รักษาใจ

หลื่อโจ้ว

2022-08-07 12:19:09 - mindcyber

       ตลอดชีวิตของมนุษย์ ใครบ้างที่ไม่มี “การแสวงหา” แต่ทว่าผลของ "การแสวงหา” มีทั้งได้และไม่ได้ ใครก็ตามก็ไม่อาจจะควบคุมหรือกำหนดยึดถือ ถ้าหากแบ่งการแสวงหาเป็น “การแสวงหาภายใน” กับ “การแสวงหาภายนอก” เช่นนี้แล้ว ผลของการแสวงหาก็จะไม่เหมือนกันเช่น การแสวงหาชื่อเสียง แสวงหาผลประโยชน์ แสวงหาทรัพย์ จะประสบความสำเร็จหรือวไม่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ไม่อาจที่จะบงการได้ “มีการแสวงหาก็ได้ ไม่แสวงหาก็ไม่ได้” แต่ “การแสวงหาภายใน” อาทิเช่น การสำเร็จธรรม สำเร็จคุณธรรม สำเร็จการศึกษา เป็นต้น เมื่อเข้าใจเหตุผลระดับนี้ ก็พอจะรู้ว่าผลสำเร็จ “การแสวงหาภายนอก” อยู่ที่คนถ้าหากแสวงหาแล้วไม่ได้ กว่าครึ่งก็จะโทษฟ้าโทษคน            

            ”การแสวงหาภายใน” ถ้าไม่ได้ก็ไม่ใช่เพียงเกี่ยวข้องกับความขยันหมั่นเพียรของตนเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่ภูมิจิตว่าสูงหรือต่ำ ทิศทางถูกต้องหรือไม่กับวิธีการเหมาะสมหรือไม่ ล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น อย่างเช่น การฝึกฌานแสวงหาธรรม ต้องให้ทั้งเวลา มีความอดทนเพียงพอก็จะไม่อาจเข้าถึง นั่นอาจเป็นเพราะวิธีการไม่ถูกต้อง การจะสำเร็จหรือไม่ล้วนอยู่ที่ตนเอง เพราะฉะนั้น ต้องโทษตัวเอง โทษคนอื่นไม่ได้ สรุปความว่า “การแสวงหาภายนอก” เป็นการละตนไปขึ้นกับผู้อื่น ต้องเจียมตนให้เข้ากับคนอื่น ตลอดจนการประจบเพื่อเข้ารวมกัน อะไรก็ตามที่ต้องขอร้องเขาก็เป็นการแสวงหาภายนอกทั้งสิ้น จึงต้องคอยประจบประแจงยินดี ผลก็คือต้องไปตามผู้อื่น            

            คนที่แสวงธรรม แสวงการศึกษา หรือศิลปวิทยาการอันเป็นการแสวงภายใน มีน้อยที่จะไม่ผิดพลาด ความยากลำบากก็คือมีความแน่วแน่มั่นคงเป็นสิจสิน เพราฉะนั้นจึงต้องสำรวจทุกเช้าเย็น การแสวงหาจึงจะไม่ผิดพลาด เพื่อป้องกันผิดพลาดทั้งวิธีการและทิศทาง ถ้าผิดพลาดต้องรู้สึกได้แล้วก็ลงแส้ที่ “ตัวใจ” ตนเอง เช่น “การแสวงการปล่อยวางใจ” ของท่านเมิ่งจื่อ “สำรวจใจตัวเองวันละ 3 ครา” ของท่านจังจื่อ “โจมตีโจรในใจ” ของท่านหวังหยางหมิง ทั้งหมดล้วนต้องลงแรงที่ “ใจ” ท่านหลื่อคุงพูดเอาไว้ดีมากว่า “ทุกอย่างก็ไม่ได้ยินไม่ได้เห็น เมื่อใจมีอุปาทานทุกอย่างก็ไม่เป็นธรรมชาติ”              

            พื้นฐานทั้งหมดล้วนอยู่ที่ “ใจ” การเข้าถึงธรรมก็สุดที่ “ใจ” ไปไขดู “คือใจคือพุทธะ” นี่คือเหตุผลไม่อาจละเลยตนเอง สำคัญที่ต้องลงแส้ควบคุมให้ถูกวิธีการและทิศทาง “การรักษาใจ” เพื่อเข้าถึงเซ็น            

