mindcyber 2 years ago

ฆราวาสกับผู้ออกบวช

พระพุทธจี้กง

         มีคนคิดว่าการเรียนพุทธธรรมต้องออกบวชจึงสามารถสำเร็จได้ มีคำกล่าวว่า “วางมีดลง สำเร็จพุทธะ” บอกให้รู้ว่าเป็นฆารวาสเรียนพุทธธรรมก็สามารถสำเร็จได้เช่นเดียวกัน ฆราวาสสำเร็จพุทธะมิใช่มีเพียงคนเดียวแต่มาเปรียบเทียบกันแล้ว ผู้ออกบวชจะมีอุปสรรคน้อยกว่ามาก ฆราวาสผู้บำเพ็ญต้องวุ่นวายอยู่กับงานทางโลก ทำให้ใจที่มีอุดมคติได้รับการกระทบแต่ถ้าสามารถทำใจนิ่งเฉย ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันกับผู้ออกบวช จากตัวอย่างเช่นท่านอาจารย์มหาพั้ง ท่านได้โปรดคนเลวให้ได้ดีจำนวนมาก ท่านมหาพั้งมีชื่อว่า อุ่ง ธรรมฉายาว่า เต้าเฮี้ยนเป็นลูกเศรษฐี ครอบครัวรับราชการบิดาเป็นเจ้าเมือง มีทรัพย์สมบัติมาก เป็นเพราะอยากเป็นพุทธะ จึงบริจาคทรัพย์สมบัติไปมาก เหลือเพียงเล็กน้อย อยู่เป็นฆราวาสบำเพ็ญทั้งสองสามีภรรยา ที่สุดสำเร็จมหาธรรม สุดท้ายสำเร็จเป็นพุทธะ เมื่อสำเร็จมรรคผลแล้วก็ยังมีคติพจน์จำนวนมากเหลือไว้ให้คนรุ่นหลัง ตอนนี้ก็จะเขียนส่วนที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นฝึกเรียนพุทธธรรมนำไปใช้ได้

          1.ใจเฉยก็คือสมาธิ สภาวะเฉยก็คือฌาน นิ่งเฉยไม่หวั่นไหว มหาไม่ใช่ตรงกลางหรือข้างๆ หากใจสามารถไปถึงได้ ก็อย่างที่เรียกว่าบัวกลางไฟ

          อธิบาย:  เฉยก็คือไม่ไหว ไม่ครุ่นคิดไปกับสภาวะ นิ่งเฉยเหมือนมั่นคง จึงพูดว่าใจเฉย ขอเพียงใจเฉยนั่นคือเข้าสู่สมาธิ  สภาวะเฉยคืออยู่ในสภาวะอะไรก็อยู่ในสภาวะอย่างนั้น คืออยู่ในสภาวะอันนี้ไม่คิดออกไปจากสภาวะ

          2.ไม่โลภดีกว่าให้ทาน ไม่หลงดีกว่าทำสมาธิ ไม่โกรธดีกว่าภือศีลไม่คิดคำนึงดีกว่าแสวงหาโอกาส ก็พ้นไปจากปุถุชน กลางคืนก็นอนหลับดีหน้าหนาวก็นั่งผิงไฟ ไฟจริงไม่มีควัน ไม่ถือความมืด ไม่แสวงหาบุญกุศลเดินเหินตามสะดวก ล้วนเป็นปัญญาญาณ หากสามารถฝึกแบบนี้ได้บุญกุศลไร้ขอบเขต

          อธิบาย:  ผู้ที่สามารถให้ทานย่อมไม่โลภ การนั่งสมาธิก็เพื่อรวบใจไว้ หากไม่คิดฟุ้งซ่านก็เปล่าประโยชน์ที่จะนั่งสมาธิ ถึงแม้จะถือศีลได้ครบบริบูรณ์ แต่พอโกรธก็เหมือนจุดไฟเผาศีล สุดท้ายกลายเป็นความขุ่นข้องหมองมัว ไม่ครุ่นคิดใจก็ใสเหมือนธารน้ำ ไฉนจึงต้องไปแสวงหาโอกาส ปุถุชนทางโลกก็คือทุกข์กังวลไม่สิ้นสุด หากเข้าใจกฎแห่งกรรม ก็จะเป็นสุขและยอมรับความทุกข์โดยไม่กล่าวโทษ มีความสงบสุขก็หลับได้สบาย ก็จะไม่ใจแบ่งแยกบาปบุญดีชั่ว แม้จะเป็นหญิงโสเภณีทำไมจึงต้องถือสา ตั้งใจบำเพ็ญอย่างเงียบๆ ไม่ต้องมีใจไปแสวงหาบุญกุศล ไม่แสวงหาบุญวาสนา ให้เป็นไปตามแต่ดวงชะตา นั่นคือความเป็นมหาปัญญา

          3.ไม่ครุ่นคิดเป็นวัดใสเย็น ขันธ์ว่างคือ ห้าวิหารแท้ ต่อสภาวะใจไม่แปดเปื้อน มีกามารมณ์ตายด้าย หลักธรรมล้ำลึกก็จะปรากฎชัด เมฑทมึนก็จะเปิดกว้าง จักได้ตาทิพย์ ละรูปเห็นตถาคต หากฝึกได้ตามที่เรียนไม่เคลื่อนไหวก็พ้นจากสามเคราะห์

