อานิสงส์ผลบุญจากการปฏิบัติตาม คำสอนของหนังสือเทวราชโองการ
จากสำนักธรรมฉิวจี่
2024-05-04 07:45:35 - mindcyber
ท่านหวงฟังโจว เป็นอาจารย์ในโรงเรียนหลวงแห่งอำเภอต้าซิง ท่านและภรรยาท่าน ล้วนเป็นคนใจบุญสุนทานขณะที่ท่านรับหน้าที่เป็นอาจารย์โรงเรียนหลวงนั้น ได้บริจาคทุนทรัพย์พิมพ์หนังสือธรรมะ พระสูตร หลายสิบรายการภรรยาท่านก็บริจาคเงิน พิมพ์หนังสือเทวราชโองการ 1,000เล่ม และปล่อยนกปล่อยปลาเป็นจำนวนพันหมื่นชีวิต
ทั้งคู่มีบุตรชาย 5 คน คนโตชื่อสูหลิน สอบเข้าเป็นขุนนาง และได้เป็นที่ 3 ของผู้สอบติดทั้งหมดในปีซินเว่ย(ค.ศ.1691) ในรัชกาลคังซี (คังซีเป็นกษัตริย์องค์ที่สองแห่งราชวงศ์แมนจู ค.ศ.1662-ค.ศ.1722)
บุตรคนที่สองชื่อสูจิ้ง สอบเข้าเป็นขุนนางรับราชการในปีจี๋โฉ่ว (ค.ศ.1709) ในรัชกาลคังซี
บุตรคนที่สามชื่อสูฉี สอบเป็นขุนนางเข้ารับราชการในปีอี่หยิ่ว (ค.ศ.1705) ในรัชกาลคังซี
บุตรคนที่สี่ชื่อสูอ่วน สอบเป็นขุนนางในปีจี่โฉ่ว(ค.ศ.1709 ) ในรัชกาลคังซี
บุตรคนที่ห้าชื่อสูเซวียน สอบเข้ารับราชการในปีกุ่ยซื่อ(ค.ศ.1713) จนได้เป็นขุนนางชั้นสูง
ท่านเมี่ยวกั๋วเหวย เป็นคนอำเภออู๋ในมณฑลเจียงซูปลายราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1621-ค.ศ.1643) สอบได้เป็นราชบัณฑิตแต่ไม่มีโอกาสรับราชการเป็นขุนนางว่างงานอยู่ที่บ้าน
ท่านเมี่ยวชอบซื้อหนังสือเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมมาอ่านเมื่ออ่านจบก็คัดลอกหนังสือธรรมะนั้นแจกจ่ายเพื่อนๆ ถ้าเจอะเจอหนังสือฉีกขาดหรือหลุดลุ่ย ก็จะทำการปะซ่อมให้สมบูรณ์เหมือนเดิม
ปีใดเกิดทุพภิกขภัย ก็จะนำธัญญาหารออกแจกจ่ายชาวบ้าน ปีใดเกิดโรคระบาด ก็จะปรุงยาแจกจ่ายผู้ติดโรค
ปีติงไห้ในรัชกาล สุ้นจื้อ (ค.ศ.1647) (รัชกาลสุ้นจื้อเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์แมนจู) บุตรชายชื่อหุ้ยหย่วนสอบเข้าเป็นราชบัณฑิต
ปีติงเว่ยของรัชกาลคังซี (ค.ศ.1667) หลานชายชื่อถงสอบได้เป็นจอหงวน (จอหงวนคือผู้ที่สอบได้เป็นที่ 1 ของการสอบราชบัณฑิตในปีนั้นๆ)
หลานชายชื่อจิ่งเซวียน ได้เข้ารับราชการเป็นผู้ถ่ายทอดคำสั่ง (หน้าห้อง) ในปีกุ่ยโฉ่ว (ค.ศ.1673)
หลานชายชื่อจี้ย่าง สอบได้ราชบัณฑิตในปีอู้เฉิน(ค.ศ.1688)
