พระมัญชุศรีโพธิสัตว์
“ขันธ์ห้ากายไม่มี สี่มหาภูตว่างเปล่า ใจเปื้อนมีหกคติ ใจว่างพ้นกาลเวลาสถานที่ การเกิดการตายไม่มี ปุถุชนหรืออริยเจ้าอยู่ที่หนึ่งขณะจิต” นี่เป็นสิ่งที่อริยเจ้าชี้ให้เห็นถึงทุกข์ของชีวิตมนุษย์
วัชรปรมิตตาสูตรของมหายานว่า “เมื่อสูญเสียกายมนุษย์ หมื่นกัปป์ได้คืนยาก” หมายความว่าหากชีวิตผ่านไปโดยสูญเปล่าแล้ว เกรงว่าจะล่วงสู่อบายภูมิเป็นกัป ๆได้รับความทุกข์ยาก จนไม่มีวันได้ผุดได้เกิด
ด้วยเหตุนี้ พุทธองค์โพธิสัตว์ล้วนเห็นภูมิทั้งสามเหมือนความว่างเปล่าเหมือนความฝัน ฟองน้ำ มายาทั้งยังกล่าวว่า “เมื่อวันเวลาผ่านไปชีวิตก็หดสั้นลง เหมือนปลาที่มีน้ำน้อย จะมีความสุขได้อย่างไร พวกเราควรตักเตือนให้วิริยะ อุตสาหะ เหมือนช่วยไส้ตะเกียง แต่อนิจจังไม่เที่ยง ระวังอย่าปล่อยตามสบาย” หมายความว่า ช่วยตักเตือนชาวโลกให้บำเพ็ญเสียแต่เนิ่น ๆ ต้องมีวิริยะก้าวหน้า อย่ารอให้แก่ค่อยมาเรียนธรรม อนิจจังก็มาถึงเสียแล้ว
กาลครั้งหนึ่งพุทธองค์ตรัสแก่พระสาวกว่า “ชีวิตมนุษย์อยู่ยาวแค่ไหน” มีสาวกองค์หนึ่งตอบว่า “ชีวิตมนุษย์อยู่ระหว่างเช้าจรดค่ำ” พุทธองค์ตอบว่า “ไม่ใช่” สาวกอีกองค์ตอบว่า “ชีวิตมนุษย์อยู่ระหว่างการรับประทานอาหาร” พุทธองค์ตอบว่า “ไม่ถูก” ที่สุดแล้วชีวิตของมนุษย์อยู่ยาวแค่ไหนกัน มีสาวกอีกองค์หนึ่งที่มีปัญญามากพูดขึ้นว่า “ชีวิตมนุษย์อยู่ระหว่างลมหายใจ” พุทธองค์ตรัสว่า “ถูกต้องแล้ว ชีวิตของมนุษย์ แค่ชั่วลมหายใจหนึ่งหยุดนิ่งชีวิตก็จากกันชั่วกาลนาน ทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่า เพราะฉะนั้นยังมีอะไรที่มีค่าพอจะแย่งชิงหรือถือสาอีก”
มองดูซิ ในจักรวาลนี้ ดวงดาว ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน หลายล้านปีมานี้มีการเปลี่ยนแปลง มีการเน่าเปื่อย ยุบลงโป่งโตขึ้น ไม่มีทางที่จะควบคุมเป็นเจ้าของ เวรกรรมตลอดถึงบุญมลาย แม้กระทั่งรูปสลาย ลมปราณหยุดนิ่งยิ่งว่างเปล่าหากพูดถึงเวไนยสัตว์ ตัวเล็ก ๆ อย่างหอยทาก ควรรู้กาลเวลาและสถานที่มีเขตสิ้นสุด บุญและปัญญาก็มีจำกัด ยิ่งต้องบำเพ็ญบุญบารมีให้ทันเวลา ดูแลรักษารากฐานที่เป็นหลักของกาย