"หากพบผู้ยากไร้ แม้ตนไม่มีทรัพย์ให้ทาน
แต่เห็นผู้อื่นให้ทาน ก็พลอยเกิดปิติตามไป"
ในภัทรวิปลาสสูตร (เฮี้ยงง้อเก็ง) มีนิทานเรื่องหนึ่ง
ณ ชานเมืองพาราณสี มีคุณยายเฒ่าที่ยากจนมากคนหนึ่ง ชื่อว่านันทา ในรอบกี่ร้อยหมื่นปีจึงจะมีบุญสัมพันธ์ได้พบพุทธเจ้าครั้งหนึ่งคุณยายนันทาคิดจะบูชาพุทธเจ้าด้วยไฟประทีปดวงหนึ่ง แต่คุณยายก็มีเงินพอที่จะซื้อน้ำมันได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คุณยายนันทาก็นำตะเกียงดวงเล็กๆ เดินตามหลังท่านเหล่าความดีมายัง ณ ตำหนักพุทธเจ้า ภายหลังจุดตะเกียงเสร็จแล้วก็ก้มลงกราบพุทธเจ้าอย่างศรัทธา คืนนั้นในเมืองพาราณสีก็ให้เกิดลมพายุรุนแรงขึ้น บรรดาไฟประทีปที่บูชาพุทธเจ้าดับไปหมดยกเว้นแต่ดวงประทีปเล็กๆ ของคุณยายนันทาเท่านั้นที่ยังคงสว่างไสว
ประจักษ์ชัดแจ้งแล้วว่า การให้ทานหรือการทำบุญมิใช่อยู่ที่ของต้องปราณีต หรือมีปริมาณมาก หากอยู่ที่จริงใจและศรัทธา
คนทั่วไปมักพูดว่า การให้ทานคือการสละสิ่งของของตนไปช่วยเหลือคนจน แต่ในพระสูตรก็มีกล่าวไว้ว่า ที่ตักเตือนชาวโลกกลับเป็น“ไร้ทรัพย์เจ็ดทาน"
1. ตาเป็นทาน เอาดวงตาที่ประกายเมตตาดูเขา
2. หน้าเป็นทาน เอาหน้าที่ยิ้มแย้มหาเขา
3. กายเป็นทาน เอากายที่สะอาดและตรงต้อนรับเขา
4. วาจาเป็นทาน เอาวาจาที่นุ่มนวลอบอุ่นให้เขา
5. ใจเป็นทาน เอาจริงใจต้อนรับเขา
6. ที่นั่งเป็นทาน เอาที่นั่ง ตำแหน่ง หรือชื่อทรงเกียรติ ผ่อนปรนยกให้เขา
7. ห้องเป็นทาน ปัดกวาดห้องหับให้สะอาด เพื่อต้อนรับแขก