พระวิสุทธิเทพหลือโจ้ว
ในวิถีชีวิตของมนุษย์ ไม่มีใครที่ไม่ “แสวงหา” เช่นนี้การ “แสวงหา"”ย่อมให้ผลทั้งสมหวังและผิดหวัง และก็ไม่มีใครสามารถบังคับควบคุมได้ ถ้าแบ่งการแสวงหาเป็น “ภายนอก” กับ “ภายใน” ดังนั้ผลของการแสวงหาก็ต่างกัน อาทิเช่น แสวงหาชื่อเสียง ทรัพย์สิน เช่นนี้การประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับบุคคล ไม่สามารถบังคับได้ ส่วนการแสวงหาภายใน อาทิเช่น การสำเร็จธรรม สำเร็จคุณธรรม เป็นต้น เมื่อเข้าใจเหตุผลระดับนี้แล้ว ก็จะรู้ว่าการแสวงหา “ภายนอก” ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับการจัดการของคน เมื่อการแสวงหาล้มเหลว กว่าครึ่งจะโทษฟ้าโทษคน ส่วนการแสวงหา “ภายใน” เมื่อล้มเหลว ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับความขยันของตนเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับภูมิจิตว่าสูงหรือต่ำ แนวทางถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งวิธีถูกต้องหรือไม่ ล้วนเป็นความสำคัญทั้งสิ้น เช่นการฝึกฌานแสวงหาธรรม การทุ่มเทเวลาแม้มีแรงมุ่งมานะก็ไม่สามารถประจักษ์แจ้งได้ ปัญหาก็อยู่ที่วิธีการแล้ว โดยเฉพาะความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น การจัดการทั้งหมดขึ้นอยู่ที่ตนเอง เพราะฉะนั้นก็ต้องโทษตนเองเท่านั้น จะไปโทษผู้อื่นไม่ได้ รวมความว่า หากการแสวงหาเอาภายนอกเป็นการละทิ้งตนเองไปตามผู้อื่น จะต้องปรับตัวเองให้เหมาะสมกับคนอื่น ตลอดจนการสมรู้ร่วมคิดเอาหน้า อะไรก็ตามที่แสวงกาจากผู้อื่นหรือแสวงหาเอาจากภายนอกไม่มีหรอกที่จะไม่ต้องประจบสอพลอ ผลที่สุดคือเอาตนเองไปตามใจผู้อื่น
คนที่แสวงธรรม แสวงการศึกษา หรือขณะการฝึกศิลปกรรม มีน้อยมากที่จะไม่ผิดพลาด ยากยิ่งกว่าการมีความตั้งใจมุ่งมานะอีก เพราะฉะนั้นต้องมีการสำรวจตนเองทั้งค่ำเช้า เพื่อไม่ให้การแสวงหาผิดพลาด หลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากแนวทางและวิธีการ การผิดพลาดวิธีการเป็นการสูญเปล่าการปฏิบัติ บ้างก็ปล่อยสบายตามมาร ยิ่งต้องระมัดระวังให้มีสติ ต้องลงแส้ที่ใจตนเอง เหมือน “การแสวงหาการปล่อยวางใจ” ของท่านเมิ่งจื่อ “สำรวจใจตัวเอง 3 ครั้งต่อวัน” ของท่านจังจื่อ “จู่โจมโจรกลางใจ” ของท่านเฮ้งเอี๊ยงเม้ง ล้วนต้องลงแรงปฏิบัติที่ “ใจ” ท่านหลื่อคุงกว่าวไว้มีว่า “ใจหนึ่งเบาสบาย เรื่องต่าง ๆ ไม่เก็บงำ ใจหนึ่งเผลอเลอ เรื่องต่าง ๆก็ไม่เข้าหูตา ใจหนึ่งติดยึด เรื่องต่าง ๆก็ไม่เป็นธรรมชาติ”