บุตรของถง ชื่อยื่อเจ่า (เหลนของท่านเมี่ยว) สอบได้ที่สองของราชบัณฑิตทั้งหมดในปีอี่เว่ย (ค.ศ.1715)
บุตรคนที่สามของถง ชื่อจี่ สอบได้เป็นขุนนางหั้นหลิน(ตำแหนง่ คลา้ ยราชเลขา) ในปกี ุย่ โฉว่ รัชกาลหยง่ เจงิ้ (ค.ศ.1733)
บุตรชายของยื่อเจ่าชื่อจื้อเหยิน สอบได้เป็นขุนนางหั้นหลินในปีจี่เว่ยรัชกาลเฉียนหลง (ค.ศ.1739)
บุตรช่อื ตุนอี้ สอบเปน็ ราชบัณฑติ ในปปี งิ่ เฉนิ (ค.ศ.1736)บุตรหลานของท่านเมี่ยวกั่วเหวย เป็นขุนนางสูงศักดิ์เกียรติยศรุ่งโรจน์หลายชั่วคน ล้วนเป็นอานิสงส์ของการสร้างกุศลกรรม และเพื่อเผยแผ่ผลบุญที่รับจากการทำตามคำสอนของหนังสือเทวราชโองการ เมี่ยวถงยังบันทึกข้อความข้างต้นโดยลายมือของเขาเอง ที่นำมาตีพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ล้วนเป็นข้อความเดิมตามบันทึก ไม่ได้เพิ่มเติมหรือตัดทอนแม้แต่น้อย
ท่านเผิงอีอัน คนฉางโจว เป็นคนใจบุญ ปีไหนเกิดทุพภิกขภัยก็จะบริจาคทานช่วยชาวบ้าน พบเห็นหนังสือดีหนังสือธรรมะก็จะจัดพิมพ์แจกจ่ายเผยแผ่
บุตรชายชื่อติ้งฉิว คัดลอกหนังสือเทวราชโองการ 100เล่มออกแจกจ่าย ต่อมาติ้งฉิวสอบได้จอหงวนระดับจังหวัดและจอหงวนระดับประเทศ เหลนของท่านเผิงอีอันชื่อฉี่ฟงก็สอบได้จอหงวนจังหวัด และจอหงวนประเทศลูกหลานของท่านเผิง เป็นขุนนางสืบทอดหลายชั่วคนและเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงบัดนี้
ท่านสีจุ๊ถิง คนคุนซาน เป็นเลขานุการของท่านเสนาบดีเอ๋ยนหวุนจิ้ง ช่วงหนึ่งมณฑลเจื้อเจียงเกิดอุทกภัย เสนอให้เปิดคลังหลวงนำอาหารแจกจ่ายชาวบ้าน ช่วยให้คนไม่อดตายจำนวนไม่น้อย
บุตรชายท่านชื่อไคจี่ ยุคปลายรัชกาลฉงเจิง(เป็นกษัตริย์ปลายราชวงศ์หมิง) เกิดโจรกบฏ โจรกบฏจับชาวบ้านที่เป็นสตรีเพศหลายร้อยคน มากักขังในคฤหัสถ์ของเขา บังคับให้ไคจี่เป็นผู้เฝ้า และปิดประตูรั้วล็อคไม่ให้เข้าออก หลังจากโจรกบฏจากไป ไคจี่นำทรัพย์สินเงินทองในบ้านทั้งหมด แจกจ่ายแก่สตรีที่ถูกลักพาตัวมาให้ทุกคนหลบหนีอุ้งมือโจร พร้อมเผาคฤหัสถ์ตัวเองหอบแม่พิมพ์หนังสือเทวราชโองการ แล้วนำพาครอบครัวหลบภัยโจรกบฏไปอยู่ที่เมืองไท่ชัง
