mindcyber 2 years ago

ชีวิตมีหวังปรากฏชัด

เซียนหั้งเซียงจื้อ

ชีวิตหวังให้ไถหว่านด้วยตน         ซื่อสัตย์คนไร้ใจเดินทางใหญ่

ปัญญาเฉียบกำเนิดฉับไว              สว่างใสวิญญาณแจ่มจรัส


          ต้องการให้ชีวิตอันชัดเจนปรากฏชัด ตนเองต้องเป็นผู้กระทำขึ้นแล้วอิงตามหลักการไปปฏิบัติ ไม่ฟุ้งซ่าน ดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ โดยเอา “ไร้ใจ” เป็นพื้นฐานไปปฏิบัติ กิจการงานของชีวิตก็สำเร็จด้วยความโชคดี “ไร้ใจ” หมายถึงไม่ฟุ้งซ่าน มีชีวิตที่สะอาดบริสุทธิ์จริง ๆ ข้าจะยกมาสัก 5 ข้อ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเดิน ให้ชาวโลกพิจารณานำไปปฏิบัติ

           1. กัดฟันบากบั่นเรียน เพิ่มพูนตนเอง

          ตั้งใจบากบั่นมุ่งเรียน เป็นพื้นฐานสู่ความสำเร็จของกิจการทั้งมวลเป็นหลักการเบื้องแรกของชีวิตที่สมหวังปรากฏชัด บนวิถีชีวิตล้วนต้องศึกษาอยู่ทุก ๆ เวลา เพราะฉะนั้น สิ่งที่เรียนจึงมีมากมายนัก อาทิเช่น การปฏิบัติต่อคน การดำเนินการความรู้ต่าง ๆศักยภาพที่สำคัญของการดำเนินชีวิต ตลอดจนการบ่มเลี้ยงวิญญาณที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ล้วนได้รับการวางฐานรากที่แน่นหนาในวัยเยาว์ ชาวโลกควรรู้ว่า การพร่องขาดความรู้เริ่มต้นประสบการณ์และความสามารถนั้นไม่มีทางที่จะฟูมฟักให้ปัญญาเกิดขึ้นได้ หรือสำเร็จในกิจการงารนที่ดีได้ การฟื้นฟูวิญญาณชีวิตให้สูงขึ้น แต่ละคนต้องได้รับแรงปณิธานและจิตวิญญาณที่จะเรียนให้ดี โดยอาศัยสิ่งนี้ไปมุ่งหน้าสู่เป้าหมายอันชัดเจน จึงสามารถจะเข้มแข็งพอที่จะสำแดงศักยภาพแฝงได้ งานต่าง ๆ ก็หมดอุปสรรค ก็จะสร้างสรรค์กิจการชีวิตที่ถูกต้องแท้จริงได้

           2. รู้จักตนให้ปรากฏชัด

          คุณค่าที่สูงของคน ไม่มีอะไรเกินกว่าการรู้จักตนเอง รู้จักตนเองให้สมบูรณ์ แล้วอิงตามพื้นนิสัยและเหตุปัจจัยไปดำเนินชีวิตให้ดี ๆ แล้วไปสำแดงศักยภาพแฝงให้ปรากฏชัด ขณะเดียวกันก็ต้องปลุกตนให้ตื่นอยู่เสมอและชะล้างใจฟุ้งซ่านของตนเองให้หมดจนถึงที่สุด และดำเนินชีวิตนไปสู่สงบสุข ต้องจำไว้ว่า ไม่ใช่ดำเนินชีวิตเพื่อผู้อื่นและก็ไม่ใช่เป็นการแสดงให้ผู้อื่นเห็น บนขั้นตอนชีวิต ให้รู้จักใช้ความรู้ เอาความกล้าหาญไม่เผชิญกับสงครามชีวิตต่าง ๆ กระทำสิ่งต่าง ๆ และตอบโต้ตามที่ปัญญาเลือกสรร แบกรับหน้าที่ความรับผิดชอบ เช่นนี้จึงจะมีหน้าอันสดใส ปีติยินดีของชีวิตปรากฏชัด

          คนส่วนใหญ่ เพราะไม่สามารถเข้าใจจุดสำคัญอันนี้ ตลอดชีวิตจึงผ่านชีวิตอันแสนเจ็บปวด เพราะไม่รู้จักฟันฝ่าก้าวล่วง เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถมีความสุขได้ เพราะไม่สามารถเข้าใจตนเอง เพราะฉะนั้นจึงกังวลไม่จบ ลองคิดดู ความเขียวขจีของต้นไม้และไม้ดอกก็มีจุดสวยของมัน เถาวัลย์แห้งและต้นไม้ป่าก็มีธรรมชาติที่สวยงาม พัฒนาไปตามคุณภาพก็สามารถเป็นผู้ก่อตั้งส่วนยอดที่งามสง่าได้

