พระมหาจักรพรรดิ์ซุ่นเอี๊ยง (หลื่อโจ้ว)
ทำงานแทนฟ้าไม่ต้องอ้างว่าไม่ว่าง พระคุณธรรมสำแดงเปิดทรงทั่วทุกทิศ มหาปัญญาสืบคัมภีร์เผยแผ่ยอดวิสุทธิ์ อักษรบนถาดทรายล้วนสิขาบท ความเสื่อมศีลเป็นงานของคนและพระเจ้าร่วมต้าน อริยศาสน์ร่วมเชิดชูจิตเข้มแข็ง ต้องอบรมดัดนิสัยพิจารณาตน ให้วาระสุดท้ายของโลกที่เลือนลางเผยแสงมงคล
ในสมัยราชวงศ์หมิง จางก้งตงก่อการวุ่นวาย นำทหารออกฆ่าราษฏรไปจำนวนมาก วันหนึ่ง เมื่อเขากลับไปที่บ้านเกิดอำเภอเอี้ยนอิน เมืองชานตง ฟูเจียนกล่าวเตือนเขาว่า ที่นี่เป็นบ้านเกิดของอาจารย์จะละเว้นไม่ฆ่าคนสักครั้งได้ไหม จางก้งตงอึ้งคิดอยู่เป็นนานสองนานจึงพูดว่า “ก็ได้ เพื่อไม่ต้องตัดหัวคน เรามาตัดต้นไม้แทนสักต้น” พูดจบก็ยกดาบขึ้นฟันฉับลงที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง ก็ให้มีหัวคนกระเด็นออกมาจากต้นไม้พอจ้องมองให้ชัดเจน ก็จำได้ว่าเป็นอาจารย์ตนที่บ้าน
เมื่อครั้งกระโน้น ขณะที่จางก้งตงยังเด็กอยู่ ซนร้ายกาจมาก จึงมักถูกอาจารย์ผู้นี้ดุด่าเฆี่ยนตีบ่อย ๆ ต่อมาเมื่อจางก้งตงเจริญรุ่งเรือง ก็นำกองทหารเข้ามาที่หมู่บ้าน อาจารย์ก็กลัวว่าลูกศิษย์จะแก้แค้น จึงหนีมาหลบอยู่ในโพรงต้นไม้ต้นนี้ จะไปรู้หรือว่าคนไม่ได้ลิขิตแต่ฟ้ากำหนดไว้แล้วจึงไม่อาจพ้นจากเคราะห์ครั้งนี้ได้
ที่กล่าวว่า “เมื่อยมบาลกำหนดตายตีสาม มีหรือจะรอให้คนอยู่ถึงตีห้า” เรื่องนี้อุปมาอุปไมยว่า เมื่อคน ๆ หนึ่งชะตาถึงฆาต ยมบาลก็ส่งยมทูตมารออยู่ก่อนแล้ว มีคนป่วยหลายคนมักได้ยินเสียงโซ่ตรวน หรือไม่ก็ได้เห็นยมทูตในขณะนั้น สาเหตุเป็นเพราะเช่นนี้เอง เพราะฉะนั้นชาวโลกที่สามารถรอดพ้นเงื้อมมือยมทูตได้ก็ถือว่าต้องมีบุญกุศล หรือได้ทำมหากุศล มิฉะนั้นแล้วมีคนน้อยมากที่จะรอดพ้นจากเงื้อมมือยมทูตมาได้
มีนักศึกษาหนุ่มคนหนึ่ง เดินทางไปสอบที่เมืองหลวง ระหว่างทางได้พักค้างแรมใต้บันไดของบ้านใหญ่หลังหนึ่ง ดึกดื่นยามสามท่ามกลางความงัวเงียก็ได้ยินเสียงคนพูดคุยด้วยเสียงค่อย ๆ ท่าทางของบุคคลทั้งสองแต่งตัวเหมือนกับข้าราชการ นำพาเด็กชายคนหนึ่งมาด้วย เมื่อคนทั้งสองเดินมาถึงด้านหน้า คนหนึ่งก็พูดขึ้นว่า “แย่แล้ว ท่านผู้ใหญ่หลบอยู่ที่ตรงนี้ พวกเราเข้าไปไม่ได้” อีกคนหนึ่งก็พูดขึ้นมาว่า “พวกเราไปเข้าทางหลังบ้านกันเถอะ!” คนแรกก็ถามขึ้นมาอีกว่า “อนาคตเด็กน้อยคนนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร เขาจะอายุยืนสักเท่าไร” อีกคนก็ตอบว่า “เรียกว่าอาโน้วมีอายุแค่สิบห้าปีเอง” คนเดิมก็ถามต่อว่า “เขาตายอย่างไร” คำตอบ “ขึ้นไปซ่อมหลังคาบ้าน พลัดตกลงมาตาย”