ชั่วชีวิตไคจี่ พิมพ์หนังสือเทวราชโองการแจกชาวบ้านจำนวนนับไม่ถ้วน บุตรชายสามคน คนโตชื่อเฉียนเสวียรัชกาลคังซีปีเกิงซี (ค.ศ.1670) สอบได้ทั่นฮัว (ทั่นฮัวคือ ผู้สอบได้ที่ 3 ของการคัดเลือกราชบัณฑิตในปีนั้นๆ) เป็นขุนนางถึงขั้นเสนาบดี (เทียบเท่าตำแหน่งรัฐมนตรีในปัจจุบัน)บุตรคนที่สองชื่อ ปิ่งอี้ ปีกุ่ยโฉ่ว (ค.ศ.1673) สอบได้ทั่นฮัว เป็นขุนนางสื้อหลาง (ตำแหน่งปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน)
บุตรคนที่สามชื่อเหวียนหวุน สอบได้จอหงวน สุดท้าย
เป็นถึงอัครมหาเสนาบดี
ต่อมาบุตรชายของเฉวียนเสวียทั้งห้า
สู้กู่ คังซีปีอี่โฉ่ว (ค.ศ.1685) สอบเข้ารับราชการ
จวิ่ง คังซีปีเหยินซี (ค.ศ.1682) สอบเข้ารับราชการ
สู้หมิ่น ปีกุ่ยเว่ย (ค.ศ.1703) สอบเข้ารับราชการ
สู้ผิง ปีจี่โฉ่ว (ค.ศ.1709) สอบเข้ารับราชการ
จวิ้น ปีกุ่ยซือ (ค.ศ.1713) ก็สอบเข้ารับราชการ
ท่านไช่เพ่ยหลัน ชาวหูโจว เป็นผู้กตัญญูต่อพ่อแม่และรักพี่รักน้อง ใจเมตตาอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ตัวเองมัธยัสถ์พบคนตกทุกข์ได้ยากมักเข้าช่วยเหลือ แจกจ่ายยาแก่ผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ในยามทุกข์ยาก คนจนมาขอหยิบยืมเงินทองก็ไม่คิดดอกเบี้ย ระหว่างเดินทาง ถ้าพบสัตว์และเด็กหรือคนเฒ่าคนแก่ ได้รับความยากลำบากหลงทางหรือสัมภาระสูญหาย มักยื่นมือช่วยเหลือ เห็นหนังสือเทวราชโองการสามารถโปรดชาวโลก จึงใช้วิธีหยิบยืมเงินทองให้แก่ผู้ยากไร้ โดยแลกเปลี่ยนให้คัดลอกหนังสือเทวราชโองการออกเผยแผ่ตักเตือนชาวโลกแทนดอกเบี้ย จนกระทั่งท่านไช่เพ่ยหลันอายุ 84 ปี ไม่มีไข้เจ็บนั่งสมาธิจนสำเร็จมรรคผลคนใกล้ชิดเห็นมีเทพกุลบุตร และเทพกุลธิดามาพาท่านไช่เพ่ยหลันนั่งเทพรถลอยขึ้นสรวงสวรรค์
แหลนชื่อฉี่จุนคังซีปีเกิงซี (ค.ศ.1670) สอบได้จอหงวน
บุตรของฉี่จุนชื่อเซิงเหวียน ปีเหยินซี สอบได้จอหงวน
ท่านสวีหวุนจิ้ง เป็นขุนนางอำมาตย์ในนครหังโจวแต่เป็นคนรักสันโดษ ยึดถือคุณธรรม จริยธรรม ชอบศึกษาสนทนาไตรศาสนา และชีวประวัติของเมธีอริยะปราชญ์ชอบรวบรวมเรื่องราวของผลบุญ จากการนับถือธรรมเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม จัดพิมพ์เป็นหนังสือออกเผยแผ่ชักนำชาวโลกมุ่งสู่กุศล มุ่งสู่ธรรม
ไท่ฟูหยิน (คุณแม่) ของท่านสวีหวุนจิ้ง ก็เป็นคนธรรมะธรรมโม วันๆ จะสวดพระนามพระโพธิสัตว์กวนอิม(พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เจ้า) พันจบ ชอบสนทนาเรื่องมรรคผล กฎแห่งกรรม สั่งแกะแม่พิมพ์หนังสือมหารัตนเทวราชโองการขึ้นใหม่ และพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกเผยแผ่โปรดชาวโลก ปีไหนเกิดทุพภิกขภัยก็จะสละทรัพย์ช่วยเหลือชาวบ้าน และญาติมิตร
