การบำเพ็ญคุณ
โดย อริยเจ้าจังชำฮูจื้อ
2023-04-15 08:32:29 - mindcyber
อดีตชาติฟังเขาสวดมนต์ใจหงุดหงิด ตะโกนด่าเขาก่อวิบากกรรมชาตินี้เกิดมาไม่ได้ยิน ใสสะอาดไม่กังวลตัดทอนความคิด ชาตินี้ชอบสวดมนต์สร้างบุญถมบาปบำเพ็ญกายไม่กล่าวโทษ
สำนักทรงเซี่ยเต็กอวลไอมงคล ไม้ทรงวกวนร่ายกลอนศิริ
เดือนบำเพ็ญฝึกเรียนใจศานติ บ่มจิตติร่ายกวีมิรู้จบ
นอบน้อมพระเจ้ากอบุญญา ช่วยศาสนาฉ่ำพระคุณรุ่งเรื่องศรี
ถืออ่อนโยนไร้โทษใจเปรมปรีดิ์ จงคิดดีพากเพียรสัมผัสถึง
แนวคิดเรื่องคุณธรรมของจีน นอกจากการมองความสำคัญขององค์คุณที่รู้ดีสามารถดีแล้ว ก็ยังให้ความสำคัญดูที่การกระทำอบรมบำเพ็ญด้วย อะไรคือการบำเพ็ญ หมายถึงการประคับประคองให้ตั้งตรง อะไรคือการอบรม หมายถึงการฟูมฟัก กล่าวโดยรวมก็คือการปฏิบัติอย่างหนึ่งมีไม่ขาดตอนในการประคับประคองฟูมฟักให้ตรงเอาไว้ คุณวิสัยของคนต้องพื่งพาการอบรมบำเพ็ญไม่ให้ขาดตอนจึงจะสามารถวิริยะอุสาหะได้ทุกๆวันจนกว่าจะกลมสมบูรณ์และแน่นจริง เมื่อฟูขึ้นก็จะมีคุณวิสัยสูงดี มิฉะนั้น คุณวิสัยที่รู้ดี สามารถดีของคนก็จะมีอันตรายจมหายไม่มีเหลืออยู่
ท่านขงจื่อว่า: “คุณไม่บำเพ็ญ เรียนก็ไม่พูดถึง ได้ยินความซื่อสัตย์ก็ป่วยการเปล่าๆ ไม่ดีไม่สามารถแก้ไขเป็นความกังวลของข้า”
เม้งจื้อว่า: “ถ้าแม้นว่าได้รับการเลี้ยงดู ไม่มีสัตว์ที่ไม่โต ถ้าแม้นว่าสูญการเลี้ยงดู ไม่มีสัตว์ที่ไม่สาปสูญ”
“เหลือใจนั้นเลี้ยงจิตนั้น เพราะฉะนั้นเป็นงานฟ้า ชีวิตฟ้าไม่มีสอง บำเพ็ญกายรอคอย เพราะฉะนั้นจึงมีชีวิตอยู่”
ดังนั้นท่านปราชญ์ ขงจื่อ คุณสมบัติท่านยิ่งใหญ่ ตนเองเห็นว่าเป็นเพราะไม่ขาดวิริยะจึงสำเร็จ ท่านกล่าวว่า “ข้าสิบห้า จึงตั้งใจศึกษาสามสิบจึงตั้งตัว สี่สิบจึงไม่หลง ห้าสิบรู้โองการฟ้า หกสิบรื่นหู เจ็ดสิบตามแต่ใจจะเอา ไม่ขัดขืน”
“หากเป็นอริยะกับปราชญ์ ข้าหรือจะกล้า แหงนก็ไม่ข่ม สอนคนไม่เบื่อ เช่นนี้ก็ถามตนเท่านั้น!”
