลความจน บัณฑิตแสวงธรรมไม่แสวงกิน บัณฑิตโปร่งใส ปุถุชนวิตกกังวลเรื่อยไป
ในโลกนี้คนอายุร้อยปีน้อยนัก แต่ก็กังวลวางแผนพันปี คนที่ไม่แสวงหาดีกว่าคนบริจาคให้ทานรักษาศีลดีกว่ากินเจจิตมีสมาธิต้นผักก็หอมมีธรรมทุกอย่างก็สงบสุข การปฏิสันฐานต่อโลกต้องให้อภัย เรื่องต่างๆ จบลงด้วยความผิดจากภายใน ความสงบเกิดได้คล้อยตามความเห็นคนส่วนใหญ่ อย่าใช้ความเห็นของคนๆ เดียว อย่าดูแต่ความบกพร่องของคนอื่นอย่าถามความไม่ดีของเขา อย่าพูดถึงความผิดของคนอื่น อย่าโพนทะนาความผิดคนอื่น อย่าใส่ร้ายคนอื่น อย่าเกลือกกลั้วหาภัย ให้สำรวจตัวทุกวันให้ขาวสะอาด อย่าทำให้ฟ้าดินมัวหมอง พยายาม! ระมัดระวังรักษานั้นคือสั่งที่อาตมาคาดหวังไว้