ครอบครัวนี้มีบุตรชายชื่อเปิ่น ได้เป็นมหาบัณฑิตในคณะรัฐมนตรี
บุตรชายอีกคนชื่อฉี่ รับราชการมีตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการในมณฑลกันสู้
หลานชายชื่อเสวี่ยน รับราชการเป็นขุนนางซื่อหลาง
หลานชายชื่อจิ่งซี เป็นขุนนางควบคุมการค้าเกลือหลวง
ปัจจุบันเหลนทุกคนล้วนสอบได้ราชบัณฑิต และเป็น
ขุนนางทุกท่าน
ท่านจางเมิ่งก่ง มีตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาในมณฑลเหอหนาน เป็นขุนนางใจซื่อมือสะอาด ชอบจัดพิมพ์หนังสือเทวราชโองการ หนังสือสั่งสอนละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตของพระอาจารย์เหลียนฉือ (โบกขรณี) และหนังสือเกี่ยวกับพรหมลิขิต สุดรังเกียจพวกหนังสือโป๊เปลือย หนังสือลามก ตำรายาปลุกกำหนัด ตำรายาป้องกันการตั้งครรภ์ตำรายาทำแท้ง และเครื่องมือเครื่องใช้ในการพนัน ผู้ใดทำสิ่งเหล่านี้ถูกจับได้จะต้องโทษหนัก ใครสามารถนำจับจะได้รับรางวัลอย่างงาม เจอะเจอภัยหนาวภัยแล้ง ไม่ว่าบ้านเกิดหรือต่างถิ่น ก็จะหาทางเข้าช่วยเหลือแจกจ่ายข้าวของภรรยาท่านเป็นคนใจบุญสุนทาน ประหยัดกินประหยัดใช้ แต่นำเงินไปพิมพ์หนังสือเทวราชโองการออกแจกจ่ายทั้งคู่มีบุตรชาย 5 คน
คนโตชื่อเสียง รัชกาลคังซีปีจี่โฉ่ว (ค.ศ.1709) สอบได้ราชบัณฑิต
คนรองชื่ออิ้งเจ้า ปีจี่เว่ย สอบได้ราชบัณฑิต
คนที่สามชื่อเส้าเสียน ปีจี่โฉ่ว สอบได้ราชบัณฑิต
คนที่สี่ชื่อชี่หลิง ปีอู้จื่อ สอบได้ราชบัณฑิต
คนที่ห้าชื่อจิ่งซิน รัชกาลหยงเจิ้งปีกุ่ยเหม่า (ค.ศ.723)
สอบได้ราชบัณฑิต
ทั้งหมดห้าท่านล้วนได้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่
ท่านเจี่ยงชุนผู่ เป็นชาวเมืองฉางโสว ถึงครอบครัวจะร่ำรวย แต่ชั่วชีวิตเป็นคนขยันหมั่นเพียร ใช้ชีวิตสมถะเฉกเช่นบัณฑิตยากจน พบเห็นหนังสือ แนะนำคนสร้างความดีจะสั่งให้บุตรหลานจัดพิมพ์หรือคัดลอกแจกจ่ายชาวบ้าน ไม่ตระหนี่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้แม้แต่น้อย นับเป็นคนจริงท่านหนึ่งบุตรหลานท่านก็เจริญรอยตามบุพการี มุ่งสร้างกุศลกรรมอย่างไม่ย่อท้อ เช่น พิมพ์หนังสือเทวราชโองการหนังสือตักเตือนมนุษย์งดเว้นการฆ่าสัตว์ออกแจกจ่ายเผยแผ่หลายสิบปีนี้พิมพ์หนังสือแจกนับจำนวนไม่ถ้วนมาถึงรุ่นหลานชื่อเฟิน สอบได้เป็นขุนนาง