           3. ปลงต่อการได้เสีย อยู่เหนือวัตถุ

          ชีวิตมีการได้เสีย หากปลงไม่ได้ ปล่อยวางไม่ลง ก็จะเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงของชีวิตอันชื่นบาน ชีวิตก็คือการแบกรับหน้าที่อย่างหนึ่งคุณสมบัติของชีวิตคือทุกข์ และก็ไม่สุขไปตลอด เพราะฉะนั้นจึงต้องฝึกให้มีหลักทัศนคติที่อยู่เหนือวัตถุ มองให้ปลงในความได้เสียที่ฟุ้งซ่านทั้งปวงได้จงเข้าใจให้รู้ถึงความหมายและคุณค่าของชีวิต แล้วความชื่นบานของชีวิตก็พลอยเกิดขึ้นด้วย เช่นนี้ก็สามารถเปล่งประกายให้แสงแห่งชีวิตบรรเจิดได้

          เพื่อความอยู่รอดของคน บางครั้งจึงต้องยอมรับความเจ็บปวดมากมาย ไม่จำเป็นต้องสงสัยเลย เพื่อให้ได้ผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องจ่ายออกไปให้สมกับคุณค่า แต่ก็ยังยอมรับสัจแห่งชีวิต ในใจจึงไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเจ็บปวดแต่อย่งไร และก็สามารถที่จะฟูมฟักแรงอุดมการณ์อันแข็งแกร่งและก็เริงร่าที่จะปฏิบัติด้วยความสัตย์จริง มีหัวอกที่ว่างใส แล้วก็ขยันหมั่นเพียรให้สำเร็จในปณิธานของตน

           4. สบายอก บุญกุศลเสมอกัน

          แม้พื้นฐานนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เมื่อตนเองได้ปรากฏชัดแล้ว ล้วนเต่เต็มสมบูรณ์ ต่างก็มีความสำเร็จ ต่างก็ได้รับ ต่อสังคมก็อุทิศได้อย่างแน่นอน และมีคุณค่ายิ่ง เส้นทางเดินแห่งโพธิสัตว์นี้ ล้วนเป็นสิ่งดีงามที่ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ บุญกุศลที่ปรากฏชัด ก็ไม่แตกต่างอะไรกันนัก เป็นความเสมอภาคกัน ไม่อาจแบ่งเป็นดีเป็นชั่วได้ ท่ามกลางการดำเนินชีวิตของแต่ละคนที่พบจิตสำเร็จพุทธ นี่ก็คือจุดสูงสุดที่กำหนดของจิตที่นับถือเคร่ง

          คนไม่อาจขาดแคลนความคิดที่คอยกล่อมเกลา และก็ไม่อาจไม่มีศาสนาเพื่อเป็นที่ศรัทธายึดเหนี่ยว เพราะว่าสิ่งนี้ทำให้ตนเองสามารถรู้สึกถึงชีวิตวิญญาณที่ยากจน และก็ไม่มีวิธีการที่จะอบรมให้หัวอกขยายกว้างจนสบายได้ ยิ่งลำบากที่จะมีชีวิตสมดุล ชีวิตอันตรายที่ตกอยู่ท่ามกลางความหลงในความหนาวอันเวิ้งว้างหรือมองด้วยความแค้น หรือแย่งชิงยึดครอง หรือโดดเดี่ยวเป็นต้น ที่เป็นสิ่งที่มีค่าพึงสังวร

           5. ถ่อมตนกลมกลืน เติบโตมั่นคง

          คน ๆหนึ่งภายหลังการกำหนดและปรากฏชัดแล้ว จึงจะรู้ถึงความสำคัญของตนเอง มีชีวิตอันควรนับถือบูชา แต่ก็ไม่อาจพออกพอใจเพื่อสิ่งนี้หากแต่มีใจที่เป็นสุข ยังต้องเพิ่มพูนปัญญาติดต่อกันไปเรื่อย ๆ นอกจากการยกระดับจิตวิญญาณของตนเองแล้ว ก็ต้องให้วิญญาณของมนุษยชาติทั้งมวลได้ยกระดับขึ้นด้วย จากอัตตาเล็ก ๆ แห่งตนจนถึงความว่างจากอัตตา จากหินยานจนถึงมหายานโดยเกิดมหาเมตตากับผู้ไม่มีกรรมสัมพันธ์ มีเมตตาดุจเป็นร่างกายเดียวกันโดยลุถึงตถาตาแห่งความหลุดพ้นสมบูรณ์ ให้รักษาพลังจิตเพื่อสรรพสัตว์ที่มีอารมณ์ ให้ขยันวิริยะอุสาหะเป็นนิจสิน จนกว่าจะลุถึงสภาวะอันสูงสุด ที่กลมกลืนที่แท้จริง ดีงามและสวยงามอันเปรียบเปรยมิได้