            สิ่งที่คนกระทำที่มุ่งหวัง ก็คือให้ใจกำหนดและใช้งาน เพราะฉะนั้นจึงมีชื่อว่า “นายของกาย” เช่นเมื่อความคิดเกิดขึ้น เหมือนใจวานรจิตดั่งม้าพยศ เมื่อความคิดไม่หยุด เหมือนม้าวิ่งห้อไม่หยุด ถ้าไม่เพิ่มการควบคุม ก็จะไม่มีเวลาหยุด โดยเฉพาะขณะที่ความคิดกำลังเคลื่อนไหวเตลิดอยู่ ความคิดฟุ้งซ่าน ฮึกเหิม ความชั่วร้าย ก็เหมือนขี่ม้าถือดวงโคมที่ผุดลุกผุดดับ ดับ ๆ ติด ๆ เพราะฉะนั้น การสำเร็จอริยะของนักจิตวิทยาการเข้าถึงฌานของเซ็น ไม่มีหรอกที่ไม่เริ่มต้นที่ “การรักษาใจ”              

            ท่านหลื่อคุงว่า “เมื่อความคิดเก็บไว้ สิ่งดี ๆ ก็มา เมื่อปล่อยใจสิ่งร้าย ๆ ก็เข้ามา” เมื่อใจถูกปล่อยปละ ก็ไม่อาจหลีกพ้นเคราะห์ภัยได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความหวังอะไรที่จะเข้าสู่ธรรม            

            การเข้าถึงธรรมของนิกายเซ็น คือใจไม่เปรอะเปื้อน ไม่ไปทำให้แบ่งแยก รอคอยเวลาและเหตุปัจจัย ก็จะได้เข้าถึงธรรม ถึงแม้เอาหลักการเข้า ไม่เอาหลักการบำเพ็ญ แต่การฝึกฝนพื้นฐานก็อยู่ที่ “การรักษาใจ” ด้วยเหตุนี้ การเข้าถึงธรรมไม่อาจยึดเอา “รูป” หรือยึดเอา “ความว่าง” มิฉะนั้นก็จะเกิดใจแบ่งแยก แบ่งปุถุชนแบ่งอริยชน เอารูปภพเป็นมายาโดยไม่รู้ว่า “รูปก็คือความว่าง” หรือเอาความว่างเป็นจริง ก็ไม่รู้ว่า “ความว่างคือรูป” ต้องรอคอยให้เข้าถึง “รูปกับความว่างเป็นหนึ่งเดียว” ธรรมหรือจะไม่อยู่            

            เพราะฉะนั้นที่พูดว่า “ธรรมไม่ห่างจากคน”  คนสามารถแผ่ธรรมเพียงต้องเอา “ใจปกติ” มาเข้ากับธรรม ที่จริงสามารถเอา “ใจปกติ” มาเข้ากับธรรม แต่ก็ไม่ใช่แค่ฝึกฝนวันสองวัน หากการบ่มเลี้ยงจิตใจ มาถึงสภาวะการกลืนหายของความถูกผิด ปุถุชนอริยชน ความดีความชั่วและบริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนแล้ว จึงจะเข้ากับธรรม จึงจะไม่มัวหลงอยู่กับทั้งสองฝ่าย “รูป”  “ความว่าง” ขั้นต่อไปก็ค่อยก้าวจาก “รูป” สู่ “ความว่าง” จากปุถุชนไปสู่อริยชน ถึงแม้ว่า “รูป” กับ “ความว่าง” จะเป็นอย่างเดียวกันแต่ก็ยากที่จะดูออก ดังที่พูดว่า            

            ”แยกหิมะจากแป้งง่าย แยกหมึกจากถ่านยาก” ธรรมแฝงเร้นเห็นได้ยาก ถ้าจิตใจยังปรับสยบไม่ลึกพอ เมื่อจิตปภัสสรก็จะไม่สามารถหยั่งรู้เข้าใจได้            