          อธิบาย:  ใจไม่ครุ่น่คิดย่อมจะใสเย็นแน่ เมื่อขันธ์ทั้งห้าว่างเปล่าก็เหมือนได้ขึ้นสู่วิหารห้า ไม่ติดอยู่กับสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นบาปบุญสวยงามหรืออัปลักษณ์ ก็ไม่เกิดสภาวะ คือใจไม่สกปรก เมื่อเกิดกามารมณ์ขึ้นใจก็เหมือนตายด้าน ไม่ตกอยู่ในอารมณ์ทั้งเจ็ด อย่างนี้จะมีเรื่องอะไรนอกเหนือกายอีก ขอเพียงมีใจสงบ สัจธรรมล้ำลึกก็เกิดขึ้นจากใจ วิถีธรรมทั้งหลายก็อยู่เฉพาะหน้า ก็เหมือนกับก้อนเมฆเป็นก้อนๆ บนท้องฟ้ากว้าง เมฆเกิดจากท้องฟ้า สรรพธรรมไร้ขอบเขตก็กระจายอยู่เต็มจักรวาล ไม่แน่เสมอไปว่าต้องได้อภิญญา มีตาพย์จึงจะสำเร็จเป็นพุทธะ รูปต่าง ๆ ไม่ทำให้ยึดติด หากสามารถพ้นจากรูปต่างๆ ได้ ไม่เกิดความคิดขึ้น ก็จะพบตถาคต โดยไม่ต้องขยับเคลื่อนไหวก็จะสามารถพ้นจากเคราะห์ทั้งสาม เคราะห์ทั้งสามคือทางสามแพร่ง

          4.ตะวันหมุนสั้นลง กาลเวลาจากไปรวดเร็ว ร่างกายเหมือนกับฟองในน้ำ ชีวิตเหมือนเทียนต้องลม ควรระมัดระวังงูทั้งสี่เสมอ ใส่ใจขจัดพิษทั้งสาม

          อธิบาย: ชีวิตคนมีกี่มากน้อย ชะตาชีวิตแค่สั้นๆ เพียงหมุนกะพริบก็อนิจจังเสียแล้ว ควรที่จะว่างจากอาตมาลักษณ์ บุคลาลักษณ์ สัตวาลักษณ์และชีวลักษณ์ ถ้าลักษณะทั้งสี่ยังมีอยู่ จิตเดิมก็เผยปรากฎออกมาได้ยาก

          ดังนั้นลักษณะทั้งสี่ก็คืองูทั้งสี่ เพราะมันมีพิษ กีดขวางโพธิและความวิริยะ ขณะเดียวกันก็ต้องยอมเจ็บปวดบำเพ็ญขจัดดับโลภโกรธหลงอันเป็นพิษร้ายทั้งสามให้หมดสิ้น ปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยไป ก็จะสามารถสำเร็จเป็นพุทธะทันที

          โศลกอันแรกที่กล่าวมาจะต้องนิ่งเฉยไม่หวั่นไหว ใจสงบหยุดครุ่นคิดโศลกอันที่สองอธิบายถึงการฝึกพุทธะอยู่กับบ้าน ถึงแม้ยังไม่ได้ถือศีล ทำฌาน สมาธิ หากสามารถปฏิบัติได้เองโดยสะดวกก็จะเหมือนกับผู้ออกผนวชถือศีลสามารถสำเร็จพุทธะได้ โศลกอันที่สามก็ต้องบำเพ็ญบารมี เริ่มจากการหยุดครุ่นคิด ทั้งรูปและความว่าง ล้วนไม่เกิดความคิดขึ้น พั้งไท้ซือสามารถเข้าถึงการหยุดความคิด และละรูปได้ ย่อมเข้าถึงที่แยบยล ส่วนโศลกอันที่สี่นั้นก็คือการว่างจากลักษณะทั้งสี่ใจคนย่อมติดอยู่จึงยากต่อการทำให้ว่างจากลักษณะทั้งสี่ได้ เมื่อยึดติดในรูปลักษณะแล้ว ถึงแม้จะสำเร็จทั้งหมดได้ก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะที่สิ้นสุดได้

          สรุป โศลกทั้งหมดของอาจารย์พั้งไท้ซือ ล้วนเป็นการเปิดธัมจักษุอีกทางหนึ่ง โดยใช้หลักการวัชระ และแนวปฏิบัติของสัก ธรรมปุณฑริกสูตร มีใจสงบหยุดความคิด การรวบใจมีศิลป์ ดังนั้น จึงสามารถบำเพ็ญอย่างฆราวาสจนสำเร็จมรรคผลได้

          ด้วยวิถีธรรมแบบง่ายๆ นี้ ก็สามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้ เช่นนี้แล้วไฉนจึงต้องเที่ยวไปจุดธูปไหว้พระไปแทบทุกแห่งหน

0
641

แก้หนี้กรรมด้วยการสวดพระนาม

1654918052.jpg
mindcyber
1 month ago

ข้อ 4. ความสุขก็คือ สามารถออมชอมกับคนที่มีความเห็นไม่ตรงกับเรา

1654918052.jpg
mindcyber
2 years ago
น้ำพริกผักจิ้มเจ

น้ำพริกผักจิ้มเจ

1654918052.jpg
mindcyber
2 years ago
video

เพลงพระโอวาทหวังศิษย์จะก้าวหน้า

admin
mindcyber
2 years ago

ไว้ชีวิตเขาเถิด

1654918052.jpg
mindcyber
1 year ago