ปราชญ์เมิ่งจื่อ ก็ยอมรับว่าสิ่งดีของเขาคือการบ่มเลี้ยงปราณกล่าวว่า “อาจหาญถามท่านร้ายกับดี?” เมิ่งจื่อตอบว่า “ข้าบ่มเลี้ยงปราณอันยิ่งใหญ่ของข้าได้ดี”
เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงต้องบำเพ็ญกาย เพราะเป็นสัญชาติญาณและนิสัยของมนุษย์ หากมีการเอนเอียง โดยที่คุณวิสัยที่ดีที่สามารถของมนุษย์ที่มีมาแต่เดิม แต่บางครั้งความใคร่อยากในวัตถุ ปกปิดคุณวิสัยจนถึงขั้นอันตราย ดังนั้นจึงควรที่จะวิจัยการบำเพ็ญบ่มเลี้ยงให้ดีเพื่อละทิ้งความคิดที่ตีบตันมึนงง
จางใจ่กล่าวว่า “ตั้งตนได้ตรงได้แล้วให้ถือปฏิบัติ ถือปฏิบัติธรรมต้องทำใจว่าง ยังต้องได้จริยธรรมด้วย บำเพ็ญทั้งภายนอกภายในอย่างนี้จึงจะเหมาะกับธรรมทั้งภายนอกและภายใน”
จูจื่อกล่าวว่า “ผู้ประจักษ์คุณนั้น สิ่งที่มนุษย์ได้รับจากฟ้าคือญาณบิรสุทธิ์ไม่มืดบอด เพราะฉะนั้นบรรดาหลักธรรมทั้งหลายจึงใช้สมองกับทุกๆ เรื่อง แต่ด้วยคุณสมบัติถูกปิดกั้น ถูกความใคร่อยากปกปิด เช่นมีบางขณะก็ปิดบังความสว่างของจิตเดิมไป หรือมีที่ยังไม่เคยหยุด ดังนั้นผู้ฝึกถ้าเกิดขึ้นแบบนั้นก็ควรเข้าใจ เพื่อจะได้ฟื้นแต่แรกเริ่ม”
หวังเอี้ยงเม้งว่า “ถึงบังเกิดความคิดฟุ้งซ่าน โดยที่ความรู้ดียังไม่อยู่ แต่มนุษย์ไม่รู้จักให้อยู่ เช่นบางครั้งก็ปล่อยปละ ถึงแม้จะมืดตือที่สุด ด้วยความรู้ดียังไม่กระจ่าง แต่มนุษย์ไม่รู้จักสำรวจ เช่นบางครั้งก็ปิดหู ถึงแม้บางครั้งจะปล่อยบ้าง จิตเดิมยังไม่เคยไม่อยู่ยังคงอยู่นั่นเองถึงแม้บางครั้งจะถูกปิด จิตเดิมยังไม่เคยไม่สว่าง ขอให้สอดส่องเท่านั้น
ยังกล่าวอีกว่า : “การรู้คือตัวของใจ ใจรู้ได้เอง พบเห็นพ่อแม่ก็รู้กตัญญูเอง พบพี่ก็รู้จักรักใคร่ พบบัณฑิตตกลำบาก ก็รู้เวทนาสงสารเอง นี่แหละคือ ตัวรู้ดี (ญาณ) ไม่ต้องไปหาจากภายใน เมื่อตัวรู้ดีบังเกิดขึ้น ก็ยิ่งไม่มีตัวอัตตาเป็นอุปสรรค นั่นเรียกว่าใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเวทนาสงสารจึงมีความกรุณานำออกมาใช้! ในคนปกติทั่วไปย่อมมีตัวอัตตาเป็นอุปสรรค เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้หลักปฏิบัติถึงการหยั่งรู้ความจริงธรรมชาติมาใช้ คือชนะตนฟื้นฟูจริยธรรม”
อธิบายต่อว่า “เคยคิด มนุษย์ ตอนเกิดร้องเหมือนกัน โตแล้วก็แตกต่างกันไปการสอน (ศาสนา) ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น ก็เช่นเดียวกันดังนั้น การประทับทรงไม่เขียนหนังสือ ตักเตือนบรรดาศิษย์ บำเพ็ญตนมุ่งฝึกฝน ซื่อตรงสุจริตเพื่อให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยแล้วสำเร็จมรรคผลที่ว่าเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ หาใช่ว่าต้องมีการอบรมที่สูงส่ง ดังนั้น ทางสำนักทรงเมื่อถึงกำหนดก็มักจะสอนลูกศิษย์เสมอๆ ว่า “เพื่อมนุษย์คือการฝึกฝน” ไม่ฝึกฝนก็ไม่ทำเพื่อมนุษย์ ศิษย์ที่มาสำนักธรรมเพื่อเรียนต้องทำใจให้ตรงขัดการกระทำของตน มนุษย์ ถ้าไม่ฝึกฝนจะทำใจให้ตรงได้หรือจึงต้องบำเพ็ญกาย ใจตรงบำเพ็ญกายเป็นหลักของมนุษย์ ตั้งตนได้ธรรมก็เกิด ด้วยคนไม่ยอมฝึกฝน เช่นนี้ก็เข้าถึงธรรมไม่ได้