          จุดสวยงามที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่ใช่อยู่ที่ตนเองสำเร็จเป็นพุทธะและปฏิบัติหลุดพ้นด้วยตนเองเป็นพอ หากต้องสามารถถ่อมตนเพื่ออุทิศแก่สรรพสัตว์ผู้มีอารมณ์ทั้งปวงให้เจริญติดต่อกันไป และก็แบกรับความทุกข์ยากด้วยกัน มีความปิติร่าเริงด้วยกัน ให้ชีวิตได้คืนกลับพร้อมกันด้วย

           ข้อ 5 ดังกล่าว คือเป้าหมายที่เร่งเร้าให้มุ่งสู่ชีวิตมีหวัง มีค่าควรแก่ชาวโลกจะพิจารณาศึกษาให้ประจักษ์ และเป็นความเชื่อที่ดีที่มุ่งสู่ชีวิตมีหวังมีค่าควรแก่ชาวโลกสนับสนุน หากสามารถมุ่งสู่ทางนี้ไปปฏิบัติจริง ก็จะมีความผาสุขของวิญญาญเกิดใจที่เมตตา จึงจะมีความสงบสุขนิจนิรันดร์ เพียงพอที่จะเผยปรากฏความเบาสบายของช่วิต อุดมสมบูรณ์และชื่นบานร่าเริงยิ่ง


 ฌานจิตดุจน้ำ

          ชาวพุทธกล่าวว่า “ฌานจิตดุจน้ำ” จิตที่มีฌานดุจน้ำ น้ำใส ยิ่งกว่านั้นดุจความอ่อนของน้ำ วิสัยน้ำอ่อนละมุน จะให้เป็นรูปเหลี่ยมหรือกลมก็ได้ถ่ายเทได้ง่าย พบเห็นได้ง่ายด้วย ทั้งหมดคือความหมายที่สำคัญ

          วิชาฌานบอกว่าพิษทั้งสามคือ โลภะ โทสะ โมหะ สามารถทำให้น้ำเปลี่ยนคุณสมบัติ เช่นน้ำนิ่งไร้คลื่น แต่เมื่อโทสะเข้ามาก็ย่อมเกิดคลื่นขึ้น คลื่นโทสะรุนแรง ยิ่งถ้ามีโลภะเข้าร่วม ภาชนะก็รองรับไม่อยู่ มันจะท่วมท้นไหลนองไปข้างนอก แม้ว่าเขื่อนทำนบก็พังได้ ถ้ามีโมหะเข้าร่วมอีกผู้หลงย่อมคิดฟุ้งซ่าน ถึงแม้จะรู้ว่ามันเป็นไม่ได้ก็หลงว่ามันเป็นไปได้ เช่นเอาพายไปวิดน้ำ ถ้าให้น้ำที่ไม่กระเพื่อมก็กระเพื่อม แล้วจะนิ่งได้อย่างไร

          หากสามารถขจัดพิษ โลภะ โทสะ และโมหะได้ ก็จะปฏิบัติถึงฌานจิตดุจน้ำเอย


 สิบบารมี

          การบำเพ็ญมหายาน ต้องบำเพ็ญบารมีทั้งสิบจึงจะสำเร็จ บารมีเป็นคำสันสกฤตมีความหมายว่า “ถึงฝั่ง” เป็นเส้นทางตรงสู่พุทธภูมิ ดังหัวข้อต่อไปนี้

           1. ทานโดยการเอาทรัพย์ตนแบ่งให้ผู้อื่น ทานมิใช่กำหนดอยู่แก่ทรัพย์สิน ยิ่งต้องให้วิทยาทานมาก (พูดธรรมะ) แก่ผู้มีอารมณ์ กุศลจากวิทยาทานมากยิ่ง

           2. ศีลบำเพ็ญศีลสิกขาโดยไม่ล่วงละเมิด ที่ว่าถือศีล ความหมายของศีลก็คือการหยุดยั้งทำบาป (ชั่ว) ส่งเสริมให้ปฏิบัติดี อย่างเช่นที่ควรปฏิบัติดีกลับไม่ปฏิบัติ คือละเมิดศีลทั้งไม่ปฏิบัติดี

           3. ขันติในใจสามารถอดทนต่ออัปยศอดสูกับการรบกวนทำร้ายโดยไม่โกรธแค้น ที่ว่าขันติ ก็คือการหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโทสะเท่านั้น หากไม่มีขันติความโกรธเกิด เมื่อความโกรธเกิดก็ละเมิดโทสะ ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าได้รับความอัปยศอย่างไร ก็ควรปิดตาปิดหู สงบจิตวิญญาณก็จะผ่านด่านนี้ไปได้