เพื่อหล่อเลี้ยงเจริญบุญกุศลให้สลายเวรกรรมมีอายุนิรันดร์ จึงกล่าวกันว่าธรรมาจารย์หาได้ยาก บุญสัมพันธ์แค่พริบเดียวก็ขาดหายแล้ว อยู่ระหว่างเกิดดับอนิจจังไม่เที่ยง ยิ่งง่ายต่อการชักจูงของแรงกรรมทำให้หลงทิศทางได้ เลยทำให้อดสร้างบุญกุศล สร้างเสาหลักยังไม่เสร็จ ก็ล่องลอยไปกับการเกิดการตายเสียแล้ว ดังนั้น มีใครบ้างที่สามารถรับประกันว่าทุก ๆ คนต้องมีสุขภาพดีถึงแก่ โดยไม่ล้มตายฉับพลัน หรือแสวงหาธรรม ฟังธรรมไม่ทันข้ามวันก็ดับไปแล้ว ในที่สุดก็ไม่สำเร็จอะไรเลย
ท่านปราชญ์อริยอย่างขงจื่อได้กล่าวถึงการบำเพ็ญธรรมว่า “ข้าอายุ 15 ใจแน่วแน่ในการศึกษา อายุ 30 จึงตั้งตนได้ อายุ 40 ไม่แคลงใจ อายุ 50 รู้โองการสวรรค์ อายุ 60 ฟังไม่ขัดหู อายุ 70 สิ่งที่ใจต้องการไม่เกินกฏเกณฑ์” สามารถตามใจต้องการ ก็คือว่าใจกับเต๋านั้นเข้ากันได้ ก็สามารถเข้าสู่สภาวะตถาตา อริยชนต่อการบำเพ็ญอบรมคุณธรรมเหมือนงกเงิ่นงกงัน ยิ่งนับประสาอะไรกับปุถุชนเหล่าเวไนย์
ชั่วชีวิตหนึ่งไม่กี่สิบปี เหมือนตัวหนอนที่ไต่วนอยู่บนกิ่งคบไม้ ที่ไม่อาจเห็นลักษณะทั้งหมดของต้นไม้ได้ เหมือนกบอยู่ในบ่อจ้อย ไม่รู้จักว่าตัวเองมีความรู้น้อย ยังไม่เข้าลึกในพระคัมภีร์ หรือเข้าใกล้ผู้มีปัญญา หรือวิริยะ อุตสาหะ ก็ทะนงตนว่ารู้จักโลกนี้ดี หรือไม่ก็คิดว่าตนเองนั้นดีพร้อมอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติบำเพ็ญ หรือไม่ก็ว่าการปฏิบัติบำเพ็ญเป็นเรื่องของคนแก่เหมือนแมลงในฤดูร้อนที่อยู่ไม่ถึงฤดูหนาว เหมือนจักจั่นตัวเล็กที่อยู่ไม่ข้ามฤดูใบไม้ร่วง ที่ว่านั้นน่าเวทนาแล้ว มนุษย์เล่ามีอะไรที่ต่างไปกว่านั้น
เพราะฉะนั้นจึงขอเตือนผู้บำเพ็ญ อย่ารอให้แก่เฒ่ากระดูกเมื่อยขบปัญญาไม่สดใสแล้ว หรือไม่ก็มีโรคภัยติดตัว เจ็บป่วยรุมเร้าเข้าแล้ว จึงระลึกได้ว่า วันเวลาได้ผ่านไปเร็วเหลือเกิน การฝึกพุทธะเป็นสิ่งมีค่า ต้องรีบ ๆ หาธรรมาจารย์เพื่อฝึกธรรม อดทนฝึกให้ก้าวหน้า หารือกับผู้มีคุณธรรม ขอร้องเขาให้ชี้แนะแล้วใจปฏิบัติตาม เพื่อฝึกปัญญาสูงสุดเพื่อได้ธรรมสูงสุด นั่นแหละบุญบารมีก็บริบูรณ์ พุทธธรรมก็สำเร็จได้