            ”การรักษาใจ” เป็นการฝึกฝนให้ธรรมจิตแน่วแน่มั่นคง ไม่ร่วงสู่ทางโลกคือรู้เห็นแบบโลก ๆ ไม่ละเมิดศีล แล้วสิ่งที่เข้าถึงได้ก็ต้องเป็นที่ยอมรับและทดสอบได้จากคนอื่น ยิ่งต้องใส่ใจผลการสำรวจรวบรวม เพื่อทำให้ใจนั้นสามารถเกิดปีติตามธรรมชาติ โดยวิตกว่าธรรมจิตนั้นจะเสื่อมสูญ ถ้าหากคาดหวังที่จะบรรลุธรรม แต่ละเลยขั้นตอนการฝึกฝน มัวแต่คาดหวังบรรลุธรมก็คงไม่ต่างจากการตกปลาบนต้นไม้ คนส่วนใหญ่ที่ฝึกเซ็นจะไม่สนใจต่อรูปแบบ และศีล ก็จะมุ่งมั่นอยู่กับการฝึกใจ ถึงแม้การฝึกหัดจะมุ่งตรง วิธีการให้ผลที่สุด แต่มักเข้าใจผิดต่อคำพูดของสังฆนายกองค์ที่ 6 (ท่านเว่ยหลาง) ที่ว่า “ใจสงบ ไฉนต้องเหนื่อยต่อการถือศีลเดินตรงไฉนต้องเข้าฌาน?” คนที่ศึกษาวิชาเซ็นต้องเพิ่มความสนใจ นี่คือจุดที่ได้ผลของศาสนา            

            ท่านขงจื่ออายุ 60 หูฟังแล้วคล้อยตาม 70 ตามใจต้องการ โดยไม่ล่วงเกินกฏระเบียบ ก็เป็นการเผยให้เห็นสภาวะของ “การรักษาใจ” ตามใจต้องการไม่ล่วงเกินกฏระเบียบ คือฟ้ากับคนรวมเป็นหนึ่ง เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์สู่สภาวะอริยะสูงสุด ท่านขงจื่อเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 15 ปี จนอายุ 50 จึงรู้โองการสวรรค์ ก็คงต้องขยันขันแข็งอยู่ราว 30 ปี การปรับสยบจิตใจต้องให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ก็ต้องลงมือฝึกฝนจนกว่าจะไปถึง สำเร็จเป็นอริยะ แม้แต่ศิษย์ของท่านขงจื่อ ท่านหยวนหุย ก็ทำใจได้ “สามเดือนไม่ขัดขืน ความโอบอ้อมอารี” ล้วนต้องลงแรงฝึกฝนที่ “การรักษาใจ” ถ้าเช่นนั้น สิ่งที่ “ไร้มารยาทไม่ดู ไร้มารยาทไม่พูด ไร้มารยาทไม่ทำ” คงไม่ใช่ปัญหาธรรมดาระหว่างศิษย์กับอาจารย์ แต่น่าเสียดายผู้ศึกษารุ่นหลังไม่สามารถฝึกฝนแสวงหาโดยไม่ขี้เกียจ ตลอดจนมีความเสียใจคั่งค้าง            

            ”โจมตีโจรในป่าง่าย โจมตีโจรในใจยาก” จะเห็นได้ว่า การละชั่ว “รักษาใจ” ไม่ใช่ของง่าย เป็นแนวทางที่ถูกต้อง ไม่ผิดไปจากจิตสำนึกอันดีที่ฟ้าประทานให้ ความสำนึกดีจะหล่อเลี้ยงความดี หล่อเลี้ยงใจที่ดีจิตที่ดี ที่สำคัญก็อยู่ที่การกำราบนิสัยชั่วให้สิ้น จะไม่ใช้แรงที่มาก ๆ ไม่ได้ การฝึกฝนใจต้องอยู่ที่แต่ละคนไปลงแรงที่ใจ คนภายนอกได้แต่เร่งรัดให้ขยันนอกเหนือจากนี้ก็ไม่มีวิธีอื่น ดั่งคติที่ว่า “โรคใจต้องเอายาใจไปรักษา” ยาขนานนี้ อยู่ที่ตัวเองฝึกฝน หากไม่ยอมจำนนรับการรักษา ใครก็ทำอะไรเธอไม่ได้


More Posts