           4. วิริยะคือมีความอุตสาหะในความก้าวหน้า คือการแสวงหาฌานสำเร็จในศรัทธา สามารถที่จะบรรลุความพอใจ มีความสำเร็จเหนือความสำเร็จจึงจะได้รับฌานบารมี

           5. สมาธิหมายถึงความสงบ ใจไม่เคลื่อนไหว ไม่มีความคิดเกิดขึ้นเรียกว่าสมาธิ นี่ก็คือวิธีสยบใจ และก็ไม่ต้องกำหนดสถานที่และเวลา เป็นการบำเพ็ญใจให้สงบ

           6. ปัญญามีปัญญาแทงทะลุในธรรมทั้งปวง ตัดฌานลวง แจ้งในเหตุผลคือปัญญา ด้วยปัญญาก็จะทำลายความลวง เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นปัญญาจึงใช้โปรดความโง่เขลา ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถแจ้งในหลักธรรม

           7. เมตตาให้ผู้อื่นมีความสุข การให้อภัยในความผิดอื่น โดยไม่เกิดอคติเรียกว่าความเมตตา

           8. ปรานีให้ผู้อื่นให้พ้นทุกข์ เรียกว่าปรานี ความปรานีคือเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่นเหมือนกับทุกข์ของตนเอง และช่วยขจัดทุกข์ให้

          9. ความสะดวก ให้ความสะดวกกับผู้อื่น บางครั้งก็รู้ว่าให้ความสะดวกไม่ได้ แต่ก็ตักเตือนด้วยวาจาที่ดี ก็ถือว่าเป็นความสะดวก

           10. ไม่ท้อถอยให้บากบั่นปฏิบัติ ส่งเสริมกายใจ ไม่ท้อถอยตลอดที่เรียกกันว่าเป็นผู้กล้าหาญ

          ผู้ฝึกพุทธะ ต้องบำเพ็ญบารมี 10 ก็จะสามารถหลุดพ้นการเกิดดับก็จะข้ามพ้นทะเลทุกข์แล้วถึงฝั่งนิพพานเป็นที่สุด


 กิเลส

          มีวลีว่าดอกร่วงไหลตามน้ำ ซึ่งเปรียบเปรยกับชีวิตคนได้ดีทีเดียวดอกไม้บานแล้วโรยร่วงหล่น แสดงถึงคนมีเกิดมีตาย น้ำไหลก็กระเซนซ่านไม่แน่นอน ชีวิตคนก็มีทั้งตั้งอยู่แล้วก็โยกย้ายไม่แน่นอนเช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้เรียนพุทธธรรม ก็มักจะแสวงหาความแน่นอน เอาความแน่นอนมาเผชิญกับความผันแปรไม่แน่นอน

          พูดถึงน้ำไหล สามารถนำมาพิจารณาร่วมกับกิเลส น้ำไหลมักถูกคนละเลยมองข้าม เพราะน้ำที่รั่วไหลอยู่ตลอดเวลา จะก่อปัญหาใหญ่ เพราะฉะนั้นพุทธองค์เคยตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า “กามคุณห้าของชีวิต เป็นเช่นน้ำหลาก สัตว์ดุร้ายจะต้องถูกขจัดออกไป” และตรัสต่อว่า “พวกเธอพึงปราบกามคุณห้าอย่าให้เข้าสู่อินทรีย์ห้า ก็จะสำเร็จตลอดไป”

          การปราบอินทรีย์ห้า มีวิธีหนึ่งเรียกว่า “ปราบด้วยวินัย” การปราบด้วยวินัยคือไม่เกิด 2 ใจ สมมติว่า ตาเห็นรูปก็ต้องไม่เกิด 2 ใจ จักษุอินทรีย์ก็จะบริสุทธิ์ กิเลสก็ไม่มีก็ไม่เกิดอินทรีย์ หูได้ยินเสียงก็ไม่เกิด 2 ใจ ใจคงอยู่เฉย โสตอินทรีย์ก็จะบริสุทธิ์ไปเอง การทำเช่นนี้คือการปราบ ถ้าสามารถปราบได้กิเลสก็หมด กิเลสหมดก็ให้บำเพ็ญสมาธิ ก็จะบรรลุอรหันตผลได้

0
656
ผัดจับฉ่าย

ผัดจับฉ่าย

1654918052.jpg
mindcyber
2 years ago

ปล่อยสัตว์ต่ออายุ

1654918052.jpg
mindcyber
1 year ago

กรรมของการทอดทิ้ง

เจ้าหลักเมือง ชิว

1654918052.jpg
mindcyber
2 years ago

ครั้งที่ 49 ตอน ท่องแดนรถทับนรกน้อย

1654918052.jpg
mindcyber
8 months ago

1.คำนำบันทึกท่องพุทธาลัยของหลินชางคู่

1654918052.jpg
mindcyber
2 months ago