สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไขปัญหาธรรม

2022-06-19 01:02:05 - mindcyber

ถามการบำเพ็ญธรรมสามารถสลายบาปกรรมได้หรือเปล่า ?

ตี่จั่งอ๊วงตอบ หากบำเพ็ญธรรมจริงย่อมสลายกรรมได้แน่นอน คัมภีร์กล่าวว่า สวด “อามีทอฝอ” หนึ่งคำสามารถสลายแปดหมื่นมหาภัย


ถามคนที่ตระหนี่ถี่เหนียวไม่ยอมทำบุญให้ทานชาติหน้าจะเป็นอย่างไร ?

ตี่จั่งอ๊วงตอบ ตามกฏระบุว่า ชาติหน้าต้องตกไปเป็นคนยากจนที่สุด ต้องอด ๆ อยาก ๆ ไม่มีเสื้อผ้าใส่ เพื่อเป็นการใช้กรรมที่ชาติก่อนตระหนี่ถี่เหนียว


ถามกรุณาบอกข้อปฏิบัติที่สามารถหลีกเลี่ยงนรก

ตี่จั่งอ๊วงตอบ

  1. ไม่ละโมบโลภมาก
  2. ไม่เที่ยวโสเภณี
  3. ไม่ดื่มสุรา
  4. ไม่โมโห
  5. ไม่ฆ่าสัตว์
  6. ไม่ลักขโมย
  7. ไม่เล่นการพนัน
  8. ไม่หลอกลวง
  9. ไม่ร้องรำทำเพลง
  10. ไม่สร้างวจีกรรม

ดังกล่าวข้างต้นคือข้อปฏิบัติเพื่อหนีนรก ขอให้สาธุชนพึงสังวร


ถามคนหลังจากตาย วิญญาณไปไหน ?

ตี่จั่งอ๊วงตอบ คนหลังจากตาย ผู้ที่ได้ขัดเกลาตนสร้างสมบุญกุศล จิตวิญญาณใสสว่างไม่ตกนรก โดยจะมีเทพเทวดามารับขึ้นสวรรค์ ส่วนผู้ที่ทำชั่ว ก่อนจะตายจิตวิญญาณมืดมน จะมียมทูตมาจับไปนรก


ถามคนหลังจากตาย วิญญาณของเขาสะลึมสะลือหรือว่าเป็นปกติ ?

ตี่จั่งอ๊วงตอบ คนหลังจากตายวิญญาณมีความรู้สึกปกติเหมือนขณะมีชีวิตอยู่


ถามบรรพบุรุษเสียชีวิต ลูกหลานใช้กระดาษทำเป็นรถยนต์ บังกะโล เป็นต้น ในเมืองนรกใช้ได้หรือเปล่า ?

ตี่จั่งอ๊วงตอบ เมืองนรกมีกฏนรก คนทำบาปตกนรกทางนรกได้เตรียมเครื่องลงทัณฑ์ไว้รออยู่แล้ว อย่าคิดหวังจะได้เสวยสุข ถ้าขณะมีชีวิตอยู่ทำความชั่ว ลุ่มหลงสุรานารี สมบัติ โมหะไม่สารภาพบาปต่อหน้าพระ พอถึงยมโลกจะถูกส่งเข้าแดนนรกรับโทษ ไหนเลยจะมีรถยนต์ บังกะโล เสวยสุข เพ้อฝันแท้ ๆ


ถามปัจจุบันศาสนาเต๋าแพร่หลายมาก ผู้ใดเป็นศาสดาแรกเริ่มของศาสนาเต๋า

พระจี้กงตอบ 3 บรรพบุรุษแรกเริ่มของศาสนาเต๋ามีดังนี้

ผู้กำเนิดศาสนาเต๋าคือ จักรพรรดิอึ่งตี่ (หวงตี้)

ผู้เผยแพร่ศาสนาเต๋าคือ เล่าจื๊อ

ผู้ตั้งศาสนาเต๋าคือ จางเทียนซือ


ถามชาติกำเนิดของท่านเล่าจื๊อมีความเป็นมาอย่างไร ?

พระจี้กงตอบ ท่านเล่าจื๊อเกิดในรัชกาลอู่ติง แห่งราชวงศ์ชาง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ เต๋าศักราช 3277 มารดาตั้งครรภ์อยู่ถึง 81 ปี ถึงได้คลอดใต้ต้นหลี่ จึงใช้หลี่เป็นแซ่ ชื่อเอ่อ ท่านเกิดมาผมขาวจึงเรียกว่เล่าจื๊อ (แปลว่า เด็กเฒ่า) เล่าจื๊อเป็นคนแคว้นฉู่ หมู่บ้านชิเหยิน อำเภอขู่


ถามชาวโลกเล่าขานกันว่า แต่ก่อนพระจี้กงกินเนื้อสุนัขและดื่มสุรา เป็นความจริงหรือเปล่า ?