แหลนชื่ออี คังซีปีกุ่ยโฉ่ว (ค.ศ.1673) สอบได้เป็นขุนนางหลานของหลานชื่อเฉินสี ปีอี่โฉ่ว (ค.ศ.1685) สอบได้เป็นขุนนาง
ถิงสี ปีกุ่ยเว่ย สอบได้เป็นขุนนาง มีตำแหน่งถึงขั้นมหาบัณฑิต
เหลียนหุย ปีจี่โฉ่ว สอบได้เป็นขุนนาง
ผู่ รัชกาลหย่งเจิ้งปีเกิงซี (ค.ศ.1730) สอบได้เป็นขุนนางตำแหน่งจงถัง
หลันขึ่น ปีปิ่งอู่ สอบได้ขุนนาง
ติ่ง รัชกาลเฉียนหลงปีซินเว่ย (ค.ศ.1751) สอบได้เป็นขุนนางปฏิบัติตามคำสอนของหนังสือธรรมะ ผลบุญทำให้
บุตรหลาน หลายชั่วคนมีชีวิตขุนนางที่รุ่งโรจน์
สมัยรัชกาลเจียจิ้ง (ค.ศ.1522-ค.ศ.1566) เมืองหนามชางในมณฑลเจียงซี มีชายท่านหนึ่งชื่อ แสงเจ้าติ่งศึกษาแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อายุยังน้อย
เมื่อช่วงอายุ 19 ปี ท่านเจ้าติ่งมีโอกาสอ่านหนังสือเทวราชโองการ โดยเฉพาะอ่านมาถึงตอนยมโลกตำหนักที่ 2 มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ร้านขายยาหรือนายแพทย์เพื่อหวังผลกำไร ใช้ยาที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ระบุแหล่งผลิต ใช้ยาที่ไม่ถูกกับโรคมารักษาคนไข้ ต้องถูกลงโทษให้รับทุกข์ใน สัญชีวมหานรก หลังจากนั้นให้ไปรับโทษในอนุนรกอีกต่างหาก” และยังมีข้อความ “ควรมีเมตตาแจกจ่ายยาช่วยเหลือคนจน พิมพ์หนังสือเทวราชโองการออกเผยแผ่สั่งสอนชาวโลก ควรสำนึก และแก้ไขในสิ่งผิด” เป็นต้น ทำให้เขาตั้งปณิธานว่าจะรักษาคนไข้ โดยไม่ยึดผลประโยชน์เป็นหลักไม่แบ่งยากรวยมีจน ไม่เกี่ยงว่าอากาศจะหนาวหรือร้อน ใครมีโรคภัยไข้เจ็บก็จะรีบไปรักษา ถ้าคนไข้ยากจน และอ่อนแอมีความจำเป็นต้องใส่โสมไปช่วยรักษา ท่านหมอติ่งก็จะบดโสมเป็นผงแอบใส่ในยาให้คนไข้ทาน โดยไม่คิดมูลค่าใช้รายได้ที่มาจากคนไข้ร่ำรวย ไปช่วยเหลือจุนเจือคนไข้ยากจนตามแต่ความเหมาะสม ถ้าปีใดเกิดภัยพิบัติไปรักษาคนไข้แม้นเป็นหนทางยาวไกลก็จะใช้การเดินเท้า และการนั่งเกี้ยวเพื่อประหยัดค่าได้จ่าย ศรีภรรยาท่านก็เป็นกุลสตรีเป็นแม่ศรีเรือนที่ทำตามเจตนารมณ์ของสามี ถึงชีวิตความเป็นอยู่จะเรียบง่ายอย่างใดก็ไม่เคยปริปากบ่นจนกระทั่งแสงเจ้าติ่งอายุครบ 80 ปี อยู่มาวันหนึ่ง