พื้นฐานทั้งหลาย ล้วนอยู่ที่ใจ การประจักษ์ธรรมยิ่งต้องติดตาม “ใจ”ไปแก้ไข “ใจคือพุทธ” หลักธรรมเป็นเช่นนี้ ตนเองอย่าได้เกียจคร้าน ต้องเน้นหนักลงแส้ควบคุมให้อยู่ในวิธีที่ถูกต้อง นี้คือ “การรักษาใจ” เพื่อการบรรจุฌาน
สิ่งที่มนุษย์ต้องการและการกระทำล้วนได้รับการกำหนดและสั่งการจากจิตใจทั้งนั้น เพราะฉะนั้น “ใจ” จึงได้ชื่อว่าเป็นนายของกาย อย่างเมื่อเกิดความคิดขึ้นใจวอกแวกดั่งวานร สับสนดั่งม้าพยศ ความคิดต่อเนื่องดิ้นรนไม่หยุด หากไม่มีการกดข่มก็ไม่มีทางระงับ เฉพาะอย่างยิ่งระหว่างที่ความคิดกลับไปกลับมา ฟุ้งซ่านฮึกเหิม ชั่วแวบความคิดชั่วร้าย เหมืนกับโคมไฟบนหลังม้าที่กำลังวิ่ง ประเดี๋ยวลุกโพลงประเดี๋ยววูบดับ ดับ ๆ ติด ๆ เพราะฉะนั้น การสำเร็จเป็นอริยะของจิตวิทยาการบรรลุธรรมของชาวเซน ไม่มีหรอกที่ไม่เริ่มจาก “การรักษาใจ”
ท่านหลือคุงกล่าวว่า “ความคิดหนึ่งเก็บรวม หมื่นกุศลมาพร้อมความคิดหนึ่งปล่อยฮึกเหิม ร้อยเลวร้ายทะยานใส่” เพราะว่าปล่อยใจให้ฮึกเหิม หลีกไม่พ้นที่ต้องพบกับภัยเคราะห์ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความหวังที่จะเข้าสู่ธรรม
การบรรลุธรรมของนิกายเซน ก็คือใจที่ไม่แปดเปื้อน ไม่ทำแบ่งแยกรอคอยเวลาแห่งบุญวาระที่จะได้รับการบรรลุ ถึงแม้ไม่เน้นในหลักธรรม ไม่เน้นการปฏิบัติ แต่การปฏิบัติอันเป็นพื้นฐาน ก็ยังอยู่ที่การ “รักษาใจ” ด้วยเหตุนี้ การประจักษ์เข้าใจในธรรม จะไปยึด “รูป” ยึด “ความว่าง” ก็ไม่ได้ มิฉะนั้นแล้วก็จะเกิดใจแบ่งแยก แย่งปุถุชนและอริยะ เอารูปภูมิเป็นสัญลักษณ์ของมายา โดยไม่รู้ว่า “รูปก็คือความว่าง” เอาสูญญภูมิเป็นของเที่ยงแท้ โดยไม่รู้ว่า “ความว่างก็คือรูป” ต้องรอคอยจนกว่าจะประจักษ์แจ้งว่า “รูปความว่างเป็นหนึ่งเดียวกัน” ธรรมไม่มีไม่อยู่แล
ดังกล่าวกันว่า “ธรรมไม่ห่างไกลคน” “คนสามารถขยายธรรม” ต้องมี “ใจปกติ” มารวมกับธรรม อันที่จริงแล้วความสามารถในการมี “ใจปกติ” มารวมกับธรรมนั้น ไม่ใช่การปฏิบัติแค่หนึ่งวันสองวัน ถ้าหากการอบรมจิตใจถึงสภาวะที่ละผิดถูก ปุถุอริยะ บาปบุญได้แล้ว บริสุทธิ์ไม่เปรอะเปื้อน นั่นแหละจึงสามารถรวมกับธรรมได้ จึงจะไม่หลงอยู่กับฝั่งของ “รูป” หรือของ “ความว่าง” ทั้งสองฝั่ง ขั้นต่อไปก็ให้ละจาก “รูป” เข้าสู่ “ความว่าง” จาก “ปุถุ” เข้าสู่ “อริยะ” เพราะว่าแม้ “รูป” “ความว่าง” จะเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ก็ยากที่จะจดจำ ดังคำที่กล่าวว่า “แยกหิมะในแป้งง่าย” “แยกหมึกในถ่านยาก” เพราะธรรมนั้นซ่อนเร้นเห็นได้ยาก หากใจยังไม่สงบมีบารมีสูง แสงใจสว่างไสวแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้
การปฏิบัติการ “รักษาใจ” การทำให้ใจธรรมแน่วแน่ ไม่ร่วงสู่ปุถุชน ได้รู้ไม่ละเมิดข้อศีล สิ่งที่ประจักษ์บรรลุแล้ว ก็พร้อมที่จะให้ผู้อื่นทดสอบได้ ยิ่งกับมรรคผลยิ่งต้องสนใจที่ต้องทำให้ใจสามารถใสะอาดเป็นธรราชาติล้วนเป็นกุศลโดยไม่ทำให้ใจธรรมตกต่ำ ถ้าหากปรารถนาประจักษ์ธรรมแล้วละเลยขั้นตอนปฏิบัติแล้วหวังบรรลุธรรมก็คงไม่ต่างไปกับการหาปลาบนต้นไม้ แต่คนส่วนใหญ่ที่บำเพ็ญทางเซน ส่วนมากไม่สนใจกับข้อศีล แต่สนใจลงแรงปฏิบัติด้านจิต ถึงแม้การปฏิบัติจะตรงแม่น วิธีการจะมีผลมากที่สุดก็ตามแต่ก็มักเข้าใจผิดในข้อธรรมของอาจารย์เว่ยหลางว่า “เมื่อจิตสงบถือศีลให้เหนื่อยทำไม ปฏิบัติตรงแล้วทำฌานทำไม” ผู้ค้นคว้าเรื่องฌานต้องเพิ่มความสนใจ นี่คือจุดที่สำคัญที่สุดของเซน
คำพูดของท่านขงจื่อที่ว่า “60 แล้วรื่นหู 70 แล้วตามใจที่ชอบไม่ขัดขืน” ก็เป็นสภาวะที่ปรากฏเกี่ยวกับการ “รักษาใจ” “ตามใจที่ชอบไม่ขัดขืน” คือฟ้ากับคนรวมเป็นหนึ่งเดี่ยว เป็นสภาวะที่สะอาดธรรมชาติที่เป็นอริยะสูงสุด ท่านขงจื่อมุ่งมั่นศึกษาตั้งแต่อายุ 15 จนถึง 50 จึงรู้โองการฟ้า มิใช่เป็นความขยันที่ยาวนานกว่า 30 ปีหรอกหรือขณะที่อบรมจิตใจทำให้สะอาด ธรรมชาติย้อนคืนสู่ความดีเป็นการเรียนจากพื้นฐานไปสู่สุดยอด จนสำเร็จเป็นอริยะ ลูกศิษย์ของท่านขงจื่อหยวนหุยก็สามารถทำใจนั้น “สามเดือนไม่ขัดเมตตา” ล้วนเป็นการปฏิบัติเพื่อการ “รักษาใจ”
“ปราบโจรในป่าเขาง่าย ปราบโจรในใจยาก” จะเห็นว่าการละชั่ว (รักษาใจ) ไม่ใช่ง่าย ถ้าจับทางธรรมได้ ก็ไม่นอกเหนือไปจากจิตสำนึกที่ฟ้าประทานให้ อบรมความดีบนจิตสำนึก บ่มเลี้ยงจิตใจให้ดีงาม เพราะฉะนั้นการกดข่มนิสัยเลว ๆ ถ้าไม่ใช้แรงมากก็สยบไม่อยู่ การบำเพ็ญ “การรักษาใจ” ทุกคนต้องใช้แรงที่ใจ คนอื่นก็ได้แต่ตักเตือนมส่งเสริม นอกจากนี้ก็ไม่มีวิธีอื่น มีคติธรรมว่า “โรคทางใจต้องรักษาด้วยยาใจ” สิ่งที่เป็นยาแม้จะถือไว้บนมือแล้ว ถ้าหากไม่ยอมรักษาใครก็สุดจะบังคับเจ้าได้