พระจี้กงตอบ สมัยที่ปฏิบัติธรรมอยู่ในโลกมนุษย์สังคมวุ่นวายมาก เพื่อเสียดสีล้อเลียนนักปฏิบัติที่ไม่รักษากฏวินัยในสมัยนั้น จึงทำท่าทางว่ากินเนื้อดื่มสุรา ลองคิดดูก็รู้กินเนื้อดื่มสุราจะบรรลุธรรมได้อย่างไร คำเล่าลือในเมืองมนุษย์ไม่เป็นความจริง


ถามคนบำเพ็ญธรรมดื่มสุราได้ไหม ?

พระจี้กงตอบ ดื่มสุราไม่ได้ เพราะสุราเป็นหนึ่งในศีลห้า


ถามคนบำเพ็ญธรรมแต่งเมียน้อยได้ไหม ?

พระจี้กงตอบ ไม่ได้ เพราะผิดศีลห้า


ถามคนที่บำเพ็ญธรรมต้องเข้าใจอะไร ?

พระจี้กงตอบ คนที่บำเพ็ญธรรมต้องเข้าใจจิตใจของตนเองว่า จิตใจของตนเป็นจิตใจอะไร ต้องสำรวจตรวจตราอยู่เสมอ หากมีข้อบกพร่องต้องรีบแก้ไขทันที ที่ดีก็พยายามต่อไป ที่ไม่ดีก็ละทิ้งไป นี้เรียกว่า ย้อนมองส่องตน


ถามผู้บำเพ็ญธรรมควรจะเลือกอาชีพอะไรดีที่สุด ?

เซียนเต้าซือตอบ อาชีพของผู้บำเพ็ญธรรมที่เหมาะสมสุด คือ อาชีพที่ช่วยส่งเสริมมหาธรรม เช่น ขายอาหารเจ พิมพ์หนังสือธรรมะ หรือร้านขายหนังสือธรรมะ เป็นต้น


ถามผู้บำเพ็ญแต่กุศลนอกจิต เช่น การทำบุญให้ทานโดยไม่ได้นั่งฌานสมาธิ ภายหน้าจะมีผลอย่างไร ?

พระเทียนหยานตอบ หว่านพืชใดก็ได้ผลนั้น เป็นหลักการที่ไม่เปลี่ยนแปลง ขึ้นสวรรค์แล้วค่อยบำเพ็ญทางจิตต่อก็ได้ แต่บำเพ็ญทางจิตบนสวรรค์ยากกว่าบำเพ็ญในโลกมนุษย์ ผู้ไม่สามาาถบำเพ็ญก็จะถูกปรับให้ลงมาบำเพ็ญในโลกมนุษย์อีกครั้ง


ถามผู้บำเพ็ญธรรมแต่งงานได้ไหม ?

เทพจู่เข่าตอบ มนุษย์แต่งงานกันเป็นเรื่องปกติธรรมดาหากมนุษย์ทุกคนบำเพ็ญธรรมแล้วไม่แต่งงาน 50 ปีให้หลังมนุษย์จะสูญพันธุ์หมด เมื่อโลกมนุษย์ไม่มีคนแล้วสวรรค์เบื้องบนสร้างโลกขึ้นมาจะมีความหมายอะไร


ถามออกบวชปฏิบัติธรรมดีกว่า ครองเรือนปฏิบัติธรรมหรือเปล่า ?

พระจี้กงตอบ ผู้ที่ออกบวชเพื่อความหลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิดของมวลมนุษย์หากไม่ใช่อริยเจ้าก็เป็นคนดีย่อมดีมากแน่นอนแต่ถ้าออกบวชเพื่อความสุขสงบของตนเองแม้จะออกบวชก็ไร้ประโยชน์ ลองคิดถึงกฏแห่งกรรม การกินอาหารของญาติโยม จะใช้คืนญาติโยมอย่างไร ญาติโยมให้อาหารท่านกิน เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้วสัตว์โลกจะไปที่ไหนแบบนี้ยุติธรรมไหม ? ทุกท่านเอาหัวใจที่ยุติธรรมตรองดูเถิดหากทำเพื่อความหลุดพ้นของมวลมนุษย์ ออกบวชหรือครองเรือนก็ดีเท่ากัน การออกบวชที่เท้จริง คือการบุกเบิกธรรม ทำให้สัตว์โลกหลุดพ้นจากทะเลทุกข์สู่ฝั่งนิพพาน การแกล้งออกบวช คือ การหาความสุขสบายของตนเอง

More Posts