พอฟ้าสางแล้ว นักศึกษาคนนั้นก็ฟังข่าวกับคนข้างบ้าน จึงรู้ว่านายหญิงบ้านหลังใหญ่ให้กำเนิดทารกชายคนหนึ่ง ต่อมานักศึกษาผู้นั้นก็สอบไล่ได้ กาลเวลาผ่านไปสิบห้าปี ก็ให้พอดีเดินทางผ่านมาแถวนี้ ก็ได้ยินข่าวของอาโน้วว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ขึ้นไปซ่อมหลังคาแล้วพลัดตกลงมาตาย จึงทำให้หวนระลึกถึงอดีตว่าคืนนั้นตนได้พักค้างคืนที่ใต้บันไดบ้านหลังใหญ่นี้ ได้ยินเสียงสองคนเจรจากันถึงเรื่องราวเมื่อก่อนโดยไม่ผิดเพี้ยน ตนเองยังถูกพวกเขายกย่องว่าเป็นท่านผู้ใหญ่ ในที่สุดก็ได้เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
นิทานทั้งสองที่เล่ามานี้ทำให้รู้ว่า “การเข้าสู่ครรภ์หรือกำหนดการเกิด” อำนาจกำหนดเหล่านี้อยู่ในกำมือของยมบาลขุมที่สิบ เพราะฉะนั้น ภายหลังที่วิญญาณผีสิ้นสุดการลงโทษในขุมนรกแล้วก็จะเวียนไปเกิดใหม่ตามหกวิถี (6 วิถี คือ เทวดา อสุรกาย มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ผีนรกและเปรต)
ลองคิดเอาเอง ศิษย์ทั้งหลาย นิทานที่เล่าให้ฟังก็พอจะยอมรับได้ว่าชีวิตมีปัญหาใหญ่สองข้อ อันหนึ่งเป็นปัญหาการเกิด อีกปัญหาหนึ่งก็คือการตาย คนเราถ้ายังไม่เข้าถึง “ที่สุดของการเกิดการตาย” ได้แล้ว ไม่ว่าความสำเร็จของเธอจะยิ่งใหญ่ปานไหน คุณค่าและความหมายของชีวิตก็เป็นอันหมดสิ้น หมดค่าความเป็นคนไป การเกิดการตายก็ไม่แตกต่างไปจากสัตว์เดรัจฉานเลย
คำกล่าวที่ว่า “ผู้ที่เกิดดี เพราะฉะนั้นจึงตายดี” เพราะฉะนั้นสิ่งที่อาตมาเน้นนักเน้นหนาว่า ถึงแม้ในโลกนี้จะไม่มีการพูดจาถึง “ยังไม่ทันเกิดก็กำหนดตายก่อน” แต่อันนี้เป็นการกำหนดแก่บุคคลทั่วไป ถ้าหากเป็นพวกศิษย์ที่เข้ามาทำงานเหน็ดเหนื่อยเพื่อโรงเจอ่านหนังสือธรรมะและก็ไม่ละอายต่อคำสั่งสอน (คือสอนแล้วปฏิบัติ) ทำให้ตนเองได้เกิดท่ามกลางธรรมะ ไม่ละอายต่อพุทธระเบียบ แน่นอนเมื่อเกิดดี เพราะฉะนั้นจึงตายดี ก็มักไม่ต้องทุกข์เพราะการเวียนว่ายตายเกิด เพราะฉะนั้นคนที่แสวงหาคุณค่าและความหมายของชีวิตไม่ใช่ต้องเกิดในที่สง่าอลังการแต่ภายหลังการตายสิต้องสง่างามและเจิดจำรัส คืนนี้อาตมาขอให้บรรดาศิษย์พิจารณาให้ดีโดยอาศัยนิทานสองเรื่องนี้ใช้กล่อมเกลาชาวโลกได้ขอให้บรรดาศิษย์จงศึกษาความหมายของคำสั่งสอนให้ดี หลังจากนั้นก็ให้ต่างคนต่างปฏิบัติ เพื่อเผยปรากฏนิสัยของตนเอง เมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตมาถึง ชีวิตไม่เป็นหนี้ใครก็สามารถขึ้นสู่ฝั่งได้ นี่คือผลของบทคำสอนทรง
การเทียบปีมนุษย์กับสวรรค์
50 ปีมนุษย์ เป็น คืนหนึ่งวันหนึ่งของ จาตุมหาราช
100 ปีมนุษย์ เป็น คืนหนึ่งวันหนึ่งของ ดาวดึงส์
200 ปีมนุษย์ เป็น คืนหนึ่งวันหนึ่งของ ยามา
400 ปีมนุษย์ เป็น คืนหนึ่งวันหนึ่งของ ดุสิต
8,000 ปีมนุษย์ เป็น คืนหนึ่งวันหนึ่งของ นิมมานรดี
1,600 ปีมนุษย์ เป็น คืนหนึ่งวันหนึ่งของ ปรนิมมิตวสวัตตี