ตื่นเช้าขึ้นมา ปรากฏมีผ้าแพรสีแดงผืนใหญ่แขวนอยู่กลางห้องโถง เขียนด้วยอักษรสีทองมีข้อความว่า “ราชโองการจากฟ้าแสงเจ้าติ่งได้รับการแต่งตั้งให้ไปเป็นยมบาลเมืองในมณฑลฝูเจี้ยน”
จากนั้น 3 วัน มีกลิ่นสุคนธ์อบอวลหอมหวนไปทั่วทั้งบ้าน แสงเจ้าติ่งอาบน้ำผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า นั่งสมาธิจนสิ้นอายุขัยในท่านั่ง
บุตรหลานของแสงเจ้าติ่งหลายชั่วคน ต่างได้รับราชการเป็นขุนนางเจริญรุ่งเรือง เกียรติยศโชติช่วง เป็นที่เลื่องลือของมณฑลจนถึงบัดนี้
ตระกูลเฉิน เป็นตระกูลใหญ่ในเมืองไห่หนิง เมื่อพลบค่ำ จะให้บ่าวไพร่ไปจุดโคมส่องทางตามถนนหนทางและตรอกซอกซอย เพื่อความสะดวกแก่ผู้สัญจรกลางคืนช่วงเกิดโรคระบาดก็จะบริจาคยารักษาโรค และโลงศพทั้งยังบริจาคที่ดินของตระกูล ให้สร้างเป็น สถานที่ฝังศพสาธารณะ
พิมพ์หนังสือเทวราชโองการ และหนังสือดีออกแจกจ่ายคุณงามความดีเหล่านี้ ฟ้าตอบแทนด้วยตระกูลเฉินบังเกิดขุนนางโดดเด่น ชื่อเสียงโด่งดังหลายสมัย เป็นที่เลื่อง
ลือในมณฑลเจื้อเจียง
เศรษฐีอันดับหนึ่งในเมืองหังโจว และมณฑลเจื้อเจียงมีสี่ตระกูลคือ กวน วัง ซุน จ้าว และเป็นตระกูลดังในรัชสมัยนั้น
สี่ตระกูลนี้ล้วนมีเมตตาธรรม ชอบช่วยเหลือชาวบ้านและกระทำติดต่อมาเป็นระยะเวลานาน อย่างเช่น
ตระกูลกวน ท่านปู่ของกวนหวาย ช่วงรับราชการอยู่ยังได้เขียนบทอธิบายในบทความโอสถทิพย์
ตระกูลวังก็ปรุงยา จื่อเซี้ยตัน ออกแจกจ่ายเป็นระยะเวลายาวนานหลายชั่วคน
ตระกูลซุนจะพิมพ์หนังสือดีออกแจกจ่ายเป็นช่วงๆโดยเฉพาะช่วงใกล้ๆ นี้ ได้พิมพ์หนังสือเทวราชโองการตัก
เตือนชาวโลกออกเผยแผ่
ตระกูลจ้าว ปฏิบัติตามคำสอนของหนังสือเทวราชโองการ หมั่นบริจาคเสื้อผ้าเพื่อคลายหนาวแก่คนจน บริจาคโลง
ศพแก่ศพผู้ยากไร้ เป็นต้น
ทั้งสี่ตระกูลมีจิตใจกุศลเช่นนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้สี่ตระกูลร่ำรวยทั้งยังบังเกิดขุนนางหลายชั่วคน นี่เป็นหลักฐานของคำว่า “สร้างกุศลมงคลเยือน” และเพื่อเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้นับถือ จึงรวบรวมเอาเรื่องจริงเหล่านี้บันทึกลงในหนังสือสำนักธรรมฉิวจี่
บทความทั้ง 11 ตอนนี้เขียนโดยคนแซ่หลี่ตีพิมพ์ลงในหนังสือธรรมของสำนักธรรมฉิวจี่